page1_resize

เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับปลัดกระทรวงศึกษาธิการในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรี (Discussion Meeting on the Princess Maha Chakri Award) จัดขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกซีมีโอได้ร่วมหารือแนวทางการพิจารณาคัดเลือกครูที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรี ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาการศึกษา

ทั้งนี้ในการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการจึงให้ความสําคัญกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพครู รวมทั้งผลักดันการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบในทุกระดับเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา การประเมินสถาบันการศึกษา รวมทั้งการประเมินวิทยฐานะและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู นอกจากนี้การปฏิรูประบบการฝึกอบรมและพัฒนาครูก็เป็นสิ่งจําเป็น เพื่อให้ความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีจํานวนครูที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ และครูจะได้รับการปนะเมินและส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพจากผลสําเร็จในการพัฒนาพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการดําเนินงานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า ในวันที่ 18 ก.พ. นี้ จะมีการประชุมปลัดกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวม 11 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา พม่า บรูไน และติมอร์เลสเต ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดําเนินร่วมงานเลี้ยงถวาย พระกระยาหารค่ํา ซึ่งจัดถวายโดยสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา แต่ละประเทศจะคัดเลือกครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตลูกศิษย์ ประเทศละ 1 คน เพื่อรับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี 2558 ซึ่งเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จเจ้าฟ้านักการศึกษา สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย และนักวิชาการที่ได้ถวายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการศึกษา การผลิตและพัฒนาครู เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ได้ขอพระราชทานและได้รับพระราชานุญาตจัดตั้งรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นรางวัลนานาชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และจัดตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เพื่อเป็นองค์กรหลักในการพิจารณารางวัล

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า คุณภาพของครูถือเป็นคานงัดสําคัญของคุณภาพการศึกษา จึงเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตลูกศิษย์ โดยทั้งสังคมให้การยอมรับและยกย่องร่วมกันว่าเป็นครูผู้เสียสละทุ่มเทให้แก่การทํางานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ชีวิตลูกศิษย์ของตน เป็นความเปลี่ยนแปลงที่นอกจากส่งผลต่อศิษย์แล้วยังสามารถส่งผลเป็นแรงบันดาลใจแด่เพื่อนครูโดยรวม รางวัลนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง 11 ประเทศ จะมีการคัดเลือกครูของประเทศตนเองในทุก 2 ปี โดยจะเริ่มกระบวนการคัดเลือกในปี 2557 เพื่อรับพระราชทานเหรียญรางวัลสมเด็จ เจ้าฟ้ามหาจักรี ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล ๆละ 10,000 เหรียญสหรัฐ ในปี 2558

สําหรับในกรณีของประเทศไทย ครูไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อการคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลจะมาจากสามส่วนคือ ส่วนแรกมาจากกลไกคัดเลือกครูดีเด่นในระดับชาติ ทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน สมาคมวิชาการวิชาชีพที่ ส่วนที่สองเป็นกลไกการคัดเลือกระดับจังหวัดทุกจังหวัดจากรายชื่อที่หน่วย
งานและองค์กรเสนอสําหรับครูที่ทํางานในจังหวัดนั้นๆ และส่วนที่สามมาจากการเสนอชื่อโดย

ลูกศิษย์ที่ตระหนักถึงบทบาทครูที่เปลี่ยนชีวิตของตนในทางที่ดี

สำเนาข่าวจากหนังสือพิมพ์ 

แผนปฏิบัติการ| แผนปฏิบัติการ | 0. การจัดตั้งมูลนิธิ | 0.1 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานรางวัล | 0.2 ประชุมปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 11 ประเทศ | 0.3 สื่อสารประชาสัมพันธ์ | 0.4 ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี