เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯรอบแรก เทิดพระเกียรติ “เจ้าฟ้านักการศึกษา” พบ 43%มาจากศิษย์เก่าร่วมเสนอชื่อครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ด้านศธ.เล็งขยายผล“นักสร้างแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัด” ปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจแก่เพื่อนครู-ครูรุ่นใหม่        

โล่ส่งทำตัวอย่าง

——————-แบบเหรียญรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรี     Print

 

20150403-01_6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่คุรุสภา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี แถลงข่าวผลการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรอบแรกว่า ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ  60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 นี้ เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาแก่ประชาชนชาวไทยตลอดมา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการปฏิบัติงาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศของความเป็นครู ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันทั้ง 11 ประเทศ เพื่อร่วมกันคัดเลือกครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ชีวิตลูกศิษย์และสร้างคุณูปการแก่วงการศึกษา ประเทศละ 1 ท่าน เพื่อรับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในวันที่ 2 ตุลาคมนี้

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนของการคัดเลือกของประเทศไทยรอบแรก มีครูที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการระดับจังหวัดและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลางในรอบแรก เพื่อรับรางวัลครูขวัญศิษย์ได้จำนวน 164 คน ประกอบด้วย ครูที่มาจากการเสนอชื่อโดยสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 83 คน คิดเป็น 50% จากศิษย์เก่าเป็นผู้เสนอชื่อ 70 คน คิดเป็น 43% จากองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 6 คน คิดเป็น 4% และจากองค์กรภาครัฐและเอกชนที่มีการคัดเลือกครูและมอบรางวัลอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็น 3% ซึ่งพบว่าอายุของครูสูงที่สุด 96 ปี และน้อยที่สุด 43 ปี มาจากสถานศึกษาที่หลากหลาย ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกชน อาชีวศึกษา กทม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และครูนอกสถานศึกษา สามารถดูรายชื่อเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ www.PMCA.or.th  หลังจากนี้คณะกรรมการคัดเลือกส่วนกลางจะมีการกลั่นกรองพร้อมกับลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ได้ครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีต่อไป

“กระบวนการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจึงไม่ใช่แค่การได้ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเพียง 1 คนในแต่ละประเทศ แต่เป็นนวัตกรรมการคัดเลือกครูดีระดับนานาชาติที่เกิดจากสังคมร่วมกันเห็นคุณค่าครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์และสร้างคุณูปการให้กับวงการศึกษา ดังจะเห็นได้จากการที่ลูกศิษย์ร่วมเสนอชื่อครูที่เปลี่ยนแปลงชีวิตถึง 43%” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว

ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ครูที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการจังหวัดและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่วนกลางในรอบแรก ถือเป็นตัวแทนที่คนในจังหวัดร่วมกันยกย่องและเห็นคุณค่าต่อการสร้างคุณูปการที่สำคัญในแต่ละจังหวัด และด้วยคุณสมบัติของครูผู้ถูกเสนอชื่อต้องเป็นครูที่มีประสบการณ์ในชีวิตของความเป็นครูไม่ต่ำกว่า 20 ปี จนเป็นที่ยอมรับจากลูกศิษย์ เพื่อนครู และผู้บริหารสถานศึกษา ทางสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการเมธาจารย์เพื่อสนับสนุนให้ครูเหล่านี้เป็นผู้สร้างแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้ในจังหวัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับครู และเป็นตัวคูณที่สำคัญที่จะส่งผลถึงลูกศิษย์ในรุ่นต่อๆไป

20150403-01_5ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ หนึ่งในศิษย์เก่าที่ร่วมเขียนเรื่องราวความประทับใจถึงครูศิริพร นาคน้ำ ข้าราชการบำนาญ โรงเรียนปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง ว่า ตนเรียนภาษาอังกฤษกับครูศิริพร ซึ่งในสมัยก่อนภาษาอังกฤษคนยังไม่ใส่ใจเท่าไหร่ แต่ครูจริงจังมากจนมีผลต่อชีวิต และความเป็นครูที่มุ่งมั่นตั้งใจสอน ไม่ใช่แค่สอนให้รู้วิชา แต่ยังสร้างความเป็นมนุษย์ที่ดี สอนความดีงาม และการช่วยเหลือสังคม ซึ่งท่านจะคอยสอนแทรกอยู่ในวิชาสอนทำให้ลูกศิษย์หลายคนซึมซับสิ่งเหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว ครูจึงเป็นต้นแบบที่สำคัญและเป็นแรงบันดาลใจสำหรับเด็กทุกคน การศึกษาถ้าได้ครูที่ดี ไม่ใช่แค่เก่งสอนวิชาแต่ต้องคลุกเคล้าความดีงาม ครู 1 คนก็จะส่งผลต่อไปเป็นร้อยเป็นพันชีวิต

 

 

20150403-01_4

น.ส.แองเจอร่า ซีลิ่ง ศิษย์เก่าที่ร่วมเสนอชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า เริ่มเรียนกับครูณัชตา ธรรมธนาคม หรือครูจิ๋ม ครูสอนนาฏศิลป์โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ กทม. ตั้งแต่อยู่ ป.5 หลังจากที่พ่อแม่แยกทางกันแล้วย้ายมาอยู่ในสลัมคลองเตย ครูก็ชักชวนให้มาเรียน ก็ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน มารยาท ครูสอนสิ่งที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน เช่น สอนให้รู้จักนอบน้อมและดูแลความสะอาด ซึ่งเด็กในชุมชนไม่มีเงิน เล็บจะสกปรกเป็นพิเศษ พ่อแม่ก็ไม่ดูแลอยู่แล้ว ครูจะสอนให้ล้างเท้าล้างเล็บดูแลให้สะอาด แต่เวลาเรียนจริงถ้าเด็กสกปรก ครูก็ไม่เคยรังเกียจที่จะจับมือ หรือดัดขาเท้าเราด้วยมือเปล่า  ภาพความประทับใจนี้ยังติดอยู่ในความทรงจำเสมอและเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้กลับมาเป็นครู เพราะอยากจะแบ่งปันให้กับเด็กในคลองเตยที่ไม่มีโอกาส

 

เมษายน 3, 2015
20150403-01_6

เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯรอบแรก เทิดพระเกียรติ “เจ้าฟ้านักการศึกษา”

Follow เปิดรายชื่อครูรางวั […]
เมษายน 1, 2015

จันทบุรี

Follow   ชื่อ-สกุล    […]
เมษายน 1, 2015

ฉะเชิงเทรา

Follow ชื่อ-สกุล   :  นาย […]
เมษายน 1, 2015

ขอนแก่น

Follow ชื่อ-สกุล   :  นาย […]