ครูชาตรี สำราญ ครูเชี่ยวชาญ (ข้าราชการบำนาญ) จ.ยะลา
ครูรางวัลคุณากร
“ครูผู้สร้างการเรียนรู้ ผู้อุทิศทั้งชีวิตเป็นครูทุ กลมหายใจ”
คุณสมบัติทั่วไป
นายชาตรี สำราญ เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2486 อายุ 72 ปี ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต (วรรณคดีไทย) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เคยเป็นครูเชี่ยวชาญ สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและช่วยราชการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดยะลา 9 แห่ง เป็นระยะเวลา 39 ปี มูลนิธิสมาน – คุณหญิงเบญจา แสงมลิ เสนอชื่อมายังคณะกรรมการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในส่วนกลาง
ความโดดเด่นที่แสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะ
ครูชาตรีเป็นแบบอย่างของครูผู้ที่มีอุดมการณ์ในวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก “ย้อนไปในอดีตที่ยังพอจา ความได้ ทุกครั้งเมื่อผู้ใหญ่ถามว่า โตขึ้นจะเป็นอะไร คำตอบที่แน่วแน่ของเด็กชายชาตรีในครั้งนั้น คือ เป็นครู” จนชีวิตการเป็นครูเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 ตลอดชีวิตราชการทำงานสอนและจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กในพื้นที่จังหวัดยะลา หลายครอบครัวไม่ได้ใช่ภาษาไทย จึงเป็นความท้าทายที่จะต้องเริ่มสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้มาตลอดควบคู่ไปกับวิชาความรู้ตามระดับชั้นเรียนที่เด็กจะต้องได้ด้วย ดังนั้นการทางานของครูชาตรีจึงไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา หรือความเชื่อ สามารถทางานร่วมกันกับคนที่อยู่ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีจนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองทุกกลุ่มในชุมชน โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านบาโด และทุกโรงเรียนที่เคยสอน เป็นนักเรียนทุกคนนับถือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งพูดและใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นภาษาแม่ จะพูดและใช้ภาษาไทยเมื่อพูดกับครูหรือเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ด้วยความพยายามจึงสามารถสอนให้เด็กเขียนกลอนและเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ โดยได้รวบรวมผลงานเผยแพร่เป็นหนังสือ ได้แก่ เสียงจากบาโด หยิบฝันปันฝาก ปั้นดินให้เป็นดาวผจงแจงแต่งรส ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมบทเรียงความ บทกลอน กาพย์ และโคลงที่เด็กนักเรียนช่วยกันคัดเลือกบทที่เด็กชอบมารวมเล่มครูชาตรีมีโอกาสทางานในตาแหน่งผู้บริหาร แต่ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูที่เต็มเปี่ยมจึงเลือกที่จะลาออกจากครูใหญ่มาเป็นครูผู้สอนเพียงอย่างเดียวเพราะเชื่อว่าการสอนคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคนได้อย่างแท้จริง และด้วยความเชื่อที่ว่า “อาจจะมีครูที่สอนไม่ได้ แต่ไม่มีนักเรียนที่เรียนไม่ได้” ก่อนที่ครูชาตรีจะสอนหนังสือทุกครั้งครูชาตรีจะคิดอยู่เสมอว่า “จะสอนใคร จะสอนทำไม แล้วจึงจะคิดต่อว่าสอนอย่างไร เพราะถ้าเรารู้แล้วก็จะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนให้สนองปัญญาเด็กได้ดีที่สุด และเด็กแต่ละคนมีปัญญาการรับรู้ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นปัญหาหรือคาถามที่นามาสอนก็ต้องไม่เท่ากัน ยากง่ายตามปัญญาแต่ละคน” เพราะการเป็นครูมืออาชีพนั้นอยู่ตรงที่การรู้จักเด็กอย่างลึกซึ้ง พฤติกรรมของผู้เรียนที่ครูคอยสังเกตอย่างต่อเนื่องกับผลงานของผู้เรียนที่นาเสนอ เป็นข้อมูลที่ดีสาหรับครูนาสู่การรู้จักผู้เรียน ครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 นี้ จะต้องพัฒนาตนเองจากผู้สอนแบบบอกความรู้มาเป็น “ครูฝึก” (Coach) แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าครูชาตรีนำกระบวนการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมาใช้เป็นคนแรกๆ และยังเป็นผู้หนึ่งที่นำการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดดังกล่าวมาขยายผลให้แก่เพื่อนครูทั่วประเทศ
ในด้านเทคนิควิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูชาตรีจะให้เด็กเกิดการอยากรู้และอยากเรียนด้วยตนเองโดยใช้ประสบการณ์ในชีวิตประจาวันมาเป็นตัวเดินเรื่องมากกว่าท่องจำจากตำรา ซึ่งเทคนิควิธีการนี้ครูผู้สอนก็ทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กันไปได้อีกด้วย จึงเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ครูชาตรีเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณูปการมากโดยเฉพาะเทคนิควิธีการสอนที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง นักเรียนและครูร่วมกันจัดการเรียนรู้ได้เองในลักษณะของการเรียนรู้แบบ “บูรณาการ” เข้ากับชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ มีผลงานที่เป็นประโยชน์และเกิดคุณูปการอย่างมากในวงการศึกษาไทย มีการเผยแพร่และนาไปใช้ได้จริงเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังสามารถใช้ได้มาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูปการศึกษาของประเทศนั้น เพราะรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูชาตรีนั้นสอดรับกับแนวทางของปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางและเกิดครูที่เป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ดีเยี่ยมหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ