คุรุสภาประกาศผลการสรรหาผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2563

คุรุสภาประกาศผลการสรรหาผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2563

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  ได้รับเกียรติคุณเป็นบุคคลที่สมควรได้รับรางวัล “ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2563”

ดร.วัฒนาพร  ระงับทุกข์ เลขาธิการคุรุสภา  ประกาศผลการสรรหาบุคคลและนิติบุคคลที่ดำเนินงาน หรือจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง และการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ จนเป็นที่ประจักษ์ชัด และเป็นที่ยอมรับของสังคมให้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาของชาติ เพื่อประกาศให้สาธารณชนรับรู้และร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติ
ทั้งนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  ได้รับเกียรติคุณเป็นบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2563 จากทั้งหมด 8 ราย ดังนี้

1. พระราชมงคลวิสุทธิ์ (ก้ำ กลฺยาณธมฺโม)

2. พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ)

3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย

4. นายกฤษณพงศ์ กีรติกร

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์

6. นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ

7. ว่าที่ร้อยตรี จรรยา พาบุ

8. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สรุปสาระสำคัญพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 และพิธีมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สรุปสาระสำคัญพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 และพิธีมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์

สรุปสาระสำคัญ
พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3
และพิธีมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์

ผู้แต่ง: มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
จำนวน :  55 หน้า

 

สรุปสาระสำคัญ
การประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2

ผู้แต่ง: มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
จำนวน :  74 หน้า

ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ชี้บทบาทครูในการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ

ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ชี้บทบาทครูในการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ


วันที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-17.30 น. ณ ห้อง
World Ballroom โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในงานพิธีมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 รางวัลพระราชทานระดับนานาชาติเพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต 11 ประเทศ   ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 อาเซียนและติมอร์-เลสเต โดยมีกิจกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ทักษะที่สำคัญ (Essential Skills)

กลุ่มที่ 1 : ทักษะที่สำคัญ (Essential Skills)

วันที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 13.30 – 14.30น. ห้อง World Ballroom ครูผู้นำเสนอได้แก่ 1) นายลอย  วิรัก ประเทศกัมพูชา 2) นายรูดี้  ฮาร์ยาดี้ ประเทศอินโดนีเซีย 3) นายหม่อง  จ๋าย ประเทศเมียนมา 4) นายเลอ ทัน เลียม ประเทศเวียดนาม ซึ่งครูทั้ง 4 ท่านเน้นการทำความเข้าใจกับธรรมชาติที่หลากหลายของผู้เรียน และเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่จะสร้างทักษะสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ICT การสื่อสาร และทักษะการดำรงชีวิต ซึ่งในกรณีของครูลอยและครูเลียม ให้นักเรียนมีคู่บัดดี้ในการช่วยเหลือกันและกัน ขณะที่ครูรูดี้มีกระบวนการสอนโดยพัฒนาโมเดลที่เรียกว่ การใช้เทคโนโลยี ICT ชี้ความสำเร็จมาจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและชุมชนในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ โดยครูลอยวิรัก ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม กระบวนการจัดการเรียนรู้สื่อและอุปกรณ์ การสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงการแบ่งปันประสบการ์ร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันในการให้เด็กที่เรียนรู้ได้ไวช่วยเหลือเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า


กลุ่มที่ 2 : ส่วนร่วมของชุมชน (Community Engagement)  

กลุ่มที่ 2 : ส่วนร่วมของชุมชน (Community Engagement)  

1) นายไพสะนิด ปันยาสวัด ประเทศ สปป.ลาว 2) นายซาดัด บี มินันดัง ประเทศฟิลิปปินส์  3) นางลูร์เดส รันเกล กอนคัลเวส ประเทศติมอร์-เลสเต 4) นายสุเทพ เท่งประกิจ ประเทศไทย ซึ่งครูทั้ง 4 ท่าน การให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ทั้งในแง่การเอาของเอาชุมชนเป็นบริบทพื้นที่ของการส่งเสริมการเรียนรู้และการดึงพลังของพ่อแม่ครอบครัวและชุมชนมาร่วมสนับสนุนการศึกษา สร้างโอกาสที่ดีทางการศึกษาให้กับเด็กเยาวชน  ซึ่งครูทั้ง 4 ท่าน มีความเชื่อร่วมกันว่า “การเป็นครู ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การสอนอย่างเดียว แต่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนด้วย”  


กลุ่มที่ 3 : การศึกษาพิเศษ (Special Education)

กลุ่มที่ 3 : การศึกษาพิเศษ (Special Education) 1) นาง เค เอ ราซียาห์ ประเทศมาเลเซีย 2) นางชาน ซิว เหวิน ประเทศสิงคโปร์ 3) นางฮาจา นูร์เลีย ฮาจี อัสปาร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งชานซิวเหวินเป็นครูผู้ดูแลโปรแกรมการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิเศษในระดับประถมศึกษาที่จัดควบคู่ไปพร้อมกับระบบเรียนรวม ขณะที่ครูเคเอเป็นครูผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระดับมัธยมศึกษา โดยพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนที่เรียกว่า ห้องเรียนสปาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่วนครูฮาจานูร์เลียเป็นครูใหญ่ที่พยายามวางระบบการจัดการศึกษาแบบ Inclusive Education ให้กับโรงเรียน โดยมีระบบการศึกษาพิเศษและกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทั้ง 3 ท่านต่างสะท้อนว่าเด็กต่างมีความหลากหลาย ครูมีหน้าที่ที่จะต้องเรียนรู้และเห็นความงามในความหลากหลาย นำพาผู้เรียนไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนและมีความสุขกับการเรียนรู้

 

 

ครูรางวัลคุณากรขยายผลการสร้างแรงบันดาลใจสานฝันครูปฐมวัยหัวใจรัก(ษ์)ถิ่น

ครูรางวัลคุณากรขยายผลการสร้างแรงบันดาลใจสานฝันครูปฐมวัยหัวใจรัก(ษ์)ถิ่น


วันที่ 8 ธันวาคม 2562  ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครูปุณยาพร ผิวขำ ครูรางวัลคุณากร มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2562 เป็นวิทยากรสร้างแรงบันดาลใจในกิจกรรม
“ค่ายสานฝันฉันอยากเป็นครูปฐมวัยหัวใจรัก(ษ์)ถิ่น” ภาคอีสาน  โดยมี ดร.จักรพรรดิ วะทา คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมด้วย รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการ ดร.จิตติมา เจือไทย ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ ผศ.ดร.วรฉัตร วริวรรณ คณะวิจัยและประเมินโครงการ ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กสศ. ผู้สนับสนุนโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 9 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ อุดรธานี เลย มุกดาหาร ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ สกลนคร และอุบลราชธานี จำนวน 51 คน เข้าร่วมโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น (รุ่นที่ 1)   

“ค่ายสานฝันฉันอยากเป็นครูปฐมวัยหัวใจรัก(ษ์)ถิ่น” เป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพ-แววความเป็นครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกนักเรียนด้อยโอกาสที่อยากจะเป็นครูเข้าเรียนครูในสถาบันที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูตามโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น (รุ่นที่ 1) ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยความร่วมมือกับครูในเครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสถาบันผลิตและพัฒนาครูกับโครงการในรุ่นที่ 1 ทั้ง 11 แห่ง ที่ครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัดใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพี่อร่วมขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง

สำหรับโครงการ “ครูรักษ์ถิ่น” คือ โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน  มุ่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียน (ขนาดเล็ก) ที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกล โดยจัดทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เรียนครูในสาขาปฐมวัยและประถมศึกษา จนจบเพื่อกลับไปปฏิบัติงาน (สอนและพัฒนา) ณ โรงเรียนภูมิลำเนาขอบตน รวมถึงส่งเสริมให้สถาบันผลิตและพัฒนาครูเกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน หลักสูตร การฝึกประสบการณ์ และกิจกรรมเสริมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการเป็น “ครู” ในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

แง่คิดการพัฒนาโรงเรียนบนฐานผลการวิจัย นัยกับการพัฒนาครู

แง่คิดการพัฒนาโรงเรียนบนฐานผลการวิจัย นัยกับการพัฒนาครู


วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ –๐๙.๔๐ น. ณ ห้องโลตัส สวีท ๑ –๔ ชั้น ๒๒ ได้จัดให้มีการ
ปาฐกถาพิเศษ ๓ ในหัวข้อ  “Learning: How Teachers Help Students Become Better Learners” โดยศาสตราจารย์ฮวน มิเกล ลูซ (Prof. Juan Miguel Luz)  ประธานองค์กรออกแบบคุณภาพการศึกษา (Quality Education Design) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ถอดสาระสำคัญจากงานวิจัยจากรายงานของธนาคารโลกมุ่งสนใจศึกษาการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนที่ว่า  “นักเรียนมาโรงเรียนเพื่ออะไร แล้วนักเรียนได้เรียนรู้อะไร” และสิ่งที่ต้องตระหนัก คือ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้และกระบวนการให้ความรู้แก่นักเรียน ดังนั้น แม้ว่าครูจะมีความสำคัญในการทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือผู้เรียน และความสำเร็จในการเรียนรู้วัดจากความสำเร็จของนักเรียน ในกระบวนการเรียนรู้เราอาจให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ

ผลการวิจัยได้ชี้ถึงประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้ ๔ ประเด็นหลัก ได้แก่

  • ผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อการศึกษาเรียนรู้ในชั้นเรียน ปัญหาหลักๆ ที่พบเช่น การเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนมีระยะทางไกล ความพร้อมของสุขภาพร่างกาย และการขาดแคลนอาหารของเด็กนักเรียน ความสนับสนุนจากผู้ปกครอง และความสามารถในการอ่านออกและเขียนได้ของนักเรียนที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ 
  • ครูผู้สอนไม่มีทักษะและความตั้งใจ โดยครูมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ผลวิจัยของสหรัฐอเมริกาพบว่าครูที่ดีจะสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้ได้มากกว่าในหลักสูตรการศึกษาหนึ่งถึงสองเท่า แต่หากครูขาดทักษะในการสอนแล้ว ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจะลดลงประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของมาตรฐานการศึกษา นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่ายช่วงเวลาที่ครูใช้เวลาในการสอนไม่ครบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ตามที่ควรจะเป็น
  • โรงเรียนให้การสนับสนุนไม่สอดคล้องกับทิศทางเดียวกับวัตถุประสงค์ในการสอนและการเรียนรู้ ส่งผลให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น มีหนังสือเรียนแต่ไม่ได้ถูกเก็บไว้ในห้องเรียน มีสารเคมีแต่ไม่ถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ มีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ถูกนำมาใช้หรือไม่มีการสอนครูให้ใช้งานสำหรับนำมาใช้ในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ดังนั้นโรงเรียนควรจะพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งาน
  • การบริหารจัดการโรงเรียนไม่ไปในทิศทางเดียวกับวัตถุประสงค์ในการสอนและการเรียนรู้ บางครั้ง ผู้บริหารโรงเรียนสนใจเฉพาะมาตรฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด แต่ไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและกระบวนการจัดการบริหารของโรงเรียน จึงให้ความสำคัญกับการให้ครูทำเอกสารมากกว่าการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และการประเมินผลงานใช้เกณฑ์ตัดสินที่ผลงานของครู มากกว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน

 

การประเมินผล (Assessment) เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีเป้าหมายชัดเจนและมีวิธีการประเมินที่เหมาะสมเพื่อให้เห็นพัฒนาการการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นของเด็ก 

ศาสตราจารย์ฮวน ได้ข้อแนะนำสำหรับครูและการพัฒนาโรงเรียนจากบทเรียนของธนาคารโลก (พ.ศ.๒๕๖๑) ที่ว่า 

  1. การวัดและการหาช่องว่าง (Gap) ในการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งหาสาเหตุ และวิธีการเพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเพิ่มความสามารถและทักษะให้กับเด็ก 
  2. ครูควรติดตามพัฒนาการของนักเรียนทั้งในระดับชั้น และเป็นรายบุคคล โดยอาจจะติดตามเป็นรายปี หรืออาจจะติดตามเป็นภาคการศึกษา เพื่อดูว่านักเรียนแต่ละคนมีผลการเรียนรู้อย่างไร นักเรียนคนใดมีความเสี่ยงที่จะเรียนรู้ได้ลดลง และหาสาเหตุเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กต่อไป
  3. ทดสอบการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นเรื่องปกติเสมอ 
  4. การประเมินผลการเรียนรู้โดยเท่าเทียม ทั้งนี้ การเลือกประเมินเพียงรูปแบบเดียวอาจจะไม่สามารถบอกภาพรวมได้ทั้งหมด ดังนั้น ควรเลือกใช้การประเมินที่มีความหลากหลาย สำหรับเด็กที่มีความแตกต่างกัน
  5. การออกแบบหลักสูตรที่ดีอาจจะไม่เพียงพอ แต่ควรมีการอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วย เช่น การทำโครงงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
  6. สร้างตัวชี้วัดทำให้สามารถนำไปพัฒนาปรังปรุงแก้ไขข้อบกพร่องได้ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่สามารถเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่ดีของคนอื่นหรือประเทศอื่น 

ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญที่จะละไว้ไม่ได้คือ ครูที่มีหัวใจของการเป็นครูที่มิใช่เพียงการพัฒนาผู้เรียนในประสบความสำเร็จด้านการเรียนรู้ แต่ต้องพาผู้เรียนไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และแรงบันดาลใจในชีวิต

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้นำ SEAMEO ประเทศอินโดนีเซียชี้การศึกษาในอนาคตท้าทายทักษะครูยุคใหม่

ผู้นำ SEAMEO ประเทศอินโดนีเซียชี้การศึกษาในอนาคตท้าทายทักษะครูยุคใหม่


วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ -๑๔.๑๐ น. ในเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ณ ห้องประชุม World Ballroom ชั้น ๒๓ ได้จัดให้มีการ
ปาฐกถาพิเศษ ๒ ในหัวข้อ “Future Education: Best Practice from Southeast Asia Creative Camp” โดย ดร. กาโต๊ะ ปริโอวิจันโต  (Dr. Gatot Priowirjanto) จาก SEAMEO Indonesian Centre Coordinator ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของประเทศอินโดนีเซียและในเครือข่ายประเทศอาเซียน

โดยในเวทีดังกล่าว Dr. Gatot ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา โดยยกตัวอย่างว่าห้องเรียนในช่วง ๕๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ แทบจะไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ใน ๑ ห้องเรียนประกอบด้วยครู ๑ คน กระดานดำ ๑ แผ่น นักเรียนประมาณ ๑๐-๓๐ คน และหนังสือเรียน แต่ในปัจจุบัน ห้องเรียนได้เปลี่ยนรูปแบบไปสู่การศึกษาไร้พรมแดน (Cross Border Education) เราสามารถเรียนทางไกลจากที่ไหนก็ได้ โดยแนวคิดของการเรียนข้ามพรมแดนที่สำคัญ คือ ลงทุนต่ำ ใช้ดิจิทัลแทนหนังสือ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน การเข้าถึงได้ตลอดเวลา เชื่อมต่อได้ทุกที่ นักเรียนสามารถเรียนจากที่ไหนก็ได้ บทเรียนสามารถย่อมาอยู่ได้ในโทรศัพท์มือถือเครื่องเพียงเดียว สามารถถ่ายโอนข้อมูลให้กันได้อย่างรวดเร็ว และครูสามารถตรวจงานของนักเรียนได้ทุกเวลา ดังนั้น นักเรียนไม่จำกัดแค่ในห้องเรียน ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่งจึงสามารถเพิ่มขึ้นจาก ๕๐ คน เป็น ๑,๐๐๐ ได้ 

แต่ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญความท้าทายในนอนาคต เช่น  ปัจจุบัน ห้องเรียนได้เปลี่ยนรูปแบบไปสู่การศึกษาไร้พรมแดน (Cross Border Education) เราสามารถเรียนทางไกลจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งการศึกษาควรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 โดยเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่น่าสังเกต ทุกวันนี้มีคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า “เรายังจำเป็นต้องเรียน ๖ ปีอยู่หรือไม่?” และ “ครูยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคที่ข้อมูลสามารถหาได้ง่ายในอินเตอร์เน็ต?” เพราะในความเป็นจริงเราสามารถเรียนเนื้อหาที่เท่ากันได้ภายในเวลาที่น้อยกว่าจากอินเทอร์เน็ต 

ในมุมของ ดร. กาโต๊ะ เห็นว่า ในอนาคตอาจต้องการจำนวนครูน้อยลง แต่ครูก็ยังมีความจำเป็น เพราะเรายังคงต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นบทบาทของครูที่เทคโนโลยีไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้กันได้ในเวลาอันสั้น แต่ต้องอาศัยเวลาและกระบวนการต่อเนื่อง

ดร. กาโต๊ะ ทิ้งท้ายไว้ว่า ขอให้ครูทุกคนคิดนอกกรอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

เครือข่ายครูไทยในมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมประชุมเตรียมความพร้อมการทำโครงการต่อยอดการทำงาน

เครือข่ายครูไทยในมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมประชุมเตรียมความพร้อมการทำโครงการต่อยอดการทำงาน

วันที่ ๑๕-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจัดกิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมการทำโครงการครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ ๓ ปี ๒๕๖๒ เพื่อต่อยอดการทำงานของครู โดยร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา ในการสนับสนุนทุนการทำงานให้กับเครือข่ายครูรางวัลฯเหล่านี้ โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวเปิด พร้อมด้วย ดร.เบญลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิฯ และคณะ รศ.ดร.ประวิตร เอราวรรณ์ ผู้จัดการโครงการฯ และคณะ ร่วมจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการหนุนเสริมเครือข่ายครูรางวัลฯ รุ่นที่ ๓ จำนวน ๙๙ คน การจัดทำข้อเสนอโครงการของเครือข่าย


ในงานนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ได้กล่าวถึงความท้าทายของครูยุคใหม่ทั้งเรื่องการเตรียมครูตั้งแต่ในสถาบันผลิตครูให้มีทักษะการใช้ชีวิตเอาตัวรอด (Survivor Skill) เมื่อต้องเผชิญชีวิตในบริบทพื้นที่ยากลำบาก ห่างไกล รวมไปถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสารและเท่าทัน ทักษะสืบค้นเรียนรู้ต่อเนื่อง และทักษะที่หลากหลายที่ทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้และดูแลผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง โดยมี กสศ.ที่ให้ทุนเด็กด้อยโอกาสและทุนอาชีวะศึกษาที่ทำงานร่วมกับครูในโรงเรียนเพื่อโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมูลนิธิฯมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนเครือข่ายครูทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่นกรณีครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีของประเทศฟิลิปปินส์ที่ขอทุนดำเนินงานจัดเรือเคลื่อนความรู้/หนังสือเคลื่อนที่หรือ Push Knowledge Boat เพี่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา การแลกเปลี่ยนดูงาน เช่นกรณีสนับสนุนให้ครูติมอร์-เลสเตได้ศึกษาดูงานการจัดการน้ำบนพื้นที่สูง ครูเวียดนามได้เดินทางไปภาคอีสานตามรอยประวัติศาสตร์โฮจินมินห์ในประเทศไทย รวมถึงการเครือข่ายครูไทยทั้งการทำโครงการและการถอดบทเรียนครูหรือแม้แต่การขับเคลื่อนครูนักสร้างแรงบันดาลใจโดยร่วมกับสถาบันผลิตครูในพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนการศึกษาดูงานเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับครู เช่น กรณีพาไปดูเทคโนโลยีชีวภาพ  BCG (bio circular green) หรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นวาระสำคัญ ที่ยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายทางการศึกษาโดยเฉพาะกับครูและการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ที่อาจต้องฝากไปร่วมคิดกันต่อ

นอกจากนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ได้กล่าวถึงโจทย์ใหญ่เชิงระบบที่ครูส่วนใหญ่ได้ร่วมสะท้อนว่าเป็นปัญหาสำหรับครู คือ ระบบการประเมินครูในปัจจุบัน ซึ่งดร.กฤษณพงศ์ ได้เสนอว่า อยากเห็นการปรับระบบประเมินผลงานครูเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาครูอย่างแท้จริง อยากเห็นครู “ร่ำรวยจาก evidence based จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งการประเมินเสนอว่าควรให้ครูร่วมเป็น third party ให้ครูทำงานร่วมประเมินเป็นเพื่อน (peer) มากว่าใช้อำนาจไปแต่งตั้งความดีความชอบ แต่ให้ครูร่วมเป็นตาที่สามในการประเมินกันเอง ซึ่งโดยระบบอยากให้แยกระหว่างการปกครองครูกับการประเมินครู หากเปลี่ยนระบบนี้ได้จะทำให้ระบบราชการอ่อนตัวลง ยืดหยุ่นขึ้นในการประเมินเพื่อพัฒนาครู” อย่างไรก็ดีมูลนิธิฯจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในอีกทางพร้อมจะสนับสนุนครูอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาตนเองและเครือข่ายครูเพื่อลูกศิษย์

 

 

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : สานพลังเครือข่าย ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (2-6) มติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์ไทยมองไทย

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : สานพลังเครือข่าย ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (2-6) มติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์ไทยมองไทย

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : สานพลังเครือข่าย ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (2)


สมหมาย ปาริจฉัตต์ : ฟังครูเล่าไม่เท่าเห็นของจริง (3)

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ… บริการหลังการขาย (1)

 

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : EXTRA TIME …. เส้นทางสู่ครูพันธุ์ใหม่ (5)

 

สมหมาย ปาริจฉัตต์ : ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (จบ) เรียนน้อยงานหนัก เรียนหนักงานเบา

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รวมกฤตภาคข่าว

NameSizeHits
NameSizeHits
1. Bangkokpost Saturday 3 October 20150.3 MiB731
10. เดลินิวส์1.1 MiB732
11. เดลินิวส์1.1 MiB719
12. คมชัดลึก142 KiB732
13. คมชัดลึก244 KiB692
14. กรุงเทพธุรกิจ0.9 MiB720
15. สยามรัฐ0.8 MiB756
16. ไทยรัฐ45 KiB792
17. เดลินิวส์ ศุกร์ 12 กันยายน 25570.3 MiB706
18. สยามรัฐ ศุกร์ 12 กันยายน 255760 KiB699
19. ไทยโพสต์ ศุกร์ 12 กันยายน 255767 KiB726
2. เดลินิวส์ เสาร์ 3 ตุลาคม 25580.4 MiB675
20. ไทยรัฐ พฤหัสบดี 21 สิงหาคม 255747 KiB736
21. มติชน 2014-08-05 01-155 KiB703
22. แนวหน้า 2014-08-05 01-261 KiB697
24. พิมพ์ไทย 2014-08-05 01-364 KiB766
25. ไทยโพสต์ 2014-08-05 01-457 KiB713
26. ไทยรัฐ 2014-08-05 01-6thairath0.1 MiB800
26. ไทยโพสต์ 2014-08-05 01-50.1 MiB653
27. ไทยรัฐ 2014-08-05 01-70.1 MiB817
28. สยามรัฐ 2014-08-05 02-10.3 MiB709
29. แนวหน้า 2014-08-06 01-179 KiB714
3. คมชัดลึก เสาร์ 3 ตุลาคม 25580.3 MiB791
30. สยามรัฐ 2014-08-06 01-257 KiB753
31. ไทยรัฐ 2014-08-06 01-354 KiB696
32. ไทยรัฐ 2014-08-06 01-458 KiB671
33. ไทยรัฐ 2014-08-06 02-1051 KiB748
34. ข่าวสด 2014-08-06 02-150 KiB720
35. ข่าวสด 2014-08-06 02-251 KiB964
36. ผู้จัดการ 2014-08-06 02-361 KiB803
37. ผู้จัดการ 2014-08-06 02-40.5 MiB902
38. มติชน 2014-08-06 02-541 KiB686
39. มติชน 2014-08-06 02-660 KiB722
39. มติชน 2014-08-06 02-760 KiB660
4. คมชัดลึก ศุกร์ 2 ตุลาคม 25580.3 MiB704
40. แนวหน้า 2014-08-06 02-852 KiB782
41. สยามรัฐ 2014-08-06 02-948 KiB741
42. ไลน์ทูเดย์ 13พฤศจิกายน 25620.3 MiB669
43. หนังสือพิมพ์ AsianTime ฉบับที่ 47 ปีที่ 14 เดือนสิงหาคม 25624.1 MiB819
44. มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 สมหมาย ปาริจฉัตต์ : ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ… บริการหลังการขาย (1)0.4 MiB918
45. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 - 31 ตุลาคม 2562 สมหมาย ปาริจฉัตต์ : ฟังครูเล่าไม่เท่าเห็นของจริง (3)0.4 MiB960
46. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18 - 24 ตุลาคม 2562 สมหมาย ปาริจฉัตต์ : สานพลังเครือข่าย ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (2)0.4 MiB958
47. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 21 พฤศจิกายน 25620.4 MiB893
48. มติชนสุดสัปดาห์ 14 พฤศิกายน 2562 EXTRA TIME …. เส้นทางสู่ครูพันธุ์ใหม่ (5)0.4 MiB910
49. Workpoint News 9 ตุลาคม 2562 ชูระบบ ‘ครูพัฒนาครู’ สร้างครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนห่างไกล6.8 MiB764
5. มติชน เสาร์ 3 ตุลาคม 25580.9 MiB750
50. TNN16-ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปรับรับดิจิทัลออนไลน์0.5 MiB702
51. Diễn đàn Giải thưởng Công chúa Maha Chakri lần thứ 3_ Chia sẻ và phát triển-กระทรวงศึกษาธิการเวียดนาม1.4 MiB1262
52 Feto TL Manan Prémiu Maha Chakri Nu’udar Profesora Inspiradora TATOLI Agência Noticiosa De Timor-Leste22Oct25630.2 MiB568
53. ThaiPBS รายการข่าวเที่ยง 22 ต.ค. 25631.8 MiB725
54. ฐานเศรษฐกิจ 22 ต.ค. 63 กรมสมเด็จพระเทพฯ”เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุม “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี10.5 MiB817
55. โพสต์ทูเดย์ - 22 ต.ค. 63 กรมสมเด็จพระเทพฯทรงย้ำบทบาทครูมีความสำคัญมากต่อชีวิตเด็ก2.8 MiB652
56. แนวหน้า 22 ต.ค. 63 กรมสมเด็จพระเทพฯ'ทรงมีพระราชดำรัส 'การเป็นครูนั้นไม่ง่าย ต้องใช้ความทุ่มเท เสียสละ3.1 MiB682
57. สยามรัฐ 22 ต.ค. 63 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 31.4 MiB784
58. สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ สปป. ลาว จัดการรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีแบบออนไลน์15.3 MiB629
59. เดลินิวส์ - 22 ต.ค 63 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า_ เปิดประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี1.0 MiB783
6. พิมพ์ไทย ศุกร์ 2 - จันทร์ 5 ตุลาคม 255858 KiB776
61. National News Bureau Of Thailand-Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn presides over the opening of academic conferences, taking place as part of the 3rd Princess Maha Chakri Awards0.7 MiB639
62. มติชน 14 ตุลาคม 2564 สมหมาย ปาริจฉัตต์: ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ1.4 MiB523
7. โพสต์ทูเดย์ เสาร์ 3 ตุลาคม 25580.3 MiB692
8. ไทยรัฐ เสาร์ 3 ตุลาคม 255852 KiB673
9. คมชัดลึก 20140923-011.0 MiB756
LetterPhilipes3.1 MiB991
ประชุมวิชาการนานาชาติ Show&Share รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562

ประชุมวิชาการนานาชาติ Show&Share รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562


วันที่ 16-17 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มี
การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 2 โดยมีครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2560 จากประเทศอาเซียนและติมอร์-เลสเต และครูโรงเรียนต่างๆ และผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว โดยมีดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 2  

ทั้งนี้ ในงานมีประกอบด้วยการปาฐกาพิเศษจากผู้นำทางการศึกษาในต่างประเทศ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2560 และกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยครู 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต มาร่วมเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้  โดยในส่วนของการปาฐกาพิเศษ จัดให้มีการปาฐกาพิเศษจากผู้นำทางการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ในหัวข้อต่างๆ แล้ว ยังจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ทั้งในลักษณะการอภิปราย (Panel Session) ถึงผลงานของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี ๒๕๖๐ ที่เล่าถึงการทำงานและการขยายผลหลังจากได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีแล้วใน 3 มิติคือ 1) กลุ่มครูที่ทำงานโดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน  ได้แก่ สปป. ลาว ฟิลิปปินส์ และติมอร์เลสเต 2) กลุ่มที่เน้นการเรียนการสอนสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม และ 3) กลุ่มที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน  ได้แก่ กัมพูชา และอินโดนีเซีย  

นอกจากนี้ยังจัดให้มีกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Show and Share Session) ที่ให้ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2560 จาก 11 ประเทศ ได้มาแบ่งปันจัดกระบวนการเรียนรู้รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งในด้านเทคนิคการสอน การทดลองปฏิบัติ และนวัตกรรมในด้านต่างๆ โดยแบ่งเป็นห้องแห่งการแบ่งปันในหัวข้อต่างๆ อาทิ 

 เรื่อง “การใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน” โดยครูซาริปา เอมบง จากประเทศมาเลเซีย การใช้หนังสือพิมพ์เป็นวิธีสอนเพื่อดึงดูดนักเรียนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์” โดยครูสะรับจิต คอร์ บุตรี ฮาดิป ซิงห์ จากประเทศสิงคโปร์ “การสอนบนฐานวัฒนธรรม” โดยครูเฮซุส อินสิลาดา ประเทศฟิลิปปินส์ เรื่อง “ความเหมือนในความต่าง : เครื่องมือการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21” โดยครูจิรัฐ แจ่มสว่าง จากประเทศไทย เรื่องกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนบาเกีย (Baguia) โดย ครูลีโอ โปลดีนา โจนา กูเตเรส   จากประเทศติมอร์-เลสเต เรื่อง “เทคนิคการสอนเขียนเรื่องราวผ่านภาพ” โดยครูเอนชอน รามัน ประเทศอินโดนีเซีย “Student Engagement” โดยครูดี โสพอน ประเทศกัมพูชา เป็นต้น

ภาพบรรยากาศการประชุมวิชาการนานาชาติ 
วันที่ 17 ตุลาคม 2562
 ชั้น 22 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์  เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

16 ต.ค. 2562 ประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้ง 2 ปี 2562

16 ต.ค. 2562 ประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้ง 2 ปี 2562


วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๕๐-๑๑.๓๐ น. ในเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ณ ห้องประชุม World Ballroom ชั้น ๒๓ ได้จัดให้มีการ
ปาฐกถาพิเศษ ๑ เรื่อง “Teach with Purpose and Passion – Make a Difference” โดย Mrs. Chuan-Lim Yen Ching, รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ ผู้ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาครูในประเทศสิงคโปร์ 

โดยเวทีดังกล่าว คุณฉั่วในฐานะผู้นำทางการศึกษาได้ให้แง่คิดว่า การได้รับรางวัลของครูคือการได้รับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในฐานะที่เป็นผู้นำครู จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงกับครูคนอื่นและลูกศิษย์ และจะต้องมีเป้าหมายและแรงปรารถนา และสร้างอนาคตให้แก่นักเรียน โดยชี้ว่า “ การทำงานในฐานะนักการศึกษา จะต้องปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายและมีใจรักในการทำงาน เราต้องตั้งคาถามกับตัวเองอยู่เสมอว่า เพราะอะไรเราจึงทำงานนี้อยู่” 

โดยยกตัวอย่างการทำงานเสมือนริบบิ้นที่เส้นหนึ่งเปรียบเสมือนครูและอีกเส้นคือองค์กรซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นในฐานะครูควรตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้อย่างไร จะใช้การศึกษาเพื่อนำพาผู้เรียนไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

คุณฉั่นยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ซึ่งได้มี โครงการ North Light School เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนที่จะเรียนต่อในระดับสายอาชีพโดยรับอาสาสมัครครูเพื่อมาร่วมโครงการและพัฒนาเด็ก พร้อมยกตัวอย่างการช่วยเหลือนักเรียนรายกรณีทั้งเรื่องการสร้างโอกาสการเรียนรู้และการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่างวิธีการสอนและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่เข้าใจความแตกต่างของนักเรียน และสร้างความสุขสนุกสนานในการเรียนรู้ เช่นกรณีห้องเรียนศิลปะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความเห็นต่างได้แสดงความคิด หรือกรณีการจัดการในชั้นเรียนแบบเรียนรวมที่มีทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ซึ่งครูจัดให้มีคู่บัดดี้ช่วยเหลือและเลือกกิจกรรมที่สนองตอบความสนใจและการพัฒนาศักยภาพที่ต่างกัน 

คุณฉั่วย้ำว่า ชีวิตคนเราต่างต้องเผชิญสิ่งต่างๆ มากมาย ในจิตวิญญาณความเป็นครูก็ต้องเข้าใจในส่วนนี้ 

“ชีวิตครูเปรียบเสมือนดินสอที่จะใช้เขียนได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมือเรา หากต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง ก็จงขีดเขียนเรื่องราวให้เกิดขึ้น และดินสอยิ่งใช้ก็ยิ่งทู่ลง ครูจึงต้องเหลาตัวเองให้แหลมคมอยู่เสมอ แม้จะบาดเจ็บจากการถูกเหลา แต่ก็จะทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็งกล้าแกร่งมากขึ้น หากเขียนผิดพลาดพลั้งไปก็มียางลบที่สามารถแก้ไขได้เสมอ ชีวิตเรามนุษย์สามารถแก้ไขและลับคมให้ดีขึ้นได้เสมอได้เช่นกัน” 

สำหรับครูนั้น คุณฉั่วเห็นว่าหากมองทฤษฎีลำดับความต้องการของมาสโลว่า ลำดับที่สูงสุดในปีระมิดคือความสมบูรณ์ของชีวิต แต่คนเป็นครู จุดสูงสุดของครูคือ “การช่วยให้ผู้อื่นมีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น” การสอนของครูจึงเหมือนการสร้างงานหัตถกรรม หากนักเรียนคนใดหมาดหวัง ครูมีหน้าที่สร้างความหวังใหม่ให้นักเรียนให้เขามีแรงบันดาลใจมีความคิดและทัศนคติที่ดีต่อตนเองและการเรียนรู้ ครูควรร่วมแบ่งปันความรู้ เพราะความรู้หรือสิ่งที่เรามองว่าเล็กๆหนึ่งสิ่งเมื่อรวมกันไม่ใช่หมายถึงการเกิดสิ่งสองสิ่ง แต่จะเกิดเป็นสิ่งต่างๆ ที่มีจำนวนมากหลายที่ขยายพลังไปได้ สิ่งที่รามองว่าทำไม่ได้ (I can’t) สามารถกลายเป็นสิ่งที่เราทำได้ (I can) เพียงแค่เราเปลี่ยนมุมมอง มุ่งมั่นที่จะพาเด็กๆ ไปให้ถึงฝัน 

คุณฉั่วยังชี้ว่าภารกิจของครู  PMCA นั้นมีความหมายยิ่งที่คุณฉั่วเห็นว่าประกอบด้วยอักษรสี่ตัวคือ 

  • P (Purpose and passion) หมายถึง เป้าหมายและความรถนาอย่างแรงกล้า 
  • M (Make every moment is a teachable moment) หมายถึง ทำให้ทุกช่วงเป็นโอกาสในการสอน 
  • C (Continual learning is key) หมายถึง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ 
  • A (Affirmation and perseverance in the journey of teaching lives) หมายถึง ความยืนหยัดและความเพียร 

ตอนท้ายคุณฉั่นย้ำว่าเป้าหมายของครูอย่าลดมาตรฐานตัวเอง แต่ต้องมีแรงปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้เติบโตขึ้นอยู่เสมอ ที่สำคัญสำหรับครูคือการสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ได้นั้น “ครูต้องกล้าที่จะเปลี่ยนก่อน” 

 “ในการสร้างความแตกต่างเราไม่จำเป็นต้องตะโกนออกไปให้เสียงดังจนทุกคนได้ยิน แต่ต้องอาศัยความกล้าหาญพอที่จะแค่กระซิบบอกตัวเองว่า พรุ่งนี้ฉันจะทำให้ดีขึ้น”

 

ภาพบรรยากาศการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562
วันที่ 16 ตุลาคม 2562
ห้อง  World Ballroom ชั้น 23
ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง