ผลการเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่องโรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1

ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ชี้ผลจากโควิด ทำโครงสร้างเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนแปลง บางธุรกิจอาจหดหายหรือปิดตัว ภาครัฐต้องประเมินการจ้างงานใหม่โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะมากที่กำลังตกงาน และต้องพัฒนาคนให้พร้อมกับโลกดิจิทัล ด้านการเรียนการสอนพัฒนาเด็กแต่ละวัยเรียนต้องสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ ลดข้อจำกัดจากครูผู้สอน ระบบการบริหารการศึกษาที่ขาดความพร้อมและไม่ทันสมัย และยังต้องให้ความสำคัญกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำอย่างโควิด 19 เพิ่มมากขึ้นอีก

ตามที่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3 เรื่อง โรงเรียนวิถีใหม่ (The New Normal School) ว่าด้วยการเตรียมการเปิดโรงเรียนในสถานการณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 16.30 – 19.00 น. ด้วยโปรแกรม ZOOM ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายแพทย์ ศราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ผศ.ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.ตุลย์ ไตรยสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ชวิน จันทเสนาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย ดร.พีรานุช ไชยพิเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ครูพูลศักด์ เสนฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ดร.พิศณุ ศรีพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยคณะทำงาน วิทยากร และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้งสิ้น 219 คน โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นผู้ดำเนินการการเสวนา

จากการเสวนาครั้งนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้กล่าวในการเสวนาครั้งนี้โดยได้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่เกิดจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเหลื่อมล้ำในภาพรวมของคนไทย โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว รายได้ การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การอยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมในภาพรวม และในระดับชุมชนต่าง ๆ ของคนไทย

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจหรือรายได้ในระดับวิกฤติและต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ในการกู้คืน (Recovery) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว การบิน การโรงแรม กิจการตามสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มธุรกิจส่งออกเกือบทั้งหมด ยกเว้นอาหารและเวชภัณฑ์

ภาพรวมเศรษฐกิจของไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5  ในไตรมาสที่ 4/62 แนวโนม้เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดวา่จะปรับตัวลดลง -6.0 ถึงร้อยละ -5.0 มูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ -8.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทนุรวมปรับตัวลดลงร้อยละ -1.7 และร้อยละ -2.1

ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมภายนอกประเทศ อันเกิดจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่สำคัญนั้น สหประชาชาติ (United Nation Department of Economic and Social Affair) รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลก จากผลิตภัณฑ์มวลรวมที่คาดการณ์จะเติบโตในปี 2563 ที่ 3.2 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าผลจากโควิด-19 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกจะติดลบที่ร้อยละ -5.0 เป็นอย่างน้อย มูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกจะหดตัวร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 32  disrupting global นอกจากนี้ มีมากกว่า 100 ประเทศใช้มาตรการ “ล็อกดาวน์” หรือ ปิดประเทศ เพื่อสกัดกั้นการระบาดตั้งแต่เดือนมีนาคมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยุติลงด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลต่อซัพพลายเชน และการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าเกิดการยกเลิกคำสั่งซื้อจนถึงยุติการผลิตและส่งออก เนื่องจากขาดวัตถุดิบและไม่สามารถจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศได้ ยกเว้นเวชภัณฑ์สำคัญและอาหาร

จากรายงานการศึกษาล่าสุดของ International Labor Organization พบว่าแรงงานที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั่วโลกประมาณ 1.25 พันล้านคน ทั้งถูกให้ออกจากงาน ลดค่าจ้างรายเดือน แรงงานรายวัน โดยส่วนมากของแรงงานดังกล่าวเป็นแรงงานที่รายได้น้อย และแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะสูง (Low-skilled labor) ได้รับผลกระทบต่อรายได้อย่างหนัก

ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลก ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2563 ทั่วโลกจะมีสัดส่วนประชากรยากจนอยู่ประมาณ 7.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันเมื่อเกิดโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกยากจนลง หรือมีกลุ่มประชากรยากจนเพิ่มขึ้นมาเป็น 8.6 เปอร์เซ็นต์ หรือส่งผลให้เกิดคนยากจนเพิ่มขึ้น 49 ล้านคน รวมเป็นคนที่ยากจนทั้งสิ้นประมาณ 665 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวน 49 ล้านคนที่ยากจนเพิ่มขึ้นที่มีรายได้น้อยกว่า 1.9 เหรียญสหรัฐ หรือ 60 บาทต่อวัน มากสุดในประเทศทวีปแอฟริกา รองลงมาเป็นเอเชียใต้และประเทศเอเชียแปซิฟิก รวมประเทศไทย

ผลกระทบต่อการศึกษา UNESCO ประมาณการว่าโควิด-19 ส่งผลต่อผู้เรียน นักเรียน นิสิตนักศึกษา มากถึง 1.725 พันล้านคนทั่วโลก โดยโรงเรียนจำเป็นต้องปิดมากกว่า 153 ประเทศ มีเพียง 10 ประเทศที่ปัจจุบันมีการเปิดหรือเพิ่งเปิด คิดเป็นร้อยละ 98.6 ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานศึกษาทั่วโลก ผลกระทบจากการปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่อระบบการศึกษา ผู้เรียน รวมถึงผู้สอนและครอบครัว ได้แก่ Distance learning เช่น โรงเรียน สถานศึกษาใช้การสอนแบบ On-line และ On-air รวมถึงใช้ Application ประชุมและสอน On-line เช่น MS-Team, Zoom, WebEx, Facebook Live, Line เป็นต้น

Childcare หรือสถานรับเลี้ยงเด็กต้องปิด ส่งผลให้ครอบครัวที่ปกติจะนำบุตรหลานมายังสถานรับเลี้ยงเนื่องจากจำเป็นต้องทำงานหารายได้ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย และทำให้เด็กก่อนวัยเรียนขาดพัฒนาการได้

Health Nutrition and food security: เด็กเล็กที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพ อาหาร และโภชนาการที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ได้รับผลกระทบอย่างมาก อันเนื่องจากต้องอยู่บ้าน ไม่ได้รับการดูแลจากโรงเรียน หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่มีรายได้น้อย หรือครอบครัวที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะของเด็ก

Special education services: การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การได้ยิน หรือบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้รับผลกระทบใน การช่วยเหลือและได้รับการพัฒนาการจากผู้เชี่ยวชาญหรือทางโรงเรียนไปด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมจากเดิมคือการให้ความสำคัญกับค่านิยมที่ตระหนักถึงภัยจากโรคระบาดที่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั้งประเทศ ซึ่งประชาชนและชุมชนต้องมีวินัย เสียสละ ตระหนัก และให้ความร่วมมือกับภาครัฐและส่วนรวม ค่านิยมในเรื่องความปลอดภัยของคนในชาติอาจจะกระทบต่อความเคยชิน หรือสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเช่น Social Distancing หรือ Contact tracking หรือ New Normal ต่าง ๆ เป็นต้น

ผลจากโควิด ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง บางธรุกิจอาจหดหายหรือปิดตัวไป ภาครัฐจำเป็นจะต้องมีการประเมินอนาคตการจ้างงานใหม่ จำเป็นต้องพัฒนาคนให้พร้อมกับโลกดิจิทัล และการทำงานแบบ WFH ในโลก “New Normal” ซึ่งจะกระทบกับแรงงาน Low-Skilled labor อย่างมาก และต้องลำดับความสำคัญในเรื่อง Digital Literacy  และ Health literacy ให้มีความสำคัญและเด่นชัดมากขึ้นกว่าแผนเดิม

พัฒนาการเรียนการสอนแบบผสม หรือ Mixed learning ทั้ง At-school On-line On-air In Village At Home ให้เหมาะสมกับ New Normal และพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเรียน สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ และลดข้อจำกัดจากครูผู้สอน ระบบการบริหารการศึกษาที่ขาดความพร้อมและไม่ทันสมัย และยังต้องให้ความสำคัญกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำอย่างโควิด 19 เพิ่มมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรและบคุลากรในระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยในเรื่องยา เวชภัณฑ์ และอปุกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เสริมสร้างเรื่อง Health literacy ให้กับประชาชนและชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสภาพแวดล้อมในสังคมต่าง ๆ หรือ Healthy environment ส่งเสริมการออกกำลัง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง