ครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
(Princess Maha Chakri Award: PMCA) จากประเทศอาเซียนและติมอร์ เลสเต
บรูไนดารุสซาลาม ครูการศึกษาพิเศษโรงเรียนประถมKeriam Primary School วัย 48 ปีผู้ริเริ่มการนำนวัตกรรมมาสอนเด็กพิการเรียนร่วมในรูปแบบต่างๆ โดยชักชวนผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจนได้รับรางวัลครูดีเลิศจากสุลต่านแห่งบรูไน |
|
ราชอาณาจักรกัมพูชา นางสาวทอช บันดาวครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาใน Wat-Bo Primary School วัย 38 ปี นับเป็นครูที่เน้นการสอนโดยใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางผ่านเทคนิคสร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้ความสำคัญกับเด็กเรียนรู้ช้าโดยการสร้างเครื่องมือช่วยสอนจนได้รับรางวัลชนะเลิศครูที่มีความโดดเด่นในระดับชาติ | |
สาธารณรัฐอินโดนีเซียนายเฮอร์วิน ฮามิดครูสอนวิทยาศาสตร์และหัวหน้าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียน Junior High School Kendari วัย 33 ปี ผู้มีผลงานโดดเด่นโดยการประยุกต์ใช้ Smart Phone เพื่อการศึกษา และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์จนได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการศึกษาในภูมิภาค | |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นางคำซ้อย วงสำพันครูสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ ที่โรงเรียนมัธยมเวียงจันทน์ วัย 61 ปี เน้นพัฒนานักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำให้มีทักษะและมีคุณภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองร่วมปรับปรุงผลการเรียนรู้ |
|
ประเทศมาเลเซีย นายไซนุดดิน ซาคาเรียครูสอนเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนมัธยม Taman Bukit Maluri วัย 50 ปี ผู้พัฒนาหลักสูตร ICT ของกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ฝึกสอนระดับชาติในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร |
|
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นางสาวยี มอน โซ ครูระดับอาวุโส โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหล่าย ทาร์ ยา ย่างกุ้ง ครูวัย 34ปีผู้ใส่ใจทั้งการสอนศาสตร์ความรู้และทักษะการดำรงชีวิตให้แก่ผู้เรียน |
|
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายวิลเลียม โมราคาครูใหญ่ Klolang Elementary School วัย 46 ปี นักจัดการชั้นเรียนสมัยใหม่ให้แก่โรงเรียนประถมและเป็นนักพัฒนานวัตกรรมผลิตสื่อการสอนต้นทุนต่ำแก่พื้นที่ชนบทห่างไกล |
|
สาธารณรัฐสิงคโปร์นางหวัง ลิม ไอ่ เหลียน ครูใหญ่โรงเรียนประถม Holy Innocents’ Primary School วัย 42 ปี ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ผู้เน้นการสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเรียนรู้ช้าผู้ริเริ่มโครงการนำร่องด้วยการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน และพัฒนาหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ |
|
ราชอาณาจักรไทย นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณครูเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี วัย 58 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านออกแบบการเรียนรู้ โดยฝึกเด็กในเรื่องทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านโครงงานที่สร้างประโยชน์คืนกลับชุมชน โดยโครงงานที่สร้างชื่อเสียง อาทิ การทำไบโอพลาสติกจากเกล็ดปลา จนนักเรียนได้รับรางวัลในระดับนานาชาติและทำให้ชื่อลูกศิษย์ 3 คน ถูกนำไปตั้งชื่อเป็นดาวเคราะห์น้อย |
|
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นางทราน ติ ตวย ดุ ครูใหญ่และครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาที่Le Ngoc Han Primary School วัย 38 ปี ผู้ริเริ่มทำให้เกิดต้นแบบโรงเรียนประถมรูปแบบใหม่ หรือ “เวียดนามนิวสคูลโมเดล” เผยแพร่ไปยังโรงเรียนประถมศึกษามากกว่า 3,000 แห่งผ่านระบบการจัดการที่มีความยืดหยุ่น เน้นทักษะชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในชั้นเรียนและจัดชั้นเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย |
|
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต นายจูลีโอ ไซเมน มาเดียราครูสอนในโรงเรียนระดับประถมและมัธยม วัย 47 ปี ผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสามารถดึงพลังการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมจัดการเรียนรู้ปรั |
| แผนปฏิบัติการ | 7. พิธีมอบรางวัล | 7.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียม ความพร้อมในการเข้าร่วมพิธีพระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และกิจกรรมวิชาการ 22-23 สค 58 | 7.2 พิธีมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 2-4 ต.ค. 58 | 7.3 ประกาศรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศ | 7.3.1 Mdm HajahRatnawati บรูไนดารุสซาลาม | 7.3.2 Ms. TauchBundaul กัมพูชา | 7.3.3 Mr.Herwin Hamid อินโดนีเซีย | 7.3.4 Mrs. Vongsamphanh Khamsoy สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | 7.3.5 Mr.Zainuddin Zakaria มาเลเซีย | 7.3.6 Daw Yee Mon Soe สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ | 7.3.7 Mr. William Moraca สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ | 7.3.8 Mrs. Wang-Lim Ai Lian สาธารณรัฐสิงคโปร์ | 7.3.9 Mr. Julio Ximenes Madeira ติมอร์ เลสเต | 7.3.10 Mrs. Tran ThiThuy Dung เวียดนาม | 7.3.11 นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ ไทย
| 7.4 แหล่งรวมเอกสาร