การประชุมเสวนาทางไกล “แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครู PMCA อาเซียนและติมอร์-เลสเต : ประสบการณ์จากครูกัมพูชา-ไทย

การประชุมเสวนาทางไกล “แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครู PMCA อาเซียนและติมอร์-เลสเต : ประสบการณ์จากครูกัมพูชา-ไทย


วันพฤหัสที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 16.00-18.00 น. 


ร่วมแบ่งปันประสบการณ์

  • ครูทอช บันดาว (Tauch Bundaul) PMCA 2015 ครูสอนภาษากัมพูชา ระดับประถมศึกษาวัดโบ (Wat-Bo Primary School) จังหวัดเสียมราฐ
  • ครูดี โสพอน (Dy Sophorn) PMCA 2017 ครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาขแมร์ โรงเรียนประถมศึกษาคุมร็อกร่อง (Kumroukrong Primary School) จังหวัดกัมปงชนัง 
  • ครูลอย วิรัก (MR. Loy Virak) (PMCA 2019) ครูสอนฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมศึกษาฮุนเซน รอแอพะเอีย (Hun Sen Roeapha Ear) จังหวัดกัมปงชนัง 
  • ดร.กิม เจียง (Dr.Kimcheang Hong) อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งกำปงสปือ (Kampongspeu Institue of Technology 

Join Zoom Meeting: 25 มิ.ย. 2563
https://us02web.zoom.us/j/83299701523?pwd=RDdRdDZvMTBHV1ZqeENwdm9CdThlZz09

 

สรุปผลการเสวนาและฝึกอบรมออนไลน์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ช่วงก้าวสู่โรงเรียนวิถีใหม่

สรุปผลการเสวนาและฝึกอบรมออนไลน์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ช่วงก้าวสู่โรงเรียนวิถีใหม่

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 3

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 3

ตามที่มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เสวนาออนไลน์ THE NEW NORMAL SCHOOL ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 16.30 – 19.00 น. ด้วยโปรแกรม ZOOM

ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายแพทย์ ศราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ผศ.ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ชวิน จันทเสนาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย ดร.พีรานุช ไชยพิเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ครูพูลศักด์ เสนฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ดร.พิศณุ ศรีพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยคณะทำงาน วิทยากร และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้งสิ้น 219 คน โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นผู้ดำเนินการการเสวนา

จากการที่วิทยากรจากโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ โรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ได้นำเสนอการเตรียมความพร้อมในระดับโรงเรียนในสถานการณ์การป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สู่โรงเรียนวิถีใหม่ New Normal School ก่อนเปิดโรงเรียนที่รายงานไปแล้วนั้น ด้านผู้ทรงคุณวุฒิได้ตั้งข้อสังเกตุและเสนอข้อคิดเห็นในครั้งนี้

ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ ได้ให้ข้อเสนอกรณีโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ว่า จุดเด่นของอนุบาลจะอยู่ที่ความปลอดภัย ซึ่งครูท่านอื่นจะเห็นแนวความปลอดภัยในสุขอนามัยขึ้นมาก่อนเลย ฉะนั้นสามารถจะมองเป็นตัวอย่างได้ ทีนี้บริบทตรงนี้อีกอันหนึ่งที่จะให้มองในมิติก็คือมิติของการที่จะสอนกิจกรรมหรือว่าหลักสูตร เนื่องจากเป็นอนุบาลก็พอที่จะยืดหยุ่นได้ อันหนึ่งอาจจะมองว่าจะขยายหรือปรับในกิจกรรมของเด็กก็ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยเพื่อครูท่านอื่นจะได้มองเห็นในส่วนของหลักสูตรหรือว่ากิจกรรมของอนุบาลว่าเป็นอย่างไรบ้าง

จากการที่ได้ฟังทั้งสองโรงเรียนทั้งรียนกมลาไสยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี มีส่วนเหมือนหรือมีส่วนต่างอย่างไร มีอยู่สามส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกที่เหมือนกันของทั้งสองโรงเรียนก็คือมีความพร้อมมาก และวิธีที่ชอบคือการให้ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วม ในส่วนของโรงเรียนกมลาไสยนั้น ชอบตรงที่ว่าให้ชุมชนมีส่วนร่วม ส่วนของโรงเรียนสวนกุหลาบ ธนบุรี ทุกอย่างได้นำผู้ปกครองมามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทางโรงเรียนอื่นนำไปใช้ได้

จุดเด่นของโรงเรียนกมลาไสยที่มอง สังเกตว่าจะมองถึงศูนย์บริการวิชาการชุมชน อันนี้น่าสนใจ ส่วนบริบทของโรงเรียนสวนกุหลาบ ธนบุรี นั้นอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในเมือง แต่ของโรงเรียนกมลาไสยจะเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และที่ชอบคือนำบ้านของศิษย์เก่าหรือผู้นำชุมชนมาใช้เป็นแหล่งให้ความรู้ อันนี้น่าสนใจและดีมากที่จะนำไปเป็นตัวอย่าง ส่วนของโรงเรียนสวนกุหลาบ ธนบุรี คิดละเอียดในเรื่องการบริหารจัดการ เพราะว่าบริบทจะเป็นการคุยกับผู้ปกครองซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และมีนักเรียนจำนวนมาก หากเกิดความไม่พอใจเล็กน้อยก็อาจเป็นเรื่องได้ จึงมองไปในมิติที่การบริหารจัดการที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ฉะนั้นการที่คิดละเอียดจึงช่วยได้มาก

ส่วนสุดท้ายที่จะให้มุมมองของทั้งสองโรงเรียน มีสามาอย่างด้วยกัน ประเด็นที่หนึ่ง จะมองในมิติของการเรียนการสอน หลักสูตร ส่วนในความพร้อมนั้นไม่ต้องกล่าวถึงเพราะเกินร้อย แต่หลักสูตรนั้น เวลาสอนนักเรียน ได้มีการเตรียมครูให้มองถึงว่าหลักสูตรที่จะต้องสอนนักเรียนจะต้องเต็มร้อยเหมือนเดิมหรือบริบทเปลี่ยนไป ความยืดหยุ่นของหลักสูตรก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ไม่ใช่ขาด แต่ถ้าสอนเต็ม ๆ หรือมาก ๆ แล้ว บางครั้งจะต้องไปสอนออนไลน์ อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพ และกระบวนการการสอนอาจจะต้องมองว่า ครูบางคนต้องสอนออนไลน์ จะมีกระบวนการไหนบ้างที่เราจะช่วยครูได้ ส่วนหนึ่งที่จะให้มองก็คือส่วนของการรับฟังการสะท้อนจากครูและนักเรียน อาจจะต้องเสริมมิตินี้เข้าไปว่าเมื่อครูทำไปแล้ว ครูรู้สึกอย่างไร ครูมีคำแนะนำอะไรบ้าง และนักเรียนซึ่งปฏิบัติ เขามีการสะท้อนออกมาอย่างไร เราก็เอามาผสมผสานในส่วนที่เราได้จากชุมชนและผู้ปกครองด้วยก็จะช่วยเติมเต็มมากขึ้น

ข้อเสนอสุดท้ายคือ ต้องการให้ช่วยครูมาก ๆ เพราะครูเป็นกลไกสำคัญในการที่จะทำให้แผนของทั้งสองโรงเรียนได้ประสบความสำเร็จ อาจจะมีลักษณะ PLC สำหรับครู กระบวนการว่าอาจจะให้ครูในแต่ละวิชามานั่งปรึกษากันว่ามีปัญหาอะไรอย่างกันบ้าง โดยบริบทของเครือข่ายของครูช่วยซึ่งกันและกันเพื่อแก้ปัญหา โดยตกเย็นอาจจะมานั่งพูดคุยว่าพบปัญหาอะไรบ้าง ห้องนี้สอนอย่างไร นักเรียนคนนี้มีปัญหาอะไรอย่างไร ครูทั้งหลายก็จะได้มาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน

รศ.ดร.ชวิน จันทเสนาวงศ์ มีข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องการทำความสะอาดของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ว่า ขอชื่นชมในการเตรียมการที่ดีแล้ว แต่จะขอเสนอแนะอีกเรื่องหนึ่งก็คือหลังจากทำความสะอาดแล้ว การเก็บทำลายของพวกอุปกรณ์ทำความสะอาดเมื่อใช้เสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดด้วย ส่วนการทำความสะอาดที่ต้องใช้ถุงมือ มองว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ ว่าคนใช้ถุงมือแล้วจะถือว่ามีความปลอดภัยและหยิบจับได้เต็มที่จึงต้องระวัง แต่ถ้าไม่ใส่ถุงมือแต่ล้างมือบ่อย ๆ อาจจะดีกว่า อีกข้อเสนอหนึ่งคือมีความเป็นไปได้ว่าใน 6 เดือน หรือ 12 เดือนข้างหน้านี้ โควิด-19 ก็ยังคงไม่หมดไป เพราะฉะนั้นโรงเรียนจะต้องมีรูปแบบในการตัดสินใจว่า สมมุติมีนักเรียนชั้น ป.2 หนึ่งคนเกิดเป็นโควิดขึ้นมาจะทำอย่างไรต่อไป จะปิดเฉพาะห้องนั้น หรือจะปิดเรียนทั้ง ป.2 เลย หรือหากครูคนใดคนหนึ่งเกิดเป็นโควิดขึ้นมา จะมีรูปแบบการปิดโรงเรียนอย่างไร จะปิด 1 วัน ปิด 5 วัน หรือคนในครอบครัวของนักเรียน เช่น พ่อติดเชื้อโควิด จะขอให้นักเรียนไม่มาโรงเรียน 14 วัน ซึ่งต้องมีรูปแบบรองรับไว้เลย เพราะเหตุการณ์พวกนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้แน่ จึงขอให้เตรียมการรอไว้เลย

ส่วนข้อเสนอแนะต่อโรงเรียนกมลาไสยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ในประเด็นเรื่องการเตรียมผู้ปกครองและการให้ข้อมูลกับผู้ปกครองว่าอะไรต้องทำก่อนและอะไรต้องเตรียมก่อนที่จะเปิดภาคเรียน ต้องทำให้ชัดเจน อีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนจากประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยในการสอบออนไลน์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นเรื่องปวดหัวกันมาก นักเรียนสามารถลอกข้อสอบกันมาก จึงต้องคิดเผื่อในอนาคตไว้ด้วยว่าสอนเรียนออนไลน์ก็ปัญหาหนึ่ง สอบออนไลน์นี่ปัญหาใหญ่กว่า

 

ในเรื่องที่ให้ผู้ปกครองแสดงความเห็น ขอแบ่งปันประสบการณ์ด้วย ที่โรงเรียนของลูกผมเป็นโรงเรียนนานาชาติ หากได้ตามข่าวสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่าวันที่ 1 มิถุนายน 2563 อาจจะได้เปิดโรงเรียนนานาชาติ ทำให้โรงเรียนหลายแห่งก็เตรียมการเปิดกันใหญ่ ทางโรงเรียนนานาชาติก็เตรียมเช่นกันแล้วทำอย่างที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ได้เสนอมาคือสอบถามความเห็นผู้ปกครอง โดยใช้ Google form ในการตอบง่ายภายใน 10 ชั่วโมง บางคราวได้คำตอบมา 400 กว่าคน เป็นเรื่องที่ดีถ้าทำตาม แต่ก็มีกันว่าเมื่อสอบถามไปแล้วแต่ผลตอบรับครึ่ง ๆ ว่าครึ่งบอกเปิดอีกครึ่งหนึ่งบอกไม่เปิด เราจะตัดสินอย่างไร จึงต้องอยู่วิธีการบริหารจัดการที่ดี

ส่วนเรื่องการสื่อสารในห้องเรียนที่โรงเรียนมีนโยบายออกมาว่าถ้าเป็นห้องแอร์ เปิดแอร์ไว้ แล้วก็เปิดหน้าต่าง ควรจะทำให้การระบายอากาศที่เข้าทางหนึ่งแล้วออกอีกทางหนึ่งได้ อีกมุมหนึ่งด้านความเครียดจะเกิดขึ้นแน่ ๆ ในการเรียนออนไลน์ ถ้าเด็กเล็กอาจจะไม่รับทราบในความเครียด แต่ผู้ปกครองจะเครียดที่จะต้องหาอุปกรณ์ให้เด็ก มีครูสั่งงานมา เราจะช่วยเด็กได้ไหม ที่บ้านมีเวลาให้เขาพอไหม ก็เกิดความเครียดเกิดขึ้น อีกประเด็นหนึ่งเรื่องการสื่อสารกับนักเรียนผ่านช่องทาง VDO, youtube, Live เด็กติดจอ ซึ่งผู้ปกครองเคยสอนเด็กไม่ให้เด็กติดเกมส์ ไม่ให้ติดโทรศัพท์ แต่คราวนี้การเรียนการสอนอยู่กับจอ เขาจะติดจอขึ้นมาก็จะมีปัญหานี้เกิดขึ้นมาด้วย

อีกประเด็นคือ Frame work หรือแนวทางการตัดสินใจว่าหากมีเด็กติดเชื้อแล้วปิดโรงเรียน และเรื่องกำกับอุปกรณ์ที่ใช้ว่าก่อนเปิดโรงเรียน เราจะต้องคิดอะไรบ้าง ขณะเตรียมเปิดจะทำอะไรบ้าง เมื่อเปิดแล้วต้องทำอะไรบ้าง เมื่อเปิดเรียนก็ต้องมีรูปแบบการตัดสินใจปิดอีก สมมุติมีการแพร่ระบาด และควรที่จะมีการกำจัดพวกผ้าที่ใช้แล้วหรือน้ำยา จึงเป็นมุมมองที่จะต้องปิดให้ครบเพื่อความระมัดระวัง ส่วนรูปแบบในการตัดสินใจ ขอยกตัวอย่างที่โรงเรียนของลูกชายนำมาแบ่งปันกันที่ออกมาเป็นนโยบายของโรงเรียนเลย หากพบนักเรียนที่แสดงอาการ หากเป็นเด็กเล็ก ประถม ก็ปิดเรียน 14 วันในห้องนั้น ๆ หากเป็นเด็กโต มัธยมต้น มัธยมปลาย ก็ปิด 14 วันในห้องนั้น ๆ สมมุติพี่น้องที่อยู่บ้านเดียวกันติด เด็กคนนั้นก็ต้องอยู่บ้าน 14 วัน หากสมมุติมีผลตรวจแล้วติดลบ ไม่ติดเชื้อก็สามารถกลับมาเรียนใหม่ได้ภายใน 48 ชั่งโมง หากคนในบ้านแสดงอาการจะต้องทำอะไรบ้าง นี่คือรูปแบบที่จะต้องทำการตัดสินใจได้เลย ไม่ต้องมานั่งคิดว่าจะทำกันอย่างไรดี จึงเสนอมาเป็นตัวอย่าง

ผศ.ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ เสนอแนะว่า ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมทุกโรงเรียนถึงความพยายามและการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโควิด-19 จากการได้ฟังก็จะเสนอความคิดเห็น โดยเริ่มจากโรงเรียนกมลาไสยก่อน ซึ่งมีรูปแบบการช่วยเหลือนักเรียนที่ดีมากที่ใช้ศูนย์บริการวิชาการประจำตำบล อันนี้น่าช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่นอกเขตโรงเรียนหรือนอกเขตชุมชนได้ดีมาก แต่ว่าประเด็นที่กังวลเล็กน้อยคือเรื่องของสัญญาณอินเทอร์เน็ตว่าจะมีศูนย์ช่วยเหลือชุมชน แต่บางครั้งจำเป็นที่จะต้องรู้แบบออนไลน์เกิดขึ้นก็จำเป้นที่จะต้องมีทรัพยากรบางส่วนช่วยเหลือนักเรียน ก็อาจจะต้องมองไปในประเด็นนี้ด้วยว่าทรัพยากรที่จำเป็นที่จะต้องมีประจำศูนย์อะไรบ้าง

ในเรื่องของการบริหารจัดการ การเข้ามาเรียน On-site ในกรณีที่นักเรียนจะเข้ามาเรียนที่โรงเรียน แม้ว่ามีการวางสลับฟันปลาเอาไว้ แต่ก็มีประเด็นชวนคิดว่าเรื่องของความเสี่ยงของการเดินทางซึ่งนักเรียนมาจากสามอำเภอด้วยกัน ซึ่งนั่นก็คือต้องมีการเดินทางแน่นอน ซึ่งความเสี่ยงก็อาจจะเกิดจากการเดินทางได้ เมื่อเวลาที่เดินทางมีความเสี่ยง และมาอยู่โรงเรียนก็จะมีความเสี่ยงด้วย

การเรียนที่มีการสลับฟันปลา ถ้ากลุ่มหนึ่งมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ถ้าเราทำความสะอาดไม่ดี กลุ่มที่มาวันถัดไปก็จะติดเชื้อตามกัน จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ถ้าใช้รูปแบบการเรียน 3 วันกลุ่มหนึ่งเรียนติดต่อกัน แล้วก็ทำความสะอาดโรงเรียน แล้วเปิดการเรียน 3 วันอีกรอบหนึ่ง อาจจะทำให้การควบคุมการกระจายเชื้อได้ดีขึ้น และขอแนะนำทางโรงเรียนให้สร้างช่องทางสื่อสารกับทางผู้ปกครองและนักเรียนที่มากกว่าการประชุม เนื่องจากว่าเมื่อเราดำเนินการจริงแล้ว บางครั้งกว่าจะรอให้มีการประชุมเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ทำให้เราแก้ไขสถานการณ์ได้ไม่ทันเวลา จึงแนะนำให้เปิดช่องทางศึกษาอื่น ๆ เช่น อาจจะมีไลน์กลุ่มที่ผู้ปกครองสามารถที่จะส่งข้อมูลกลับมาที่โรงเรียนหรือผู้บริหารเพื่อแก้ปัญหาได้ทัน

ประเด็นที่จะข้อแนะนำทั้งสองโรงเรียน เป็นประเด็นที่คล้ายกันคือเรื่องของการเตรียมพร้อมในการสอนนักเรียนในกรณีที่เราจำเป็นต้องออนไลน์ อยากแนะนำให้คุณครูทดลองทั้งเป็นผู้สอนและเป็นผู้เรียนก่อน และครูจะเข้าใจว่าเวลาที่นักเรียนต้องมานั่งเรียนหน้าคอมพิวเตอร์หรือว่ามือถือเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงจะเกิดอะไรขึ้น พอครูเข้าใจบริบทการเรียนรู้แบบนี้ ก็จะสามารถออกแบบการเรียนที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และอยากจะแนะนำว่าให้ย่อยการเรียนให้เป็นบทย่อย ๆ แล้วก็พยายามทำให้จบภายในเวลาอันสั้น เพราะปกตินักเรียนในวัยนี้ เขาจะไม่มีสมาธิที่จะสามารถดูรายการทีวีสอน 1-2 ชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ถ้าจะทำการเรียนแบบออนไลน์ แนะนำว่าแบ่งเป็นตอนสั้น ๆ ตอนหนึ่งไม่ควรเกิน 15 นาที และพยาพยามวัดและประเมินผลให้ได้ใน 15 นาที และที่ได้ยินมาว่าครูบางส่วนใช้การสอนแบบการ Live ผ่าน facebook อันนี้มีความกังวลเล็กน้อยสำหรับนักเรียนที่ทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากว่าเวลาที่เรา Live ต้องส่งทั้งภาพและเสียง ดังนั้น อินเทอร์เน็ตของเขาต้องมีความจุของข้อมูลมาก และต้องมีอินเทอร์เน็ตที่ดีและมีความเร็วเพียงพอ แต่ว่าจะไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่สามารถได้รับการสนับสนุนทรัพยากรทางนี้ได้ เราคงไม่อาจทิ้งใครไว้ข้างหลัง ฉะนั้นการเตรียมพร้อมที่ดีที่สุดก็ต้องทำให้นักเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกสิ่งหนึ่งที่อยากเสนอแนะนำในเรื่องของการจัดจำนวนผู้เรียนในห้องเรียน ซึ่งอาจกำหนดห้องเรียนไม่เกิน 20 คน หรือว่า 30 คน ส่วนทางโรงเรียนสวนกุหลาบ ธนบุรี กำหนด 1 คน ควรจะมากกว่า 1.8 เมตร ก็เป็นจำนวนที่วางกำหนดเบื้องต้นที่ค่อนข้างดี แต่ว่ายังมีอีกประเด็นหนึ่งที่อยากแนะนำคือเรื่องของการระบายอากาศ ถึงแม้ว่าเราจะมีพื้นที่ห่างที่ดี แต่ว่าถ้าในห้องนั้นการระบายอากาศที่ไม่ดี ไม่มีอากาศใหม่เข้ามาในห้องเรียนเลย และอากาศเสียในห้องเรียนไม่ได้ออกจากห้องไป การติดเชื้อก็จะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างที่จะง่ายมาก โดยเฉพาะห้องคอมพิวเตอร์ คีย์บอด ซึ่งต้องมีการทำความสะอาด ถ้าไม่มีการทำความสะอาดที่ดี ถ้ามีคนติดเชื้อแล้วไม่มีการระบายอากาศที่ดีถึงแม้ว่าเว้นระยะห่างขนาดไหนก็มีความเสี่ยงสูง จึงต้องตรวจสอบของเรื่องพัดลมระบายอากาศที่อยู่ในห้องเรียนด้วย

อีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของสุขอนามัย จากกรณีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ที่บอกว่ามีอุโมงค์ฆ่าเชื้อ บังเอิญได้อ่านประกาศของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยที่ไม่แนะนำให้มีการฉีดพ่นทำลายเชื้อบนร่างกาย เพราะว่าไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเลย เนื่องจากว่าเชื้ออยู่ในระบบทางเดินหายใจ เมื่อคนติดเชื้อเดินผ่านไป เชื้อก็ยังอยู่ในคนนั้น ก็สามารถที่จะแพร่ต่อไปให้คนอื่นได้อีก และพวกสารทำลายเชื้ออาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับคนได้ เพราะไม่มีสารอะไรในโลกนี้ที่จะปลอดภัย มีแค่มีวิธีที่จะทำให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นถ้านักเรียนใช้ทุกวัน ๆ ละหลายรอบก็จะเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย จึงต้องระมัดระวัง

ประเด็นสุดท้ายคือคุณครูมีส่วนสำคัญมากที่เราจะต้องให้กำลังใจคุณครู และต้องสำรวจคุณครูอย่างจริงจังว่าคุณครูพร้อมแค่ไหน คุณครูต้องการความช่วยเหลือในเรื่องไหน ทีมสนับสนุนต้องตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือครู เพราะเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดคือครูอาจจะทำบางอย่างไม่เป็น หรือครูบางท่านทำเป็นแต่ทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีทีมสนับสนุนช่วยครู จะช่วยได้มาก จึงขอสนับสนุนทั้งสองโรงเรียนให้สร้างทีมสนับสนุนทางเทคนิคเพื่อช่วยครู

ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ เสนอแนะโรงเรียนกมลาไสยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ว่าโรงเรียนทั้งสองโรงเรียนที่นำเสนอมาเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทั้งคู่คือมีความพร้อมค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากเป็นคนสายเทคโนโลยีจึงขอพูดในสายเทคโนโลยี ของโรงเรียนกมลาไสยที่บอกว่าในห้องเรียนเปิดให้นักเรียนสามารถใช้สมาร์ทโฟนและแล็ปท็อบได้ อันนี้อาจจะเป็นห่วงเล็กน้อยว่า การเปิดให้นักเรียนใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในห้องเรียน อาจจะเป็นหารความกว้างของช่องสัญญาณในการใช้อินเทอร์เน็ตของโรงเรียนออกไปในขณะการเรียนการสอน เพราะทั้งสองโรงเรียนใช้รูปแบบการจัดห้องเรียนเป็นในลักษณะกว้างทั้งคู่ และที่เข้าใจว่าในกลุ่มของนักเรียนนำอุปกรณ์มาใช้ก็เป็นการให้นักเรียนต่อ WIFI กับทางโรงเรียน ซึ่ง WIFI เป็นการเชื่อมต่อในลักษณะที่เกิดการแบ่งช่องสัญญาณออกไป คือแชร์สัญญาณนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในห้องเรียน อาจจะต้องระวัง แต่ที่ดูแล้วทางห้องเรียนทั้งสองโรงเรียนค่อนข้างมีความพร้อมสูงมากก็คือในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างครบถ้วน คือคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนก็เรียกได้ว่าถึงขนาดที่ว่ามีการเดินสายแลนเข้าถึงทุกเครื่องได้เลย

จริง ๆ แล้วอันนี้เป็นการเข้าใจผิดค่อนข้างมากของ USER ของคน IT อย่างเรา ก็มีการแก้ไขตลอด เพราะ Wi-Fi ไม่ใช่ช่องทางการเชื่อมต่อที่ดี WIFI เป็นช่องทางการเชื่อมต่อที่สะดวก แต่ว่าจะทำให้เกิดการแบ่งช่องสัญญาณ ถ้ามีปริมาณคนใช้งานมาก คุณภาพการเชื่อมต่อต่ำ ช่องทางการเชื่อมต่อที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพสูงในการเรียนการสอนคือการเดินสายแลน ฉะนั้น อินเทอร์เน็ตจะมีความเหมาะสมกว่า แต่ก็เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาเรื่องของพื้นที่ว่าพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างไร อันนี้ฝากในเรื่ององค์ความรู้ในการให้บริการในเรื่องอินเทอร์เน็ตให้กับนักเรียนหรือครูด้วย

อีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของเทคโนโลยี เนื่องจากทั้งสองโรงเรียนมีความพร้อมสูงมากก็อยากจะฝากว่าในส่วนการเรียนการสอนที่ลักษณะช่องสัญญาณ ขอให้มีการบันทึกการเรียนการสอนเก็บเอาไว้ในรูปแบบของ On-demand ทั้งในส่วนของวีดีโอ ทั้งในส่วนของไฟล์เสียง เพื่อเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนหรือเข้าถึงได้อย่างอิสระ อันนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงเรียนเอง ถ้านักเรียนอยากรู้ก็สามารถเข้าถึงได้เอง สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ จึงขอให้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับนักเรียนเลือกได้ ถ้านักเรียนเลือกศึกษาแบบ On-demand ก็ควรจะทำด้วย

ประเด็นสุดท้ายก็คือการสะท้อนจากครูเป็นเรื่องสำคัญ จากครูผู้สอนและนักเรียน ส่วนจากผู้ปกครองทั้งสองโรงเรียนทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ว่าอยากให้มีการไต่ถามติดตามการสะท้อนจากครูผู้สอนและนักเรียนทั้งในเรื่องของการเรียนการสอนในรูปแบบที่ช่องสัญญาณ และในรูปแบบที่สอนปกติ On-site, On-demand เพื่อจับกลุ่มและปรึกษาปัญหาต่อกันบ่อย ๆ ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรที่เกิดขึ้น ก็ต้องปรับตามสถานการณ์เรื่อย ๆ

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ แนะนำว่า วันนี้เราได้ประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติที่ชัดเจนมาก ที่แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนที่เรามีนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างแน่นอน และข้อเสนอที่ได้คิดและได้ลองทำแล้ว ได้ทดสอบระบบแล้ว ก็มีนัยสำคัญทั้งเชิงนโยบายคือตอบโจทย์ข้างบนได้ และที่สำคัญคือมีนัยสำคัญในทางปฏิบัติด้วย นี่คือความดีที่เราค้นพบ จากตรงนี้จึงมีหลายประเด็น

ประเด็นแรก ในเชิงหลักการที่ได้รับจากหลาย ๆ ท่านที่ฟังในวันนี้ คงจะเป็นการแสดงความเห็นในฐานะผู้ฟังคนหนึ่ง อันแรกก็คือ ทุกท่านจะมุ่งประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก ตรงนี้เป็นหลักการใหญ่และเป็นหลักการร่วม ประเด็นที่สองก็คือว่าในการจัดการเลือกรูปแบบหรือออกแบบที่เหมาะสมต้องเอาโรงเรียนเป็นฐานเท่านั้น โรงเรียนแต่ละโรงมีบทบาท มีปัจจัย มีข้อจำกัดอะไรแตกต่างกัน ประเด็นที่สามก็คือเรื่องของการออกแบบการสอนก็ต้องดูเด็กเป็นรายคน ที่สำคัญก็คือต้องดูครอบคลุมทั้งระบบ ประเด็นที่สี่คือหลักการมีส่วนร่วมทั้งผู้ปกครอง ชุมชน และศิษย์เก่าน่าจะเป็นปัจจัยหลักที่น่าจะช่วยให้การทำงานในช่วงที่มีวิกฤติที่สามารถเดินไปได้ ประเด็นที่ห้าก็คือเรื่องของการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เท่าที่ดูก็อาจจะต้องพิถีพิถันในเชิงสาระที่จะสื่อสารคืออะไร และใช้ช่องไหนบ้าง และแต่ละที่คงมีช่องทางที่เหมาะสมแตกต่างกัน เช่น การใช้ Social Media ทุกโรงเรียนมีแน่นอน ต้องใช้หลายช่องทางที่เหมาะสมกับตัวเอง

ประเด็นที่หก คือเทคนิค เราอาจจะไม่แม่น เช่น เราเห็นว่า Wi-Fi ดี แต่ระบบแลนดีกว่าแน่นอน เอาอุปกรณ์มี YOD มาอาจจะดีในเรื่องของการแก้ปัญหาฮาร์ทแวร์ แต่ว่าก็จะเจอปัญหาในเรื่องของระบบ Wi-Fiอินเทอร์เน็ต หรือว่าเรื่องของ Content ตรงนี้เห็นว่าส่วนกลางจะต้องมาช่วยแล้ว โรงเรียนอาจจะมี Content ของตัวเองบ้าง แต่ว่าทางด้านเทคนิคหลายตัวอาจจะต้องให้ส่วนกลางมาช่วย ก็จะเป็น On-demand ให้ได้

ประเด็นที่เจ็ด เท่าที่ดูก็คือว่าในเชิงของการพูดคุยของเราวันนี้ ก็ยังอยู่ในหลักการที่ว่าเราจะดูแลนักเรียนทั้งในเชิงของสุขภาพและคุณภาพ ก็ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ ถ้าเน้นคุณภาพมาก ๆ แต่ไม่ได้คุณภาพจะทำอย่างไร จุดหลักของการศึกษาก็คือเรื่องของคุณภาพ และประเด็นในเชิงหลักการสุดท้าย คือในเรื่องของการทำงาน เราอาจจะต้องอยู่บนพื้นฐานข้อความรู้ที่ใช่และถูกต้อง ซึ่งมีอยู่มากมาย คืออยากรู้หลักสูตรเรื่องนี้ก็สามารถดึงออกมาได้ทันที เราต้องนำความรู้ที่คนค้นพบมาแล้วมากมายมาบวกกับประสบการณ์ของเรา แล้วนำมาออกแบบให้เหมาะสมกับทางโรงเรียน

ส่วนประเด็นย่อย ๆ ประเด็นแรกที่พูดในเชิงของการบ้าน คือโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเล็กในชนบท โรงเรียนเหล่านี้ดูแนวทางที่คิดขึ้นมาแล้วน่าจะทำได้ ก็อยากเห็นเป็นรูปธรรมว่าโรงเรียนเล็ก ๆ ในชนบท หรือโรงเรียนที่นักเรียนอยู่ประจำจัดกันอย่างไรในสภาพจริง อันนี้อาจจะเป็นการบ้านข้อหนึ่งที่เราต้องคิด ประเด็นที่สองคิดว่าประเด็นตรงใจผู้ปกครองมาก ก็คือเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนในระหว่างการเดินทาง เพราะในเรื่องระหว่างการเดินทางเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองห่วงมาก ตรงนี้คงต้องมีมาตรการพอสมควร ในเชิงกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก ในกรุงเทพฯ ก็มีหลายหน่วยงานมาก แต่ว่าในความเป็นจริง โรงเรียนก็คงหนีไม่ได้ว่าเป็นลูกศิษย์ของเรา ก็คงต้องอาศัยทางจังหวัดเข้ามาช่วย เพราะฉะนั้นรูปแบบตรงนี้เป็นรูปแบบที่ทุกคนยังมองไม่เห็นและทุกคนก็เป็นห่วง และมีรูปธรรมที่มั่นใจเลย จะมีไหม ก็ต้องหารูปแบบที่ใช่

อีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของคุณครู ช่วงที่ผ่านมา ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์กันมาก ทั้งในเชิงเสริมความรู้ ทั้งในเชิงการดูแลความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ แต่เมื่อเปิดเทอมแล้ว เรื่องบุคลากรทางการศึกษา ทุกคนทุกกลุ่มทั้งครูและผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและนักเรียน จะต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมและต้องพร้อมตั้งแต่ตอนนี้แล้ว ไม่ใช่ไปแก้ปัญหาตอนเปิดเทอม เท่าที่ฟังดูอันแรกในเรื่องของความรู้ประสบการณ์ที่จะมาเสริมให้ครู อันที่สองก็เรื่องสวัสดิภาพทั้งหลายว่าทำอย่างไรครูจะสอนอย่างมั่นใจและมีความสุข อันที่สามก็คือสวัสดิการที่จะช่วยให้เขาทำงานด้วยความสบายใจ ตอนนี้ครูหลายคนก็จ่ายไปเองไปมากแล้ว ซึ่งตรงนี้ถ้ารูปแบบข้อเสนอมาจากสถานศึกษาบ้างก็จะดี บางทีส่วนกลางก็อาจจะคิดไปไม่ถึงจุดนั้น

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นประเด็นที่คิดว่ามีความสำคัญก็คือประเด็นชาวบ้านที่เป็นลูกจ้างที่อยู่ในเมืองอยู่ในนิคมทั้งหลายแล้วตอนนี้ก็กลับไปบ้านที่ชนบท และในช่วงปีสองปีนี้ เขาก็อาจมีโอกาสได้รับการจ้างงานกลับมาน้อยมาก คนที่จะกลับก็คือคนที่ 3.0 หรือ 4.0 ส่วนกลุ่ม 0.0 จะเป็นกลุ่มด้อยโอกาส และจะด้อยโอกาสที่ยืดเยื้อยาวนานมาก ประเด็นนี้ยังไม่มีใครคิดแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับพวกเขา ตรงนี้ก็อาจเป็นการบ้านอีกอันหนึ่ง

ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ได้ให้ข้อแนะนำว่า ขอชื่นชมการประชุมทางไกลครั้งนี้ที่ได้ประโยชน์มาก ได้เห็นจุดเด่นมากมายหลายประการที่ท่านวิทยากรและท่านชัยพฤกษ์ได้สรุปไว้อย่างชัดเจนแล้ว ขอเพิ่มอีกบางแง่มุม

1.ทุกโรงเรียนตีโจทย์ของสถานการณ์ได้ตรงประเด็น ฉับไว มีนวัตกรรมและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ ใครที่เคยเป็นห่วงว่าการเรียนการสอนในโรงเรียนแยกส่วนจากโลกแห่งความเป็นจริง คงจะเห็นศักยภาพที่ยิ่งใหญ่จากสามโรงเรียนนี้ ในการประชุมครั้งต่อไป หากเราสามารถเลือกโรงเรียนจากบริบทที่หลากหลายตามที่ ดร.เบญจลักษณ์ได้กล่าวไว้ ก็จะทำให้เห็นศักยภาพนี้ในวงกว้างชัดเจนขึ้น และหวังได้ว่าประสบการณ์นี้จะนำไปสู่การเชื่อมโยงสู่การเรียนการสอน และ “โจทย์จริง” อื่น ๆ ในสังคมเพิ่มขึ้น

2. ต้องขอบคุณทีมนักวิชาการที่พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อว่าท่านก็ได้แง่มุมใหม่ ๆ ไปฝากนักศึกษา ไปทำการวิจัยเช่นกัน หวังจะได้เห็นความสัมพันธ์เช่นนี้ยั่งยืนต่อเนื่องไป ก่อนโรงเรียนเปิด หลังโรงเรียนเปิด หลังจากโควิดเริ่มแผ่ว หวังว่าได้เห็นการรวมทีมระหว่างนักเรียนมัธยมและพี่ ๆ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อแก้ปัญหาสังคม และความเกื้อกูลระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติที่จะเป็นกลไกปกติในการแก้ปัญหาอื่น ๆ ในสังคม แม้ไม่วิกฤติเท่าโควิ

3. หากทำได้เช่นนี้ เราจะมีกลไกที่จะเชื่อมต่อจากความพยายามแก้ปัญหาวิกฤติ ไปสู่การสร้างวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ตามความหวังของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และท่านกฤษณพงศ์ที่ทุ่มเทเพื่อกลุ่มไลน์นี้มาก เช่น มาตรการทางสาธารณสุขใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะช่วยปลูกฝังความเข้าใจ วิถีปฏิบัติให้นำไปปรับใช้ในภาวะปกติที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีสุขลักษณะ ปลอดภัย และลดโรคอื่น ๆ ที่เคยระบาดในโรงเรียน หรือการเรียนการสอนแบบ Hybrid ที่พูดกันมานาน คงจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง เมื่อเรามีประสบการณ์แล้วว่าอะไรสามารถเรียน on line และอะไรจำเป็นต้องได้รับการชี้แนะและเสริมจากคุณครู

4. ทุกโรงเรียนจัดระบบเด็ก ครู ผู้ปกครอง บุคลากรได้ดีเยี่ยม แต่ขอฝากว่านอกจากเน้นวิธีทำแล้ว ให้เน้นการปลูกฝังความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วย เช่น ทำไมต้องห่าง 2 เมตร ทำไมต้องใส่หน้ากาก ทำไมต้องใช้อุปกรณ์คนละชุด จะได้เข้าใจ ไม่เพียงแต่ How แต่ Why และต่อเนื่องไปถึง Why not? เพื่อส่งเสริมให้คิดเชิงนวัตกรรมถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจนำมาทดแทนวิธีการที่เราคิดเพื่อเขาด้วย

5. มีเรื่องให้ชมได้สามวันสามคืน แต่ที่ประทับใจเป็นพิเศษ คือ เครือข่ายบ้านเรียนในชุมชนของโรงเรียนกมลาไสย ที่น่าจะเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนบ้าง ความพยายามของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลับธนบุรี ที่เป็นโรงเรียนยอดนิยม แต่สนใจเรื่องเด็กที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากโควิด และวิถีทันสมัยแบบพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ที่ช่วยกันคิดช่วยกันผลิตอุปกรณ์จนมีความพร้อมและสวยงาม และขอขอบคุณ ดร.เบญจลักษณ์ ทีมเลขาฯ เครือข่ายต่าง ๆ ที่ร่วมกันเชิญชวน รับฟัง และเสนอแนะ

ช่วงท้ายการเสวนา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวก่อนการปิดการเสวนา THE NEW NORMAL SCHOOL ONLINE ครั้งที่ 3 โดย ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า วันนี้ได้เรียนรู้มากและเชื่อว่าเรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก เพราะเป็นการปฏิรูปการศึกษาจริง ๆ ที่ทุกคนทำ คือระเบิดจากข้างใน ไม่ได้มีใครสั่ง ทุกคนรู้ว่าต้องทำแล้วก็ยังมองจากมุมโรงเรียน จึงดีใจที่เห็นทั้งสามโรงเรียนที่เรียกว่าดาวทอง และคณะครู และได้รับการช่วยจากทางกรมอนามัย จากชุมชน ผู้ปกครอง อันนี้เป็นการพลิกโฉมทางการศึกษาของไทยจริง ๆ ไม่ต้องเอาภาคทฤษฎีมาจับ สิ่งที่เราได้ยินมานี้เกิดไม่ได้ถ้าเผื่อผู้นำในโรงเรียน ทีมครูทั้งหมด บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน ศิษย์เก่าและชุมชนเข้ามาช่วย ถือเป็นหน้าใหม่

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า ได้พูดคุยกับผู้นำการศึกษาหลายแห่งในโลก เขาบอกว่าการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจะเกิดได้ ถ้าเผื่อคนเป็นผู้นำ เป็น Leader และทุกคนเป็นเจ้าของ ซึ่งสิ่งที่เราเห็นทุกคนเป็นผู้นำและเป็นเจ้าของ อยู่ที่ว่าจะอยู่ในบทบาทไหนเท่านั้นเอง ได้เห็นพลังของผู้บริหาร ตารางผู้ปกครอง ครูที่สามารถลงในรายละเอียดได้ วิเคราะห์ตั้งแต่โรงเรียนสวนกุหลาบ ธนบุรี ที่มีนักเรียนหลายพันคน ลงไปจัดได้อย่างไรตั้งเกือบร้อยห้องเรียน โรงเรียนกมลาไสยก็เป็นอีกแบบหนึ่ง โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง จึงเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าเผื่อทุกคนเป็นผู้นำและเป็นเจ้าของ

คราวหน้าจะนำตัวอย่างผู้ปกครอง 0.0 และ 1.0 มา ซึ่งมีสี่โรงเรียนที่ราชบุรี ว่าขณะนี้เขาเตรียมการอย่างไร ซึ่งก็น่าทึ่งมากที่ไปพบสี่โรงเรียนนี้ เขาใช้โบสถ์คริสเตียน ใช้วัดถ้าเป็นพุทธ หรือไปขอศาลาในหมู่บ้านเลย ถ้าเผื่อผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน อบต.ให้ ฉะนั้นการศึกษานี้จะออกจากโรงเรียนด้วย ไปถึงหมู่บ้าน ไม่ถึงครอบครัว นี่เป็นมิติใหม่ของการศึกษา

ถ้าในเชิงนโยบาย เราเตรียมตัวอย่างที่หลากหลาย และนำมาสังเคราะห์เป็นเชิงนโยบายว่าควรจะมีอะไรบ้าง จะเป็นประโยชน์ เพราะว่าหลักการทางผู้บริหารให้ได้ แต่เมื่อลงมาเป็นแนวปฏิบัติสองหมื่นกว่าโรงเรียนจะเกิดความหลากหลายมาก ก็อยากให้กำลังใจทุกท่าน และเชื่อว่าการศึกษาของเราจะพลิกโฉมจริง ๆ ถ้าเราสามารถที่จะทำงานร่วมกันอย่างนี้ได้จึงขอเอาใจช่วยทุกท่าน ขอขอบคุณในวันนี้ และพบกันใหม่

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 2

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 2

จากการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดดำเนินการเสวนาออนไลน์ THE NEW NORMAL SCHOOL ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 16.30 – 19.00 น. ด้วยระบบ ZOOM ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายแพทย์ ศราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ผศ.ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ชวิน จันทเสนาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย ดร.พีรานุช ไชยพิเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ครูพูลศักด์ เสนฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ดร.พิศณุ ศรีพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยคณะทำงาน วิทยากร และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้งสิ้น 219 คน โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นผู้ดำเนินการการเสวนา

ดร.พีรานุช ไชยพิเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ นำเสนอแนวปฏิบัติการเปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในส่วนของมาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยที่โรงเรียนได้ดำเนินการอยู่ ซึ่งทางโรงเรียนได้นำคู่มือจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาเป็นแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในส่วนของโรงเรียนที่มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของ 6 มิติของการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน โรงเรียนได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินสำหรับทางโรงเรียนที่จะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ที่จะถึงนี้ โดยทางโรงเรียนได้นำมาเป็นแบบการดำเนินการ ซึ่งทางโรงเรียนได้ทำคลิปเผยแพร่ให้กับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อทำความเข้าใจก่อนที่จะมาโรงเรียน

ดร.พีรานุช กล่าวว่า 6 ข้อที่ต้องเน้นและเป็นข้อสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวัดไข้ การสวมหน้ากาก การล้างมือ การทำความสะอาด การเว้นระยะห่าง และการลดความแออัด เป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนต้องยึดถือและปฏิบัติให้ได้ทั้ง 6 ข้อนี้ นอกจากนี้โรงเรียนก็มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรคโควิด-19 ให้กับผู้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ตลอดจนผู้ปกครองและนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจโดยการเผยแพร่สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่เป็นสื่อที่โรงเรียนสามารถสื่อสารกับทางผู้ปกครองได้และจัดทำคู่มือแนวทางในการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับผู้ปกครอง และเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองและนักเรียน

ครูพูลศักด์ เสนฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นำเสนอการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนกมลาไสยซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขตที่ 24 ตั้งอยู่ที่ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ สำหรับนักเรียนที่มาเรียนที่โรงเรียนกมลาไสย จะมาจากสามอำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย อำเภอคล้องชัย และอำเภอร่องคำ ส่วนการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามสภาพพื้นที่และความเป็นจริง โดยคำนึงถึงนักเรียนให้มากที่สุด โดยยึดหลักการเข้าถึงผู้เรียน และให้นักเรียนได้เรียนรู้ มีความปลอดภัยมากที่สุด

สำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนนั้นมี 3 รูปแบบ สำหรับรูปแบบที่ 1 เป็นแบบ On- line 100 เปอร์เซ็นต์นั้น รูปแบบนี้จะใช้ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรง และได้สำรวจผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วคือไม่เห็นด้วยและไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีปัญหาหลายอย่าง ส่วนรูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบ On-site เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบปกตินั้น ถ้ารัฐบาลประกาศให้ดำเนินการสอนได้ถึงจะได้ดำเนินการ ฉะนั้นทางโรงเรียนจึงได้เลือกเอารูปแบบที่ 2 คือ 0n-site และ On-line มาบูรณาการ เพื่อที่จะลดจำนวนคนที่มาเรียนต่อวัน และเป็นการลดโอกาสที่จะติดเชื้อ สิ่งนี้โรงเรียนได้ประชุมวางแผนว่าจะใช้รูปแบบที่ 2 ในการเปิดภาคเรียนในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน และได้เตรียมสถานที่ในการเปิดภาคเรียน ทางโรงเรียนได้เตรียมพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียนทั้งหมด ห้องเรียนต่าง ๆ และที่สำคัญคือการจัดห้องเรียนให้นักเรียนนั่งในห้องเรียนนั้นไม่เกิน 20 คน

ส่วนการเตรียมการป้องกัน ทางโรงเรียนได้แจกหน้ากากอนามัยให้กับนักเรียนและบุคลากรทุกคน มีการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และเตรียมจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ และจัดระยะห่างกันทุกจุด ที่สำคัญทางโรงเรียนได้เตรียมเครื่องฉีดเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติ โดยนักเรียนโรงเรียนกมลาไสยชุมนุมหุ่นยนต์ได้ทำการผลิตและมอบให้โรงเรียนใช้ในโรงเรียน

ก่อนเปิดภาคเรียน ทางโรงเรียนได้ทำความสะอาดพื้นผิวที่ใช้ร่วมกันทุก 2 ชั่วโมง และลดความแออัด ส่วนโรงอาหาร โดยจะให้รับประทานอาหารกลางวันด้วยการแบ่งเป็น 3 ผลัด ๆ ละไม่เกิน 400 คน และจุดที่นักเรียนซื้ออาหารแล้วก็นำไปรับประทานตามจุดต่าง ๆ ตามบริเวณโรงเรียน

ทางโรงเรียนจัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้โปรแกรมซูม เป็นต้น การอบรมนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการซ่อมเสริมการทำแบบฝึกหัด หากทำแบบฝึกหัดผ่านจะได้รับเกียรติบัตร จากการอบรมนี้ ครูสามารถสร้างวิชาเรียนเป็นห้องเรียน และนักเรียนสามารถเข้าเรียนได้

สำหรับการเตรียมผู้ปกครองนั้น ทางโรงเรียนได้แจ้งให้ผู้ปกครองได้รับทราบและเข้าถึงความจำเป็นและแนวทางการศึกษาในช่วงโควิด-19 ทางโรงเรียนได้จัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนโดยโรงเรียนได้ใช้ศูนย์บริการวิชาการชุมชนนั้นเป็นหลักในการดำเนินการ เพราะว่าศูนย์บริการวิชาการชุมชนนั้นก็คือจะใช้ครูในพื้นที่ในหมู่บ้านนั้น และบ้านของผู้นำชุมชน บ้านของศิษย์เก่า เพื่อการมีส่วนร่วม ส่วนการใช้ศูนย์บริการวิชาการชุมชนจะใช้อยู่ 2 วัน คือวันจันทร์ เป็นวันที่มีการนัดหมายนักเรียนหรือผู้ปกครองที่เรียนทางออนไลน์นั้น มารับใบงานหรือมารับทราบปัญหาต่าง ๆ ส่วนอีกวันหนึ่งคือวันพฤหัสบดี ครูจะไปพบเพื่อรับใบงานและรับทราบปัญหาจากผู้ปกครองนักเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหาที่โรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้ดำเนินการตั้งศูนย์บริการวิชาการประจำหมู่บ้านด้วย

การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนตามที่รูปแบบกระทรวงศึกษาธิการกำหนดนั้นมี 3 รูปแบบ คือรูปแบบ On-site รูปแบบ On-line และรูปแบบ On-air เพราะฉะนั้นทางโรงเรียนกมลาไสยก็ได้ประชุมวางแผนกันแล้วว่าควรจะใช้รูปแบบบูรณาการมาใช้ คือเราใช้รูปแบบ On-site กับ On-line เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนที่จะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นการสอนสลับฟันปลา

 

การเตรียมความพร้อมในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนั้น คือเราใช้สลับฟันปลา โดยจัดห้องเรียนห้องละไม่เกิน 20 คน และได้กำหนดว่าวันจันทร์เป็นการเรียนในรูปแบบ On-site ชั้น ม.1 ม.3 ม.5 ส่วน ม.2 ม.4 ม.6 นั้น ให้เรียน On-line  อยู่ที่บ้าน เพื่อไม่ให้นักเรียนมาโรงเรียนจำนวนมาก ส่วนวันอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ส่วนวันหยุดเรียนคือวันอาทิตย์

ครูปราโมทย์ โพธิไสย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ การเตรียมระบบไอซีที ว่า สำหรับโรงเรียนกมลาไสยนั้น ความพร้อมทางด้านไอซีทีที่เราอยู่ในอำเภอ จะมีความพร้อมขนาดไหน บังเอิญโรงเรียนกมลาไสยเป็นโรงเรียนที่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้มา 3 ปี ได้อบรม Google Class Room สำหรับคุณครูสอน On-line เหตุผลเพราะว่าโรงเรียนกมลาไสยเป็นศูนย์ DIS ตะวันออกเฉียงเหนือมาประมาณ 12 ปี และได้เน้นเรื่องเทคโนโลยีพอสมควร ดังนั้นทุกห้องเรียนจึงมีความพร้อมในเรื่องของโปรเจ็คเตอร์ ทีวี ระบบการกระจายเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่ทีนี้พอโควิด-19 เข้ามา การจัดห้องเรียนจะต้องหารสอง จากนักเรียน 40 คน ก็จะเหลือ 20 คน จึงจำเป็นต้องเลือกแบบที่ 2 อย่างที่ท่านผู้อำนวยการได้นำเสนอมาแล้ว ดังนั้นใน 20 คน สองห้องจะต้องติดกัน ครูหนึ่งคนสามารถสอน 2 ห้องพร้อมกัน โดยเชื่อมต่อระบบทีวีหรือโปรเจ็คเตอร์สองห้อง ให้สามารถสอนหนึ่งห้องแต่เห็นพร้อมกันสองห้องในแต่ละวิชา และเพื่ออำนวยความสะดวกก็ได้ติดตั้งระบบเครื่องเสียง มีลำโพง พาวเวอร์แอม ทุกห้อง ซึ่งปกติก็มีอยู่แล้ว แต่ห้องไหนที่ชำรุดและไม่มีความพร้อมก็ปรับเปลี่ยนซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการ

 

สิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือเรื่องระบบปลั๊กไฟ เพราะนักเรียนบางคนบางครอบครัวก็มีความพร้อม มีแล็ปท๊อป นักเรียนบางคนก็มีสมาร์ทโฟน ซึ่งจากการสำรวจนักเรียนมัธยมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มีสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้ได้ แต่เพื่อความสะดวกในการเรียนการสอน จึงต้องใช้ระบบจอที่หน้าห้อง นักเรียนจะได้เห็นภาพที่ชัดเจน และได้ยินเสียงที่ชัดเจน

 

เมื่อห้องเรียนพร้อม จึงขาดไม่ได้ในเรื่องเครือข่ายวิชาการ ที่สำคัญโรงเรียนกมลาไสยมีสมาคมผู้ปกครองและครู เป็นสมาคมที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประสานผู้ปกครอง ประสานศิษย์เก่า และการสนับสนุนทุนทรัพย์ในการที่จะมาส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน มีชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนกมลาไสยจะสนับสนุนในเรื่องการระดมทุนเพื่อที่จะมาพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เพราะว่าโรงเรียนกมลาไสยเป็นโรงเรียนเก่าแก่อายุ 72 ปีกับการตั้งโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนมัธยมในจังหวัดกาฬสินธุ์ สพม.24 มีทั้งหมด 55 โรง มีการแลกเปลี่ยน และยังมีเครือข่าย DIS จึงเป็นพื้นฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องการวางแผนการเรียนการสอน และสมาคม DIS แห่งประเทศไทยก็ได้จัดประชุมทั้งประเทศเพื่อได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอนแบบ On-line ซึ่งโรงเรียนกมลาไสยก็เป็นศูนย์ของการเรียน On-line ศูนย์หนึ่งของประเทศไทยด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ NEW NORMAL SCHOOL ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ก็เป็นเครือข่ายหลักที่ทางโรงเรียนกมลาไสยจะได้อาศัยในเรื่องกระบวนการต่าง ๆ ที่จะได้รับการเสนอแนะ

 

สิ่งที่ทางโรงเรียนได้เตรียมเพิ่มเข้ามาก็คือการรายงานข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ผู้ปกครอง ให้นักเรียน ศิษย์เก่า และประชาชนต่าง ๆ ได้รับทราบ เมื่อก่อนที่ใช้ทางหลักก็คือเว็บไซต์ของโรงเรียน ทางไลน์ ทางเฟสบุ๊ค เพราะคุณครูประจำชั้นทุกคนจะมีกลุ่มไลน์กับผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งปีที่แล้ว เราได้ทำสำเร็จ 80 เปอร์เซ็นต์ ทางโรงเรียนก็ได้จัดตั้งทีมงานทีวีออนไลน์เพื่อที่จะเป็นสื่อกลางประสานระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่า และโรงเรียนเครือข่าย เพื่อที่จะให้คุณครูที่สร้างผลงานการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและได้นำมาสื่อสารทีวีออนไลน์ และมีผังรายการเพื่อเป็นการนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของโรงเรียน ความเคลื่อนไหวของทางราชการและประเทศ เป็นต้น

 

ดร.พิศณุ ศรีพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี นำเสนอความพร้อมการรับมือในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า มาตรการของทางโรงเรียนที่จะเสนอผู้ปกครองก็คือเราจะทำอ่างล้างมือจากหน้าโรงเรียนไปจนถึงจุดคัดกรอง ระหว่างทางประมาณ 120 จุดทั่วโรงเรียน เราจะเน้นเรื่องล้างมือก่อนเข้าโรงเรียน และมีจุดคัดกรองกลางที่ทุกคนต้องผ่านที่จุดนี้ จุดนี้ก็จะเป็นเพียงอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และวางแนวทางเดินบังคับให้นักเรียนเดินเข้าออกโรงเรียน โรงเรียนมี 80 กว่าห้องเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด ทางโรงเรียนแยกแยะแต่ละห้องเรียนไม่เท่ากันเพราะมีโปรแกรมหลากหลาย ห้องเรียนที่มีนักเรียนน้อยที่สุดคือ 15 คน ห้องเรียนที่มีนักเรียนระหว่าง 15-25 คนมีอยู่ 8 ห้องเรียน ห้องเรียนที่มีนักเรียนระหว่าง 26-30 คนมีอยู่ 13 ห้องเรียน ห้องเรียนที่มีนักเรียนระหว่าง 31-35 คนมีอยู่ 20 ห้องเรียน ห้องเรียนที่มีนักเรียนระหว่าง 36-40 คนมี 13 ห้องเรียน ห้องเรียนที่มีนักเรียนระหว่าง 41-45 คนมีอยู่ 20 ห้องเรียน และสูงสุดของเราคือ 50 คนคือชั้นมัธยมปลาย

 

จากความหลากหลายของโปรแกรมการเรียนและห้องเรียน จึงได้มีการหารือกันว่าเราจะรับมือทางสาธารณสุขได้อย่างไร ได้หารือกับครู ผู้ปกครอง ได้ข้อสรุปว่าจะนำมาตรการที่มีการนำเสนอให้กับเครือข่ายของผู้ปกครอง ส่วนข้อสรุปที่ได้คุยกันในการตกผลึกของแนวความคิดว่าเราจะทำอย่างไรบ้าง ก็คือ เราจะขอร้องให้สวมหน้ากากอนามัยและเฟซชิลฟ์ ผสมผสานทั้งสองอย่างคู่กันในโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียน และเรากำหนดจุดล้างมือให้ทั่วโรงเรียน ไม่ว่าจะไปจุดใดก็มีจุดล้างมือ จุดที่เราเน้นมากคือจุดก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 จุด และจะเพิ่มให้มี 20 จุดขึ้นไป เมื่อเข้ามาถึงจุดคัดกรองแล้ว เราจะมีสี่เลนสำหรับกรองอุณหภูมิด้วยระบบเทอร์โมสแกน จุดนี้จะมีครูเฝ้า และในตัวระบบนี้ ถ้าใครมีอุณหภูมิสูงก็จะมีสัญญาณเตือนก็แยกคัดกรองนักเรียนออกมา เมื่อผ่านระบบเทอร์โมสแกนเข้ามาแล้วก็จะผ่านจุดฆ่าเชื้อด้วยสารไฮโปรคลอไรด์ โดยมีพรมรองรับ และพรมนี้จะเปลี่ยนทุกหนึ่งชั่วโมงเพื่อไม่ให้สะสมเชื้อโรคซึ่งเราได้เตรียมการไว้แล้ว

 

หลังจากออกจากพื้นที่ฆ่าเชื้อแล้ว เราจะมาเข้าอุโมงค์ฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นนวัตกรรมของครูที่โรงเรียนที่คิดขึ้นมา โดยใช้น้ำยาเป็นไอหมอก ไม่มีการระคายเคืองผิว ซึ่งได้รับการยืนยันจากมหาวิทยานเรศวรซึ่งมีการวิจัยรองรับ เพื่อให้ผู้ปกครองมั่นใจว่าทางโรงเรียนมีมาตรการทางสาธารณสุขที่ดี เมื่อผ่านการคัดกรองแล้ว ทุกคนจะต้องมีสัญลักษณ์การผ่านการคัดกรอง โดยทั่ว ไปจะใช้สติกเกอร์ติดไว้ที่เสื้อเป็นสัญลักษณ์ซึ่งจะต้องใช้เป็นแสนชิ้นถึงจะเพียงพอ ดังนั้นที่ประชุมเสนอว่าเราต้องใช้ตรายางสัญลักษณ์แสตมป์ไปที่แขนแทน อันนี้มีคนแนะนำว่าให้ออกแบบตราให้สวยเพื่อจะให้ทราบว่าใครผ่านกระบวนการคัดกรองแล้ว อันนี้เป็นมาตรการสาธารณสุข

 

อีกมาตรการหนึ่งคือ การล้างมือระหว่างวัน โรงเรียน ครูและผู้ปกครองเน้นว่าควรมีการล้างมือบ่อย ๆ ก็เลยแบ่งเวลาพัก 10 นาที และเวลาก่อนกลับบ้าน 10 นาที มาเป็นเวลาล้างมือของการเรียนในภาคเช้า เมื่อเรียนไปได้สัก 2 ชั่วโมงก็มีการพักก็ให้มีการล้างมือ โดยเราจะติดตั้งอ่างล้างมือไว้ตามจุดที่สำคัญของอาคารเรียนเพื่อให้นักเรียนออกมาล้างมือเป็นระยะ โดยเพิ่มเวลาล้างมือลงไปในตารางสอนด้วย

 

ในจำนวนที่เรามีนักเรียนอยู่ เราจะใช้ระยะห่างอย่างไรในการจัดคนเข้ามาที่มีนักเรียนประมาณ 3,200 กว่าคนถ้าเข้ามาโรงเรียนพร้อมกันคงไม่ได้แน่ เพราะจะแออัดมาก ก็เลยวางรูปแบบว่านักเรียนที่มี 25 คนขึ้นไป จัดให้มีระยะห่างประมาณ 2.5 เมตร นักเรียนที่มี 30 คนขึ้นไปจัดให้มีระยะห่างประมาณ 2-3 เมตร นักเรียนที่มี 35 คนขึ้นไปจัดให้มีระยะห่าง 1.8 เมตร ส่วนกลุ่มที่นักเรียน 45 คนขึ้นไป เราจะแบ่งครึ่ง โดยให้ครึ่งหนึ่งเรียนออนไลน์ที่บ้าน อีกครึ่งหนึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียน โดยใช้บทเรียนและเนื้อหาเดียวกัน กรณีที่มีนักเรียนตั้งแต่ 35 คนขึ้นไป เราจะแบ่งนักเรียนออนไลน์เป็นสัปดาห์ต่อสัปดาห์ โดยสลับกันไป ส่วนนักเรียนที่น้อยกว่า 35 คนก็ให้มาเรียนตามปกติได้ทั้งห้อง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราไม่สามารถแบ่งเป็น 20 คนได้ แบ่งห้องเรียนเป็นสองห้องได้ เนื่องจากเรามีห้องเรียนไม่เพียงพอ และถ้าเราแบ่งนักเรียนพิเศษเป็นสองส่วน เราต้องให้ครูสอนสองครั้งซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำงานล่วงเวลา จึงกำหนดให้อยู่ในห้องเรียนประมาณ 30 คน

 

ส่วนเรื่องระยะห่างและการใช้ชีวิตประจำวัน ทางโรงเรียนได้งดกิจกรรมการเข้าแถวหน้าเสาธง จะให้นักเรียนไปเข้าแถวที่โต๊ะเรียนในห้องเรียนแทน และงดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันมาก ๆ ในส่วนของการพัก เราก็แบ่งการพักกลางวันเป็นสองช่วงเวลา ในสองช่วงเวลาก็มาตรการโดยออกแบบโต๊ะรับประทานอาหารให้นั่งกันได้โดยที่ไม่มีผลกระทบทางด้านฝุ่นละอองจากการไอการจาม ที่สำคัญคือความหนาแน่นในโรงอาหารนั้น แต่ก่อนนักเรียนไม่สามารถนำอาหารออกจากโรงอาหารได้ ถือว่าเป็นการผิดระเบียบโรงเรียน แต่ขณะนี้เราต้อง NEW NORMAL คือสามารถให้นำอาหารออกจากโรงอาหารไปรับประทานที่ห้องเรียนได้ เพื่อลดความแออัด แต่ภาชนะที่จะนำออกไปจากห้องอาหารนั้นต้องเป็นภาชนะที่เป็นกระดาษเท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นต้นทุนประกอบการ ทำให้ร้านค้ามีต้นทุนสูง โรงเรียนก็เห็นใจร้านค้า โรงเรียนจึงซื้อมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ในราคาถูก แล้วนำมาขายให้กับร้านค้าในราคาต้นทุน เพื่อไม่ให้ร้านค้าแบกรับต้นทุนมาก ในกรณีที่นำอาหารไปรับประทานในห้องเรียน ก็ไม่อนุญาตนำช้อนจากส่วนกลางของโรงอาหารไป แต่ต้องให้นำช้อนมาจากบ้านแทน

 

เราคิดรูปแบบบูรณาการแบบลูกเสือมาใช้คือมี พลาธิการหมู่ เราจะให้นักเรียนในห้องแบ่งเป็นหมู่ลูกเสือ จะ 8 คน หรือ 10 คน แล้วแต่ของแต่ละห้อง โดยพลาธิการมีหน้าที่ดูแลเรื่องการซื้อและการนำอาหารมาให้เพื่อนในโต๊ะรับประทาน แทนที่คน 8 คน หรือคน 10 คนก็ไม่ต้องเข้าคิวซื้ออาหารอีก ก็เหลือ 1 คนเท่านั้นที่บริการเพื่อน โดยสลับกันเป็นพลาธิการ

 

ทั้งหมดนี้จะนำเสนอผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองก็อาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่ามาตรการของโรงเรียนที่ทำอยู่นี้ ทางผู้ปกครองเห็นด้วยไหม และจะเสนอให้ทำเพิ่มอะไรบ้าง และอะไรที่ทางโรงเรียนทำได้ก็ยินดีทำให้ อะไรที่ทางโรงเรียนทำไม่ได้ ทางโรงเรียนจะแจ้งว่าทำไม่ได้เพราะอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้เมื่อเรานำเสนอผู้ปกครองแล้ว ทางผู้ปกครองก็จะมีทางเลือกอยู่สามทางคือ ไม่ว่าจะมีมาตรการอะไรก็จะไม่ให้ลูกมาโรงเรียน เพราะว่ากลัว เนื่องจากผู้ปกครองบางคนมีลูกคนเดียว จะรู้สึกกังวลมาก แม้ทางโรงเรียนจะมีมาตรการอะไรก็ไม่อยากให้ลูกมาโรงเรียน ผู้ปกครองแบบที่สองก็มีว่าให้ลูกมาโรงเรียนทุกวัน เพราะมีความเชื่อมั่นในโรงเรียน ถ้าอยู่บ้านอาจจะซน อาจจะเล่นแต่เกมและสภาพสิ่งแวดล้อมที่บ้าน จึงให้ลูกมาโรงเรียนดีกว่า และทางเลือกแบบที่สามก็คือมาเรียนตามข้อเสนอของโรงเรียน คือแบ่งกลุ่มเป็นแบบที่นำเรียนมา ทั้งสามวิธีนี้ เราจะสำรวจให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า ส่วนมาตรการเสริมก็คือว่าในทั้งหมดที่เป็นสามทางเลือก เราเตรียมความพร้อมไว้ทั้งหมด ไม่ว่าผู้ปกครองจะเลือกแบบไหน เราก็มีระบบรองรับทั้งหมด

 

ส่วนมาตรการทางสังคม ผลกระทบจากการดำรงชีพ ทางโรงเรียนสำรวจพบว่าครอบครัวที่มีผลกระทบมีอยู่ประมาณ 300 ครอบครัว และใน 300 ครอบครัวนี้ เราใช้การไม่ทิ้งกันในยามยาก เมื่อกลุ่มเหล่านี้มาโรงเรียนอาจไม่มีค่าอาหารเช้า ไม่มีค่าอาหารกลางวัน ไม่มีค่ารถ เราจะใช้เครือข่ายของผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม แต่ละครอบครัวทางเครือข่ายผู้ปกครองช่วยกันดูแล บ้านไหนไม่มีค่ารถ อาจต้องใช้วิธีการผูกกันเป็นบ้านหรือสองบ้านดูแลกัน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองโรงเรียนมีความถนัดที่จะดูแลซึ่งกันและกัน

 

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ขาดอุปกรณ์ในการเรียน ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมีอยู่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ใน 5 เปอร์เซ็นต์นี้ เครือข่ายผู้ปกครองจะช่วยกันดูแลเพื่อนของลูกได้อย่างไรบ้าง ในส่วนของโรงเรียนก็จะช่วยสนับสนุน โดยทุกอย่างให้เกิดจากผู้ปกครองตัดสินใจเป็นหลัก

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1

ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1

ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ชี้ผลจากโควิด ทำโครงสร้างเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนแปลง บางธุรกิจอาจหดหายหรือปิดตัว ภาครัฐต้องประเมินการจ้างงานใหม่โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะมากที่กำลังตกงาน และต้องพัฒนาคนให้พร้อมกับโลกดิจิทัล ด้านการเรียนการสอนพัฒนาเด็กแต่ละวัยเรียนต้องสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ ลดข้อจำกัดจากครูผู้สอน ระบบการบริหารการศึกษาที่ขาดความพร้อมและไม่ทันสมัย และยังต้องให้ความสำคัญกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำอย่างโควิด 19 เพิ่มมากขึ้นอีก

ตามที่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่อง โรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 16.30 – 19.00 น. ด้วยโปรแกรม ZOOM ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายแพทย์ ศราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ผศ.ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ชวิน จันทเสนาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย ดร.พีรานุช ไชยพิเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ครูพูลศักด์ เสนฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ดร.พิศณุ ศรีพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยคณะทำงาน วิทยากร และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้งสิ้น 219 คน โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นผู้ดำเนินการการเสวนา

จากการเสวนาครั้งนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้กล่าวในการเสวนาครั้งนี้โดยได้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่เกิดจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเหลื่อมล้ำในภาพรวมของคนไทย โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว รายได้ การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การอยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมในภาพรวม และในระดับชุมชนต่าง ๆ ของคนไทย

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจหรือรายได้ในระดับวิกฤติและต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ในการกู้คืน (Recovery) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว การบิน การโรงแรม กิจการตามสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มธุรกิจส่งออกเกือบทั้งหมด ยกเว้นอาหารและเวชภัณฑ์

ภาพรวมเศรษฐกิจของไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5  ในไตรมาสที่ 4/62 แนวโนม้เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดวา่จะปรับตัวลดลง -6.0 ถึงร้อยละ -5.0 มูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ -8.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทนุรวมปรับตัวลดลงร้อยละ -1.7 และร้อยละ -2.1

ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมภายนอกประเทศ อันเกิดจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่สำคัญนั้น สหประชาชาติ (United Nation Department of Economic and Social Affair) รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลก จากผลิตภัณฑ์มวลรวมที่คาดการณ์จะเติบโตในปี 2563 ที่ 3.2 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าผลจากโควิด-19 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกจะติดลบที่ร้อยละ -5.0 เป็นอย่างน้อย มูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกจะหดตัวร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 32  disrupting global นอกจากนี้ มีมากกว่า 100 ประเทศใช้มาตรการ “ล็อกดาวน์” หรือ ปิดประเทศ เพื่อสกัดกั้นการระบาดตั้งแต่เดือนมีนาคมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยุติลงด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลต่อซัพพลายเชน และการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าเกิดการยกเลิกคำสั่งซื้อจนถึงยุติการผลิตและส่งออก เนื่องจากขาดวัตถุดิบและไม่สามารถจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศได้ ยกเว้นเวชภัณฑ์สำคัญและอาหาร

จากรายงานการศึกษาล่าสุดของ International Labor Organization พบว่าแรงงานที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั่วโลกประมาณ 1.25 พันล้านคน ทั้งถูกให้ออกจากงาน ลดค่าจ้างรายเดือน แรงงานรายวัน โดยส่วนมากของแรงงานดังกล่าวเป็นแรงงานที่รายได้น้อย และแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะสูง (Low-skilled labor) ได้รับผลกระทบต่อรายได้อย่างหนัก

ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลก ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2563 ทั่วโลกจะมีสัดส่วนประชากรยากจนอยู่ประมาณ 7.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันเมื่อเกิดโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกยากจนลง หรือมีกลุ่มประชากรยากจนเพิ่มขึ้นมาเป็น 8.6 เปอร์เซ็นต์ หรือส่งผลให้เกิดคนยากจนเพิ่มขึ้น 49 ล้านคน รวมเป็นคนที่ยากจนทั้งสิ้นประมาณ 665 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวน 49 ล้านคนที่ยากจนเพิ่มขึ้นที่มีรายได้น้อยกว่า 1.9 เหรียญสหรัฐ หรือ 60 บาทต่อวัน มากสุดในประเทศทวีปแอฟริกา รองลงมาเป็นเอเชียใต้และประเทศเอเชียแปซิฟิก รวมประเทศไทย

ผลกระทบต่อการศึกษา UNESCO ประมาณการว่าโควิด-19 ส่งผลต่อผู้เรียน นักเรียน นิสิตนักศึกษา มากถึง 1.725 พันล้านคนทั่วโลก โดยโรงเรียนจำเป็นต้องปิดมากกว่า 153 ประเทศ มีเพียง 10 ประเทศที่ปัจจุบันมีการเปิดหรือเพิ่งเปิด คิดเป็นร้อยละ 98.6 ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานศึกษาทั่วโลก ผลกระทบจากการปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่อระบบการศึกษา ผู้เรียน รวมถึงผู้สอนและครอบครัว ได้แก่ Distance learning เช่น โรงเรียน สถานศึกษาใช้การสอนแบบ On-line และ On-air รวมถึงใช้ Application ประชุมและสอน On-line เช่น MS-Team, Zoom, WebEx, Facebook Live, Line เป็นต้น

Childcare หรือสถานรับเลี้ยงเด็กต้องปิด ส่งผลให้ครอบครัวที่ปกติจะนำบุตรหลานมายังสถานรับเลี้ยงเนื่องจากจำเป็นต้องทำงานหารายได้ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย และทำให้เด็กก่อนวัยเรียนขาดพัฒนาการได้

Health Nutrition and food security: เด็กเล็กที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพ อาหาร และโภชนาการที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ได้รับผลกระทบอย่างมาก อันเนื่องจากต้องอยู่บ้าน ไม่ได้รับการดูแลจากโรงเรียน หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่มีรายได้น้อย หรือครอบครัวที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะของเด็ก

Special education services: การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การได้ยิน หรือบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้รับผลกระทบใน การช่วยเหลือและได้รับการพัฒนาการจากผู้เชี่ยวชาญหรือทางโรงเรียนไปด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมจากเดิมคือการให้ความสำคัญกับค่านิยมที่ตระหนักถึงภัยจากโรคระบาดที่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั้งประเทศ ซึ่งประชาชนและชุมชนต้องมีวินัย เสียสละ ตระหนัก และให้ความร่วมมือกับภาครัฐและส่วนรวม ค่านิยมในเรื่องความปลอดภัยของคนในชาติอาจจะกระทบต่อความเคยชิน หรือสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเช่น Social Distancing หรือ Contact tracking หรือ New Normal ต่าง ๆ เป็นต้น

ผลจากโควิด ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง บางธรุกิจอาจหดหายหรือปิดตัวไป ภาครัฐจำเป็นจะต้องมีการประเมินอนาคตการจ้างงานใหม่ จำเป็นต้องพัฒนาคนให้พร้อมกับโลกดิจิทัล และการทำงานแบบ WFH ในโลก “New Normal” ซึ่งจะกระทบกับแรงงาน Low-Skilled labor อย่างมาก และต้องลำดับความสำคัญในเรื่อง Digital Literacy  และ Health literacy ให้มีความสำคัญและเด่นชัดมากขึ้นกว่าแผนเดิม

พัฒนาการเรียนการสอนแบบผสม หรือ Mixed learning ทั้ง At-school On-line On-air In Village At Home ให้เหมาะสมกับ New Normal และพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเรียน สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ และลดข้อจำกัดจากครูผู้สอน ระบบการบริหารการศึกษาที่ขาดความพร้อมและไม่ทันสมัย และยังต้องให้ความสำคัญกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำอย่างโควิด 19 เพิ่มมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรและบคุลากรในระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยในเรื่องยา เวชภัณฑ์ และอปุกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เสริมสร้างเรื่อง Health literacy ให้กับประชาชนและชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสภาพแวดล้อมในสังคมต่าง ๆ หรือ Healthy environment ส่งเสริมการออกกำลัง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสศ. จัดวทีนวัตกรรมท้องถิ่นร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาใน​ Equity​ Forum​ 2020​

กสศ. จัดวทีนวัตกรรมท้องถิ่นร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาใน​ Equity​ Forum​ 2020​

การประชุมออนไลน์ Equity​ Forum เรื่อง เวทีนวัตกรรมท้องถิ่นร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

รายละเอียด
https://equityforum2020.eef.or.th/main.html

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดเสวนาออนไลน์ The New Normal School ครั้งที่ 2 ศึกษาบทเรียนนานาชาติ เตรียมพร้อมครู-ผู้ปกครอง-นักเรียน-โรงเรียน และหน่วยงานรัฐรับมือและปรับแผนการเรียนการสอนในแบบออนไลน์ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสารทุกช่องทางในมาตรการป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดเสวนาออนไลน์ The New Normal School ครั้งที่ 2 ศึกษาบทเรียนนานาชาติ เตรียมพร้อมครู-ผู้ปกครอง-นักเรียน-โรงเรียน และหน่วยงานรัฐรับมือและปรับแผนการเรียนการสอนในแบบออนไลน์ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสารทุกช่องทางในมาตรการป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19


การเสวนา The New Normal School ออนไลน์ ครั้งที่ 2
เรื่อง การเรียนการสอนและเครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งจัดโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ผ่านโปรแกรมซูม โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ พร้อมทั้งเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมในการเสวนากว่า 200 คน โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการสำนักงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

การเสวนาภาคแรก ที่ประชุมได้เสวนาในหัวข้อ เรื่อง การเรียนการสอนออนไลน์ โดยวิทยากร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ และ ดร.ก้องกาญจน์ วัชรพนัง นำเสวนาในประเด็นการเรียน   การสอน ประสบการณ์จากอุดมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา โดยชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่อาจารย์กังวลต่อการสอนออนไลน์ คือนักศึกษาจะเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด การเริ่มสอนออนไลน์ การเลือกเวทีที่เหมาะสม การใช้เวลาในการเตรียมการสอน ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้เวลาในการสื่อสารกับนักศึกษา การใช้เวลาในการตรวจงาน สิ่งที่นักศึกษากังวลต่อการเรียนออนไลน์ คือสัญญาณอินเทอร์เน็ต การสอนแบบ Broadcast และ Live การส่งงาน การสอบ ตารางสอบที่ทับซ้อน การส่งข้อสอบ การขาดแคลนอุปกรณ์และหนังสือที่ใช้  ในการเรียน สิ่งแวดล้อมในบ้าน บ้านถูกเปลี่ยนเป็นห้องเรียนทางไกลที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน การทำห้องทดลองออนไลน์ ทำให้ไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือจริง ๆ

ดังนั้น การเตรียมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยตั้งห้องเรียนแบบ Virtual Classroom เชิญทุกคนเข้าห้องเรียน ออกแบบเป้าหมายการเรียนรู้แบบทีละขั้นตอนที่ สามารถช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และแบ่งหัวข้อเรื่องย่อย ๆ ตามลำดับของเนื้อหา ให้เวลานักศึกษาในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ของเวลาปกติ เปิดโอกาสให้เรียนรู้ได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและให้ความเห็นสะท้อนกลับไปยังนักศึกษาในแต่ละหัวข้อ แบ่งหัวข้อการเรียนรู้ออกเป็น key concept ย่อย ๆ ปรับรูปแบบจากการที่ครูต้องสอนแบบ Live เป็นการสร้างสื่อเรียนรู้ที่เหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตัวเองของนักศึกษา สร้างกระบวนการที่ช่วยพัฒนาสมรรถนะเป็นลำดับขั้น การให้ข้อมูลป้อนกลับและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่ม ช่วยพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา

ส่วนแนวคิดการออกแบบตารางสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กำหนดชั่วโมงการเรียนรู้ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ตารางจะแสดงกำหนดการสำคัญ เช่น หัวข้อการเรียนรู้ ชั่วโมงการทำงานของแต่ละวิชา ชั่วโมงที่พบกับครู และวันที่ต้องส่งงาน ทุกสัปดาห์มีชั่วโมง Reflection เพื่อช่วยสรุปและเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักศึกษา สื่อสารและทำความเข้าใจแนวคิดการเรียนรู้กับนักศึกษาและผู้ปกครอง

ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเสนอประเด็นการเรียนการสอน K-9 ในสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 (COVID-19) โดยยกกรณีตัวอย่าง ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา ที่มีความร่วมมือระหว่างรัฐจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระดับเกรด 12 โดยใช้หลักสูตร Florida Virtual School ร่วมมือกับ Google ในการจัดหา Chromebooks และจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Hotspot) มือถือให้กับนักเรียนในพื้นที่ชนบทจำนวน 100,000 จุด เพื่อให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฟรี และไม่จำกัดตลอดระยะเวลาที่เหลือของปีการศึกษา การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และบริการ WiFi ให้กับนักเรียนในระดับ 3-7 รวมถึงการดัดแปลงรถโรงเรียน 110 คันที่กระจาย WiFi เพื่อออกอากาศ Hotspot สูงถึง 200 ฟุต บางรัฐให้ยืม iPAD และทำเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลโดยลิงก์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีหรือลดราคาสำหรับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน รวมทั้งมีแผนที่ที่แสดงจุด Hotspot WiFi ได้ทั่วทั้งรัฐ และจัดรายการทีวีของ PBS จำนวน 5 ชั่วโมงในวันธรรมดาสำหรับนักเรียนระดับก่อนอนุบาลถึงเกรด 8 โดยใช้ครูที่มีความสามารถในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอน
  • ฝรั่งเศส ได้มีการประกาศแผนปฏิบัติงาน 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การติดต่อสื่อสานระบออนไลน์ จะเน้นในชุมชนที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสาร ดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ต พร้อมกับอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณ 4G ด้านที่ 2 การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเพื่อให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ด้านที่ 3 การสนับสนุนท้องถิ่นบริหารงานทั้งระบบ โดยให้ผู้ว่าการแต่ละภูมิภาคบริหารจัดการในการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน ด้านกระทรวงการศึกษาและเยาวชนแห่งชาติ และ La Poste (ไปรษณีย์) ทำข้อตกลงกันเพื่อรับผิดชอบในการจัดส่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในโรงเรียน เช่น แท็บเล็ตและแล็ปท็อป ส่งเอกสารการสอนให้กับนักเรียนที่ไม่ได้ติดตั้งแบบดิจิทัล หรือไม่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยสถานศึกษาควรติดต่อกับครอบครัวสัปดาห์ละครั้งทางโทรศัพท์ จัดให้มีศูนย์การศึกษาทางไกลแห่งชาติ (CNED) ที่จะดำเนินการจัดทำแพลทฟอร์ม My Class at Home ทำตารางการสอนผ่านโทรทัศน์ (Lumni) และ Educ’ARTE (เว็ปไซด์ที่รวบรวมสื่อการเรียนการสอน) พร้อมภาคเอกชนและสมาคมต่าง ๆ ได้แก่ Emmaus Connect Foundation de France ในการให้การสนับสนุนอุปกรณ์ดิจิทัลที่จำเป็น
  • จีน กระทรวงศึกษาธิการของจีน ได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการเรียนรู้แบบดิจิทัล พร้อมได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของจีน ให้บริการการศึกษาเรียนรู้แบบออนไลน์ พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต และขยายเครือข่ายให้มีความครอบคลุม สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สนับสนุนให้โรงเรียนใช้แพลทฟอร์มอินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกในการสอนแบบออนไลน์ เปิดห้องเรียนบนระบบคลาวด์ (Cloud) แห่งชาติ จัดหาสื่อการสอนและหลักสูตรสำหรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูผู้สอนออกแบบและส่งบทเรียนออนไลน์ การถ่ายทอดสดการสอนออนไลน์ และการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ MOOC โรงเรียนจะจัดส่งตารางเรียน พร้อมคู่มือที่มีตารางเวลากำกับ  โดยละเอียดแก่นักเรียน โดยให้โรงเรียนและครูเลือกรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมในการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของนักเรียนที่ไม่สามารถร่วมชั้นเรียนผ่านทางออนไลน์ได้ สามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียงและไฟล์งานมาทำแทนได้ หรือในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่มีมีอินเทอร์เน็ต ทางหน่วยงานของรัฐหรือ China Education Network ได้เปิดห้องเรียนออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์ช่องพิเศษสำหรับการศึกษาทุกวันทำการ โดยครอบคลุมวิชาแกนหลักทั้งหมด
  • อินเดีย ด้านการศึกษาทางเลือกสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ 1-5 ซึ่งพัฒนาโมดูลที่จัดทำโดยสภาแห่งชาติเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านการศึกษา (NCERT) เพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีและเป็นเครื่องมือสำหรับครูในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสอดคล้องกับเนื้อหาจากหลักสูตร โมดูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้น ครูและผู้ปกครองอาจเลือกที่จะทำกิจกรรมที่นักเรียนแสดงความสนใจโดยไม่คำนึงถึงลำดับ การใช้สื่อการเรียนรู้แบบผสมผสาน ใช้กับนักเรียนเกือบทุกระดับชั้นที่จะได้มอบแผ่นงานและเนื้อหาการเรียนรู้ให้กับผู้ปกครองผ่านทางเว็บลิงค์และช่องทางต่าง ๆ ในแต่ละวัน ได้แก่ YouTube  Microsoft Zoom WhatsApp Google Classroom รวมทั้ง SWAYAM Prabha การเรียนการสอนแบบสด (Live) หรือออนไลน์จะเน้นการติดต่อสื่อสารกับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการพัฒนาระบบนิเวศทางการศึกษาออนไลน์
  • สิงคโปร์ ได้จัดการเรียนรู้ผ่าน Singapore Learning Platform (SLP) จะมีสื่อสารการเรียนการสอนให้กับครูและนักเรียน โดยในช่วงการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Home Based Learning (HBL) จะมีทั้งการเรียนออฟไลน์และออนไลน์มาใช้ โดยไม่ได้อิงกับการเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียวใน HBL Package จะมีคำชี้แจงการเรียนรู้ ตารางการเรียน แผนการเรียนรู้ ใบงานหรือกิจกรรมและจำนวนชั่วโมงที่ต้องการในการเรียนรู้ในรายวิชานั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน โดยรัฐบาลจัดหาแล็ปท็อปและแท็บเล็ตให้นักเรียนผู้มีรายได้น้อยหรือให้ยืมอุปกรณ์สื่อสารเพื่อไว้ใช้เรียนหนังสือที่บ้าน หรือระหว่างที่รัฐบาลมีคำสั่งให้ปิดโรงเรียน นอกจากนี้ยังจัดหาอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้นักเรียนยืมอีก 1,200 ชุด
  • อินโดนีเซีย ทางกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมดำเนินการให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้โรงเรียนในภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ผ่าน Platform การเรียนรู้ออนไลน์ที่ใช้เทคโนโลยี เพื่อจะช่วยเหลือนักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่บ้าน ประกอบด้วย e-Learning Platform ที่สาธารณชนเข้าถึง ได้แก่ Zenius Education, Rumah Belajar Kemendikbud การศึกษาของ G Suite ทีมของ Microsoft ควิปเปอร์สคูล (Quipper), Ruangguru สำหรับที่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถเรียนรู้ผ่านสถานีโทรทัศน์สาธารณะ TVRI จะออกอากาศรายการการศึกษาแบบเต็มวันที่เรียกว่า Belajar dari Rumah (Study from Home)
  • ฟิลิปปินส์ ได้ประกาศเปิดตัว DepED Commons ซึ่งเป็น Platform Online ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (DICT) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (NTC) ในการสนับสนุนการเชื่อมต่อเพื่อส่งมอบบริการการศึกษาบนโลกออนไลน์ Platform นี้ประกอบด้วย Globe eLibrary ซึ่งเป็น Platform Online และ e-books ที่เหมาะสมกับวัยและมีส่วนร่วมตั้งแต่หนังสือนิทานสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ไปจนถึงตำราเรียนในวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ ฟิลิปปินส์ ดนตรี ศิลปะ และ Open Educational Resources (OER) ที่เขียนขึ้นโดยครูโรงเรียนของรัฐที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ซึ่งสามารถจัดเก็บรักษา นำไป แก้ไขใหม่ และแจกจ่ายเนื้อหาใหม่ได้ จัดทำบทเรียนผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุ ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน ครูจัดทำแผนการเรียนการสอนออนไลน์ และออกแบบฝึกหัดให้กับนักเรียนเพื่อนำไป upload ใน DepED เนื่องจากยังมีนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจในการปรับใช้การสอนที่เหมาะสม หากพวกเขาปฏิบัติตามแนวทางนโยบายและการเตือนที่ DepED กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนกรณีการเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2563 จะลดจำนวนนักเรียนให้น้อยลงประมาณ 20 คนต่อห้อง และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์ โดยยึดมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก
  • เวียดนาม ทางกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมร่วมมือกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสนับสนุนการออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์ฟรี จำนวน 14 ช่อง และได้พัฒนา Platform Online, VNPT E-Learning เพื่อช่วยสอนและเรียนรู้จากระยะไกลสำหรับครูและนักเรียนทุกระดับมี 3 องค์ประกอบที่ต้องเรียนรู้ผ่าน livestream แลกเปลี่ยนบทเรียนออนไลน์ และทดสอบออนไลน์ โดยมีมาตรการเกี่ยวกับการจัดการห้องเรียนผ่านสื่อออนไลน์ และเน้นย้ำถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างโรงเรียนและครอบครัวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในโลกไซเบอร์สำหรับการเรียนรู้ เมื่อโรงเรียนเปิด กระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมกำหนดมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องในการตรวจอุณหภูมิ จัดให้นั่งห่างจากกันสองเมตร การสวมหน้ากากอนามัย การฆ่าเชื้อที่โต๊ะ ลิฟท์ และลูกบิดประตูเป็นประจำในระหว่างการเรียนรู้ การล้างมือด้วยสบู่และเจลทำความสะอาดมือ ในขณะเดียวกัน โรงเรียนยังคำนึงถึงระยะห่างทางสังคมจำเป็นต้องแบ่งจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นเรียนครึ่งหนึ่งสลับกันมาโรงเรียน และอีกครึ่งหนึ่งจะเรียนออนไลน์ที่บ้าน รวมทั้งมีการจัดเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ในวันเสาร์สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ดี

ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ นำเสนอประเด็นการปฏิบัติจริงในการเรียนการสอนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในอาเซียน ว่า
“หลายประเทศมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล โดยรัฐมีนโยบายส่งเสริมให้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ เช่น การเรียนผ่านโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมและการเรียนออนไลน์ ส่วนในระดับโรงเรียนก็ดำเนินแนวทางตามนโยบายรัฐ แต่เน้นความยืดหยุ่นในการจัดการตามบริบทของพื้นที่ แปลงนโยบายมาสู่การออกแบบให้เหมาะกับตัวเองที่สามารถทำได้ และสิ่งที่ทุกโรงเรียนต้องมีคือ การมีข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน สภาพความพร้อมด้านการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ แผนและแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนตัวเอง และระบบการติดตามช่วยเหลือและประเมินผล ระบบการติดตามข่าวสารและสื่อสารกับพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง”

 

จากประสบการณ์ของครูด้านแนวทางการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูส่วนใหญ่เลือกผสมผสานวิธีการสอนหลายวิธีเข้าช่วย ส่วนห้องเรียนแบบออนไลน์ต้องเป็นแนวทางที่ครู นักเรียน และผู้ปกครองต้องมีความพร้อม โรงเรียนก็ต้องมีความพร้อมในการเลือกใช้วิธีนี้ โรงเรียนและครูต้องเตรียมการในเรื่องการจัดการ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ตารางการเรียน การจัดสอนแบบออฟไลน์ต้องมีชุดการเรียนรู้ช่วย แต่ลำบากพ่อแม่ของนักเรียนในการดูแลและการติดตามที่ต้องมีระบบที่ดีด้วย สถานะของครูสอนไป เรียนรู้ไป พัฒนาไป โดยดูจากเงื่อนไขสถานการณ์ที่จะทำให้การจัดการเรียนรู้นั้นเกิดผลดี

ดังนั้น แนวทางการจัดการเรียนการสอน ต้องผสมผสานวิธีการหลายวิธี เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมในสถานการณ์ New Normal เสมือนครูเป็นนักวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ห้องเรียนออนไลน์เป็นแนวทางที่ต้องเตรียม ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม รัฐต้องลงทุน หน่วยงานพื้นที่ต้องสนับสนุน การจัดสอนแบบออฟไลน์ต้องมีชุดการเรียนรู้ช่วย ต้องช่วยให้พ่อแม่รู้สึกดีและเรียนรู้ไปด้วยกัน ครูต้องสอนไป เรียนรู้ไป และพัฒนาไป ให้เป็นนิสัยในบริบทใหม่ เนื่องจากนวัตกรรมการสอนทางไกล ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ต้องการการค้นหาจากมือครูและผู้รู้ช่วยกันหนุนเสริม รวมถึงนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเข้าถึง “เด็กยากลำบาก” (Mobile learning) และการติดตามเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ เพื่อการเข้าถึงและช่วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นำเสนอในประเด็นการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ Concordian International School ว่า การเรียนการสอนเดิมถูกทดแทนด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยี ด้วยระบบ Learning Management System การถ่ายทอดสด (Live VDO) ห้องเรียนเสมือน (VDO conference) วีดีโอดูซ้ำได้ (VDO servers) ใช้ส่งไฟล์ ส่งงาน (Cloud storage) การส่งข้อความ (Messaging applications)

การเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูและโรงเรียนที่จะต้องเตรียมและแจกจ่ายสื่อการสอนให้นักเรียนประมาณ 5 วันล่วงหน้า ความพร้อมของอุปกรณ์และความช่วยเหลือในการสร้างสื่อวีดีโอ ความเร็วและความเสถียรในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการสอนสด เตรียมสภาพจิตใจที่ต้องคอยตอบคำถามตลอดเวลาหลังเลิกงาน สอนการใช้งานให้ครูคุ้นเคยและเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือสื่อสารที่โรงเรียนอนุญาตให้ใช้ การเรียนการสอนบางอย่างไม่สามารถสอนได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และการออกแบบประเมินให้ชัดเจน สำหรับนักเรียนต้องมีระเบียบวินัยที่จะทำงานให้เสร็จด้วยตนเอง ภายใต้สิ่งรบกวนต่าง ๆ เรียนรู้การใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างปลอดภัย ความซื่อสัตย์อย่าลอกงานเพราะโอกาสการลอกงานง่ายมาก ความคาดหวังการเรียนออนไลน์ดูเหมือนสนุกในช่วงแรก พอนานไปจะเหงา ส่วนผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจและเห็นภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้นก่อนเปิดเรียนออนไลน์ ทำความเข้าใจว่านักเรียนกำลังเรียนอยู่บ้าน ไม่ใช่วันหยุด ทำความเข้าใจว่าการเรียนออนไลน์ไม่ใช่ระบบเลี้ยงลูก ผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการเรียน

สำหรับความยากลำบากและความท้าทายคือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาและไม่สามารถช่วยการเรียนการสอนที่บ้าน การลอกงาน ครูไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนรูปแบบการสอนและโอกาสการพัฒนาครู ครูขาดความพร้อมด้าน IT skills & Digital Competency ครูไม่เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนสมัยนี้ นักเรียนเด็กเล็กเกิดการติดจอ คำสั่งจากหน่วยงานของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ดังนั้น โรงเรียนจะต้องเตรียมสื่อสารให้ผู้ปกครองทราบแต่เนิ่น ๆ และชัดเจนว่าการเรียนออนไลน์เป็นอย่างไร ครูเตรียมสื่อการสอนและช่องทางการถ่ายทอดสื่อให้นักเรียนให้เร็วที่สุด โรงเรียนเตรียมช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียน ครูตั้งความคาดหวังในการเรียนรู้ที่เป็นไปได้ และการเรียนออนไลน์เป็นระบบชั่วคราวและระบบไม่สามารถทดแทนการเรียนในห้องเรียน

ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นำเสนอถึงการเรียนออนไลน์อย่างปลอดภัยว่า ควรให้มีความร่วมมือในการเฝ้าระวัง สังเกตเด็กกลุ่มเสี่ยง โดยให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก มีส่วนร่วม พร้อมทั้งให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู ในด้านทักษะและความรู้เรื่องการติดตามการเรียนของเด็ก และให้ความสำคัญกับเด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถเรียนออนไลน์ได้ จึงควรมีช่องทางให้คำปรึกษากับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ครูควรได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ อาจมีการตั้งชมรมเพื่อให้เกิดกลุ่มนักเรียนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โรงเรียนควรสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำ และให้ข้อมูลในเรื่องการป้องกันความรุนแรงกับเด็ก

ดร.ทินสิริ ชี้ให้เห็นว่า การที่ให้เด็กนักเรียนเรียนออนไลน์ จะมีความเสี่ยงในเรื่องการลุกลามทางเพศ การข่มเหงทางจิตใจและถูกแกล้งจากเพื่อนที่เป็นคนพาล (bully) จึงมีข้อแนะนำว่า โรงเรียนควรมีนโยบายในการเรียนออนไลน์ เช่น โรงเรียนควรบอกผู้ปกครองถึงตารางเวลาเรียน และแนะนำให้นักเรียนติดต่อกับครูจากห้องเรียน และใส่ชุดให้สุภาพเรียบร้อยเมื่ออยู่ต่อหน้ากล้องโรงเรียน ควรออกระเบียบและส่งเสริมมารยาทในการเรียนออนไลน์ เพื่อป้องกันในเรื่องการพาล (bully) โรงเรียนควรมีแผนกแนะแนวและช่องทางช่วยเหลือให้กับเด็ก (Help Line) ดังนั้น โรงเรียนควรสื่อสารเรื่องการเรียนอย่างปลอดภัยให้กับผู้ปกครองด้วย

ส่วนการเสวนาภาคสอง ที่ประชุมได้เสวนาในหัวข้อเรื่องเครื่องมือเทคโนโลยี การเรียนรู้ การสื่อสาร ในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบ Cloud โดยมีวิทยากรคือ ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่นำเสนอว่า การศึกษาทางไกล (Distance Learning) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยูไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอน ในลักษณะของสื่อผสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทางโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเทอร์เน็ต เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดการศึกษาไปยังผู้ต้องการเรียนในท้องที่ต่าง ๆ ส่วนระบบประมวลผลกลุ่ม ให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรทางสารสนเทศให้กับผู้ใช้งานแต่ละราย การประมวลผลกลุ่มเป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากระบบ Virtualization และ Web service โดยเน้นให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับบริการเหล่านั้น

ส่วนคุณสมบัติพื้นฐานที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบ Cloud คือ ต้องสามารถสื่อสารกับกลุ่มผู้เรียนได้ในรูปแบบของข้อความ สามารถอำนวยความสะดวกในการจัดการ การนัดหมายเพื่อทำการเรียนการสอนผ่านระบบปฏิทินต่าง ๆ ได้ สามารถจัดเก็บและแลกเปลี่ยนเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้ สามารถจัดการเรียนการสอนในลักษณะของการประชุมผ่านวิดีโอได้ สื่อสารในลักษณะภาพและเสียงในระหว่างจัดการเรียนการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ ผู้สอนและผู้เรียนต้องสามารถแสดงภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนให้ผู้ที่อยู่ในการประชุมผ่านวิดีโอเห็นโดยทั่วกันได้ ต้องรองรับการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมบนซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนและผู้เรียน สามารถวาดและเขียน หรือพิมพ์โต้ตอบกันขณะประชุมผ่านวิดีโอได้ ต้องรองรับการบันทึกวิดีโอในการเรียนการสอน และจัดเก็บในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ รองรับการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย และสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลในการประชุมหารือเนื้อหาบทเรียนได้อย่างอิสระ รองรับการจัดทำรายงานแสดงรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมผ่านวิดีโอ เวลาเข้าและออกจากการประชุม มีความสามารถในการสร้างแบบสอบถาม คำถาม แบบฝึกหัด และคิดคะแนนของผู้เขียน ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึงระบบจัดการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้อุปกรณ์ในรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน และรองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น Microsoft Windows, OSX, Android, IOS ดังนั้น การเตรียมอุปกรณ์ในการจัดห้องเรียนแบบผสมผสานต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน กล้องเว็บแคม และอุปกรณ์ช่วยเขียน

บทเรียนการจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิดในประเทศอาเซียน ในเวทีเสวนา New normal School ครั้งที่ 2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Live เสวนา The New Normal School เรื่อง “การเรียนการสอน เครื่องมือเทคโนโลยี การสื่อสารและการเฝ้าระวังสุขภาพ”

Live เสวนา The New Normal School เรื่อง “การเรียนการสอน เครื่องมือเทคโนโลยี การสื่อสารและการเฝ้าระวังสุขภาพ”


ขอเชิญเข้าร่วมเสวนา ออนไลน์ เรื่อง “การเรียนการสอน เครื่องมือเทคโนโลยี การสื่อสารและการเฝ้าระวังสุขภาพ” 

ครั้งที่ 2 วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 16.30-18.30 น.

กำหนดการ

  • 16.30 น. Recap Scope & Meeting ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร

Session 1: การเรียนการสอน

  • 16.35-16.53 การปฏิบัติจริง การเรียนการสอน ประสบการณ์จากอุดมศึกษา ระดับ ม.ปลายและอาชีวศึกษา
    ดร.วิมลศรี ปรีดาสวัสดิ์ (มจธ.)
  • 16.50-17.05 การเรียนการสอน K-9
    ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล (สนก. สพฐ.)
  • 17.05-17.45 การปฏิบัติจริง (ประถม-มัธยม ในอาเซียน)
    ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ (สถาบันรามจิตติ)
    การเรียนการสอนระดับประถม-มัธยมต้นใน ร.ร. นานาชาติ Concordia International School
    ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ (มจธ.)
    กรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
    (เชิญโรงเรียนในกลุ่ม 1-2 โรงเรียน เสนอสิ่งที่เตรียม)

Session 2: เครื่องมือเทคโนโลยี การเรียนรู้ การสื่อสาร และการเฝ้าระวังสุขภาพ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ระดมเสวนา “การปรับตัวรับมือสถานการณ์ COVID-19 และก้าวเข้าสู่โรงเรียนวิถีใหม่ (New Normal School) อย่างไรดี” เปิดแนวทางปฏิบัติของโรงเรียนจากทุกมุมโลก เพื่อศึกษาความพร้อมสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และมาตรการรับมือเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ระดมเสวนา “การปรับตัวรับมือสถานการณ์ COVID-19 และก้าวเข้าสู่โรงเรียนวิถีใหม่ (New Normal School) อย่างไรดี” เปิดแนวทางปฏิบัติของโรงเรียนจากทุกมุมโลก เพื่อศึกษาความพร้อมสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และมาตรการรับมือเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย


ในการเสวนาผ่านระบบออนไลน์ หัวข้อ “การปรับตัวรับมือสถานการณ์ COVID-19 และก้าวเข้าสู่โรงเรียนวิถีใหม่ (New Normal School) อย่างไรดี”  จัดโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เพื่อสนับสนุนข้อมูลวิชาการเชิงนโยบาย แนวทางปฏิบัติจากประสบการณ์ทั่วโลก ในการปรับตัวรับมือสถานการณ์ COVID-19 และก้าวเข้าสู่โรงเรียนวิถีใหม่ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุมจากภาคการศึกษาและสาธารณสุข ประกอบด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นายกิตติศักดิ์ กวีกิจมณี ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย กลุ่มยุทธศาสตร์กำลังคนในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  ดร.ศิริวรรณ อาจศรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

การเสวนาระบุถึงรายงานการสำรวจของยูนิเซฟประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยเด็กนักเรียนได้รับผลกระทบ 13 ล้านคน นักศึกษาที่กำลังจะจบปริญญาตรีปีนี้ 300,000 คน จะมีโอกาสตกงาน ซึ่งทำให้จำนวนคนตกงานเดิมซึ่งมี 500,000 คน เพิ่มมากขึ้น สถิติการฆ่าตัวตายสูงมากขึ้น และจากการรายงานของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ยังระบุว่า มีโทรศัพท์เข้ามาเรื่องปัญหาสุขภาพจิตประมาณ 600 ครั้งต่อวัน จากเดิม 20-40 ครั้งต่อวัน

ในส่วนของสถานการณ์นานาชาตินั้น จากรายงานของ World Bank ระบุว่า 180 ประเทศปิดโรงเรียน จำนวนเด็กที่ไม่ได้เรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส สิ่งที่ควรดูแลคือโภชนาการอาหาร และการพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก ควรเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือ เช่น ให้เงินสนับสนุนเพื่อช่วยโภชนาการอาหาร ปรับตัวให้เป็นภาวะเร่งด่วนในการสอนทางไกล ช่วยเด็กที่มีความเสี่ยง เด็กที่ยากจนด้วยการบริหารจัดการให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียน เปลี่ยนความคิดและช่วยกันสร้างความเสมอภาค

ส่วนแนวนโยบายและการปฏิบัติ รายงานจากยูนิเซฟ ระบุว่าข้อมูลจาก 127 ประเทศ ร้อยละ 65 ใช้การสอนแบบผสมระหว่างทีวี วิทยุ และชุดกิจกรรมที่ไปทำที่บ้าน ใน 127 ประเทศใช้การสอนด้วยทีวี ร้อยละ 75 ดิจิทัล ร้อยละ 73 วิทยุ ร้อยละ 58 ชุดกิจกรรมไปทำที่บ้าน ร้อยละ 48  ครูไปที่บ้านนักเรียน ร้อยละ 7

ขณะที่ UNICEF เสนอให้มีกรอบการเปิดโรงเรียน และสิ่งที่ควรวางแผนคือ ความปลอดภัยทางสุขพลานามัย การช่วยนักเรียนและครูเรื่องการเรียนการสอน การช่วยเด็กกลุ่มด้อยโอกาส การช่วยทางด้านสภาวะจิตใจที่เกิดจากผลกระทบ และการปรับตารางสอนและกิจกรรม รวมถึงคำแนะนำให้ทำเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ “Remote Learning Decision Tree” เพื่อหาช่องทางที่เหมาะสมในการเรียนการสอน การใช้โซเซียลมีเดียเป็นช่องทางช่วยเหลือ เช่น จัด Facebook LIVE มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็ก วัยรุ่น ให้ความรู้กับพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก เพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยเด็ก มีคู่มือสำหรับโรงเรียน รวมถึงทำการสำรวจเพื่อฟังความเห็นเยาวชนว่ามีผลกระทบอย่างไร

การเสวนายังได้ชี้ถึงการกลับมาเปิดสถานศึกษาหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา 43 รัฐ และ วอชิงตัน ดีซี ได้รับคำแนะนำให้เปิดโรงเรียนอีกครั้งในปีการศึกษาหน้า ร้อยละ 16 ของกำลังแรงงานหรือคิดเป็น 26.8 ล้านคน การกลับไปทำงานจะไม่มีคนดูแลลูกในขณะโรงเรียนปิด การปิดโรงเรียนจะทำให้เด็กเปราะบาง และ ร้อยละ 19 ไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ ส่งผลให้มีผลการเรียนที่แย่ลง

ประเทศจีน ในการตัดสินใจกลับมาเปิดโรงเรียน ทางกระทรวงศึกษาธิการจะมีแนวทางกลางเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ให้อำนาจการตัดสินใจเป็นของหน่วยงานที่ควบคุมการแพร่ระบาดในจังหวัดนั้น ๆ โดยให้คำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพและแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม ซึ่งจะแบ่งกระบวนการพิจารณาเป็น 2 ระดับคือ พิจารณาจากเวลา โดยให้เปิดโรงเรียนได้หลังจาก 28 วันนับจากวันแรกที่ไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่ในพื้นที่ และพิจารณาจากข้อมูลสุขภาพและประวัติการเดินทางของนักเรียนและครูว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ในการกลับมาเปิดเรียน

ไต้หวัน มีความพร้อมที่จะเปิดและปิดโรงเรียนทุกเมื่อ หากครูหรือนักเรียนคนใดคนหนึ่งได้รับการยืนยันจากศูนย์ควบคุมโรคระบาดว่าติดเชื้อโควิด-19 ให้ชั้นเรียนนั้นหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว หากครูหรือนักเรียน 2 คนขึ้นไป ได้รับการยืนยันว่าสัมผัสกับโรค ให้ทุกชั้นเรียนในโรงเรียนหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว และหาก 1 ใน 3 ของโรงเรียนในเขตชุมชนหรือเมืองถูกปิดเนื่องจากการติดเชื้อ ให้ปิดโรงเรียนทุกแห่ง

ประเทศนอร์เวย์ สถานดูแลเด็กสามารถเปิดทำการใหม่ได้ หากสามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำการควบคุมการติดเชื้อ และผู้เป็นเจ้าของและลูกจ้างของสถานดูแลเด็กจะต้องผ่านการอบรมและได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องในการปฏิบัติเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในโปรแกรมการดูแลเด็กนอกเวลาเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในโปรมแกรมหลักสูตรวิชาชีพ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามข้อแนะนำในการควบคุมการติดเชื้อ จะต้องผ่านการอบรม เพราะฉะนั้นฝ่ายบริหารท้องถิ่น ผู้เป็นเจ้าของและลูกจ้างของโรงเรียนจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องในการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยที่รุนแรง นักเรียนที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ และนักเรียนที่อาศัยอยู่กับสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่จำเป็นต้องกลับเข้าเรียน ให้เรียนผ่านการเรียนการสอนทางไกล

ประเทศนิวซีแลนด์ มีมาตรการความพร้อมที่จะเปิดหรือปิดโรงเรียนได้ทุกเมื่อ หากพบว่าโรงเรียนมีผู้ติดเชื้อที่ยืนยันหรือกลุ่มเสี่ยง ต้องปิด 72 ชั่วโมง เพื่อสืบหาผู้ติดเชื้อและทำความสะอาด และอาจปิดต่ออีก 14 วัน แต่สามารถเปิดได้เพื่อจัดการเรียนทางไกล

ประเทศเดนมาร์ก จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในแต่ละห้องเรียนมีนักเรียนไม่เกิน 12 คน แต่ละกลุ่มมีครูเฉพาะ เน้นจัดการเรียนการสอนในพื้นที่เปิดโล่ง และต้องใช้ผู้ช่วยสอนมากขึ้น เพื่อสอนกลุ่มเล็ก

ประเทศเยอรมัน อนุญาตให้เปิดโรงเรียนบางส่วน ครูและนักเรียนต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น สวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อทำความสะอาด การเว้นระยะห่างทางสังคมเสมอในระยะ 1.5 เมตร

ประเทศญี่ปุ่น ยังไม่มีแผนการเปิดโรงเรียน โดยให้เรียนรู้ที่บ้านในช่วงปิดโรงเรียน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนเพิ่มโครงสร้าง ไอซีที ในโรงเรียนและให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้

สำหรับประเทศไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแนวทางจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โดยสำรวจความพร้อมของผู้ปกครองด้านอุปกรณ์การรับสัญญาณ การสื่อสารและด้านเวลาที่จะดูแลนักเรียน จัดกลุ่มความพร้อมนักเรียนอย่างน้อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีความพร้อม ร้อยละ 100 กลุ่มที่ 2 มีความพร้อมปานกลาง หรือร้อยละ 50 กลุ่มที่ 3 มีความพร้อมน้อยหรือไม่มีความพร้อม และให้เขตพื้นที่และโรงเรียนเข้าช่วยเหลือผู้ปกครองจัดระบบการสื่อสารและวิธีการ โดยใช้ความร่วมมือภายในพื้นที่

ส่วนแนวทางการสนับสนุนด้านสุขภาพของนักเรียน จะอยู่ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็ก ทางกระทรวงสาธารณสุขจะจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษารองรับสถานการณ์ ชี้แจงนโยบายการปฏิบัติของหน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ และจัดอบรมความรู้สุขอนามัยในโรงเรียน

ดังนั้น การจะปรับตัวรับมือสถานการณ์ COVID-19 และก้าวเข้าสู่โรงเรียนวิถีใหม่ (New Normal School) อย่างไรดีนั้น จะต้องเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์การระบาดของพื้นที่ มิติด้านความจำเป็นของเด็กและครอบครัว ความสามารถในการเข้าถึงการเรียนผ่านทางไกล ความพร้อมของครูและสถานศึกษา ศักยภาพในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย และแผนการเตรียมความพร้อมด้านการสาธารณสุข การสุขาภิบาล การเรียนรู้ และการประเมินรับมือกับความเสี่ยง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ขอเชิญเข้าอบรมออนไลน์ ”สอนออนไลน์ ทำได้อย่างไร สำหรับครูไทย”

ขอเชิญเข้าอบรมออนไลน์ ”สอนออนไลน์ ทำได้อย่างไร สำหรับครูไทย”


หัวข้อ ”สอนออนไลน์ ทำได้อย่างไร สำหรับครูไทย”
หากจะต้องสอนออนไลน์ ท่านพร้อมไหม แวะมาคุยกับเรา เพื่อ ร่วมกันคิด
ร่วมกันเตรียมความพร้อม วันที่ 5 พ.ค.2563 นี้ เวลา 10.00-11.00 น. 
ที่บ้านท่าน เข้าร่วมโดยใช้โปรแกรม ZOOM 

Topic: Training Meeting PMCA
Time: May 5, 2020 09:00 AM Bangkok
Join Zoom Meeting
https://mizzou.zoom.us/j/95919753569

จัดโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี