เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 สุดยอดครู 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์- เลสเต  รมว.ศธ. ห่วงความรู้ถดถอยของผู้เรียน ย้ำมาตรการก่อนเปิดภาคเรียนโรงเรียนต้องมีอิสรภาพ ออกแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ครูประทินเผยบทบาทของครูในยุคโควิด-19 การศึกษาต้องยืดหยุ่น กระชับหลักสูตร พบหัวใจความเป็นครูลงพื้นที่เอาความรู้ไปถึงตัวเด็กเมื่อออนไลน์เข้าไม่ถึง

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในงานแถลงข่าวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 บทบาทความเป็น ‘ครู’ ในยุคโควิด-19 โดยมี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ร่วมแสดงความยินดีแก่ครูผู้ได้รับรางวัล 

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์  และมีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาในประเทศอาเซียนและติมอร์ เลสเต รวม 11 ประเทศ ประเทศละ 1 รางวัล โดยจัดมอบรางวัลในทุก 2 ปี และเพื่อถวายเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักการศึกษา โดยความร่วมมือของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

ประกาศ รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

สำหรับครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มาจากการคัดเลือกของกระทรวงศึกษาธิการในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ทั้ง 11 ประเทศ โดยมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา ประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีกำหนดพิธีพระราชทานรางวัล ในวันที่ 29 ตุลาคมนี้ ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้

  1. บรูไน ดารุสซาลาม เปองีรัน ฮาจี โมฮัมหมัด วาฮับ บิน เปองีรัน ฮาจี อับดุลละฮ์ สอนวิชาศิลปะการประกอบอาหาร ที่ School of Hospitality and Tourism, IBTE Sultan Saiful Rijal Campus สายอาชีพ มีประสบการณ์และทักษะการสอนกว่า 20 ปี  เป็นผู้นำในการจัดหลักสูตรการปรุงอาหารและการบริการแบบมืออาชีพ จัดทำหลักสูตรการบริหารจัดการอาหารแบบครบวงจร
  2. กัมพูชา นายณอน ดารี สอนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียน Quach Mengly Toulbeng, จังหวัด Kampong Cham เริ่มใช้การบูรณาการการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและทำวิจัยในชั้นเรียนโดยให้ความสำคัญกับทักษะและการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นสำคัญ
  3. อินโดนีเซีย  น.ส.คอรีอิยะฮ์ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา SMP Negeri 32 Bandar Lampung จังหวัด Lampung นับเป็น“Resource Person”ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม “Webinar”จากกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม
  4. สปป ลาว นางแสงเพ็ด คูนปะเสิด หัวหน้าวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมศึกษาอุดมไซ (Oudomxay) สอนวิชาฟิสิกส์และพัฒนาหลักสูตรการสอนในระดับ ม.ปลาย และเผยแพร่ให้กับโรงเรียนอีก 14 แห่งที่เมืองไซ (Xay) เป็นวิทยากรระดับจังหวัดในวิชาวิทยาศาสตร์และมีงานเขียนเอกสารทางวิชาการ
  5. มาเลเซีย นายโนร์ฮาอิลมี อับดุล มูตาลิบ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษา SMK Jerlun รัฐเคดาห์ ครูต้นแบบการสอน STEM ศึกษาระดับประเทศ ได้รับการเสนอให้เป็น “Master Trainers for Inquiry-Based Science”  ในระดับประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการสอนแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  6. เมียนมา นายจอร์ ซิน ออง ครูผู้ช่วยสอนอาวุโส (Senior Assistant Teacher) และสอนภาษาอังกฤษที่  No.8 Basic Education Middle School เมืองลาโชว์ รัฐฉาน ได้รับรางวัลครูดีเด่นระดับโรงเรียน และรางวัล Outstanding Teacher Award ระดับรัฐ
  7. ฟิลิปปินส์ นายมาเซโล ที โอทินเควท หัวหน้าครูในระดับพื้นที่ 5 โรงเรียน Governor Bado Dangwa Agro-Industrial, Kapangan, Benguet ผู้ประสานงานเก็บรวบรวมเอกสารคลังข้อมูลชนพื้นเมือง และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนในหลายบริบท
  8. สิงคโปร์  นายหยก จูน เม็ง หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษและสังคม โรงเรียนประถมศึกษา Yu Neng นำ ICT เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ บูรณาการการคิดและวิเคราะห์ การใช้ Coding และมีการทำแผนภาพการใช้ ICT บูรณาการกับโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน
  9. ติมอร์-เลสเต นายวีเซ็นเต มาร์กัล ดา ซิลวา ผู้อำนวยการและสอนภาษาอังกฤษ–โปรตุเกส โรงเรียน Ensino Central Tirilolo Baucau (The Central Basic School of Tirilolo Baucau Vila) มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกีฬาในโรงเรียน และการฝึกอบรมครูและนักเรียนของประเทศ
  10. เวียดนาม  น.ส.ฮ่า หัน เฟื่อง สอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมศึกษา Huong Can จังหวัด Phu Tho พัฒนาการเรียนการสอนแบบห้องเรียนไร้พรมแดนให้เด็กนักเรียนบนพื้นที่สูงและเด็กชนเผ่า และบูรณาการวิชาภาษาอังกฤษเข้าไปในการเรียนการสอน เชื่อมโยงกับสังคมยุคใหม่ด้วยแนวคิดการเป็นพลเมืองโลก
  11. ไทย น.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ สอนวิชาการตลาดและเศรษฐศาสตร์ ระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนแผนธุรกิจ เป็นที่ปรึกษาธุรกิจของผู้เรียนอาชีวศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ “บางพัฒน์โฮมสเตย์” ที่ดำเนินการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ โดยครูที่ได้รับรางวัลคุณากร ปี 2564 จำนวน 3 ราย คือ น.ส.กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ร.ร.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ครูผู้เติมเต็มศักยภาพให้แก่ลูกศิษย์ที่หลากหลายวิธี โดยเชื่อว่าทุกคนเป็นดาวเด่นในตัวเอง นางสุมิตรา กลิ่นบุบผาร.ร.บ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร แม่ครูที่ทำให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์อ่านออกเขียนได้ และไม่เคยทอดทิ้งนักเรียนและชุมชน  และนายสิทธิชัย จันทร์คลาย ร.ร.บ้านไทยสามัคคี จ.สระแก้วครูผู้ใช้ศิลปะเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์สู่การพัฒนาความถนัดของผู้เรียน

ประกาศ รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลคุณากร รางวัลครูยิ่งคุณ และรางวัลครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 4 ปี 2564

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าขอแสดงความยินดีกับครูที่ได้รับรางวัลและประทับใจในความทุ่มเท เสียสละ ไม่ว่าลูกศิษย์จะมีต้นทุนชีวิตที่ต่างกันอย่างไรแต่ครูมองเห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในลูกศิษย์ สามารถสร้างให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้ บทบาทของความเป็นครูในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกที่ 3 เป็นโจทย์ท้าทายที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของลูกศิษย์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และความปลอดภัยของผู้เรียนแล้ว ก็ต้องดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเพื่อนครูด้วยกันอีกด้วย สิ่งที่ตนห่วงใยคือ ปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยของผู้เรียน หรือ learning loss ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย อันเป็นผลมาจากการใช้มาตรการการจัดการศึกษาเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการปิดโรงเรียน และใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนทางไกลควบคู่กับการเรียนในสถานที่ สิ่งนี้อาจทำให้นักเรียนเกิดภาวะ Learning Loss หรือความรู้ที่หายไป ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

“ความห่วงใยที่เกิดขึ้นจึงขอฝากแนวคิดการจัดการศึกษาภายใต้หลักความปลอดภัยของครูในยุคโควิด-19 ไว้ 4 ประการ คือ 1. ครูต้องหมั่นสำรวจความพร้อมของผู้เรียน เพื่อวัด Learning loss และดำเนินการเติมเต็มช่องว่างการเรียนรู้ที่หายไป ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ เพื่อเติมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. การหมั่นสำรวจสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของผู้เรียนและเพื่อนครู 3. การติดตามข้อมูลผลกรทบทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และ 4. การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในชีวิตและการเดินทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อความปลอดภัยจากการระบาดของเชื้อ และเพื่อให้โรงเรียนรู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อออกแบบแนวทางแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทั้ง 4 ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ โรงเรียนต้องมีอิสรภาพในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตามบริบทสถานการณ์ในพื้นที่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว

สำหรับบทบาทของครูในยุคโควิด-19 น.ส.ประทิน กล่าวว่า จากประสบการณ์ระบาดเมื่อปีที่แล้วทำให้ครูต้องเปลี่ยนบ้านเป็นโรงเรียน การศึกษาต้องมีความยืดหยุ่น โดยการเรียนออนไลน์ไม่เกิน 2 วิชาต่อ 1 วัน ซึ่งต้องบูรณาการวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน ครูต้องกระชับหลักสูตรสอนเนื้อหาที่ต้องรู้ ส่วนเนื้อหาที่ควรรู้ก็ปรับรูปแบบเป็นใบงานให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อฝึกปฏิบัติจากสิ่งใกล้ตัว อย่างไรก็ตามสถานการณ์สึนามิเกิดขึ้นครั้งเดียวแต่การระบาดของโควิดส่งผลกระทบถึง 3 ระลอก ซึ่ง จ.พังงา เป็นเมืองท่องเที่ยวและได้ผลกระทบทำให้ลูกศิษย์ที่ยากจนที่สุดที่ได้รับทุนนวัตกรรมสายอาชีพและเรียนสาขาการท่องเที่ยวกังวลเรื่องการมีงานทำเมื่อจบมา ครูจึงต้องสร้างความมั่นใจและสอนให้ติดตามข่าวสารเพื่อให้ปรับตัวได้เร็ว

     นางสุมิตรา กล่าวว่า บ้านโละโคะเป็นพื้นที่ 2 ชนเผ่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้พูดภาษาไทย การปิดเทอมที่ยาวนานทำให้การรู้ภาษาไทยหายไป คณะครูจึงต้องออกมาสอนตามบ้านและให้ใบงานเพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าหมู่บ้านได้ครูก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในหมู่บ้าน ทำตัวให้ปลอดเชื้อเป็นตัวอย่าง เก็บตัว สวมหน้ากากอยู่ตลอดเวลา

น.ส.กล่อมจิต กล่าวว่า การสอนผ่านออนไลน์ที่ผ่านมาเกิดช่องว่างการเรียนรู้ พบว่าเด็ก ร้อยละ 60เข้าห้องเรียน อีกร้อยละ 40 ไม่สามารถเข้าห้องเรียนได้ เพราะบางคนเรียนออนไลน์ผ่านมือถือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ขาดอุปกรณ์ สถานที่ไม่เอื้อต่อการเรียน และอีกกลุ่มคือขาดความรับผิดชอบ ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนก็ขาดความเข้าใจ ซึ่งการแก้ปัญหาเด็ก ร้อยละ 40 ที่หายไป จึงพัฒนา“ศูนย์เรียนรู้ประจำชุมชน” โดยมีอาสาสมัครและครูเข้าไปจัดการสอนในชุมชน

   ขณะที่นายสิทธิชัย กล่าวว่า การสอนออนไลน์ที่ผ่านมาไม่ได้ผล เพราะเด็กที่มีโทรศัพท์ไม่ถึง ร้อยละ 20 และผู้ปกครองขาดรายได้ จึงปรับรูปแบบการสอนด้วยการบูรณาการวิชาเรียนในรูปแบบโครงงาน เช่น การเรียนเรื่องสี่เหลี่ยมที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ ศิลปะ และภาษาไทย โดยสอน 2 รูปแบบทั้งออนไลน์และการแจกใบงานสำหรับเด็กที่เข้าไม่ถึงออนไลน์    

ภาพประกอบข่าว

NameSizeHits
NameSizeHits
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 11 ประเทศและติมอร์เลสเต3.7 MiB11410
ทำเนียบครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 4 ปี 2564134 MiB1839
ประกาศ รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลคุณากร รางวัลครูยิ่งคุณ และรางวัลครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 4 ปี 25642.3 MiB31267
ประกาศ รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 25640.4 MiB10830

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ยะลา เปลี่ยนโรงเรียนเป็นโรงงาน ระดมครูและนักเรียนทำหน้ากากอนามัยและเฟสชิลป้องกันโควิด-19

ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ยะลา เปลี่ยนโรงเรียนเป็นโรงงาน ระดมครูและนักเรียนทำหน้ากากอนามัยและเฟสชิลป้องกันโควิด-19

ครูสุเทพ เท่งประกิจ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี พ.ศ.2562 ครูนักพัฒนาผู้มีความมุ่งมั่นและเสียสละจากโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส จังหวัดยะลา ท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม ครูสุเทพ ได้ใช้ภาษามลายูสร้างความสัมพันธ์ไทยมุสลิมและเข้าถึงคนในชุมชน อีกทั้งจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่และศูนย์ช่างเศรษฐกิจพอเพียง จนมีลูกศิษย์ประสบความสำเร็จจำนวนมาก
ล่าสุด ครูสุเทพ เท่งประกิจ ได้เปลี่ยนโรงเรียนเป็นโรงงาน ระดมครูและนักเรียนจัดทำหน้ากากอนามัยและเฟสชิวสำหรับป้องกันโควิด-19 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเรียน

 

 

แนวทางการเปิดภาคเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 วันที่ 2 มิ.ย 2563

แนวทางการเปิดภาคเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 วันที่ 2 มิ.ย 2563


กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา กรมสามัญศึกษา นครหลวงเวียงจันทร์  กำหนดแนวปฏิบัติช่วงโควิด-19 ดังนี้

การปฎิบัติ หลักสูตร ช้้นประถมศึกษาปีที่ 1-4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ภายหลังเปิดโรงเรียนคืนใหม่ ปีการศึกษา 2563-2564 รายละเอียดโดยย่อดังนี้

  1. การเปิดโรงเรียนคืนใหม่ สำหรับ ชั้น ช้้นประถมศึกษาปีที่ 1-4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6 นั้น ให้ต่อเนื่องการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2563
  2. มาตรการสำหรับการเปิดโรงเรียน
    2.1 ให้ปฎิบัติ ตามประกาศของ สำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับเลขที่ 580/หนย ลงวันที่ 15 พ.ค. 2563 เกี่ยวกับการดำเนินงาน ปฎิบัติ ตามมาตรการผ่อนผัน  และมาตรการป้องกัน ควบคุม สกัดกั้น และแก้ไข การระบาดของเชื้อโรค Covid-19 ในระยะตั้งแต่ 18 พ.ค. 2563 ถึง 1 มิ.ย 2563
    2.2  ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของคณะเฉพาะกิจ ป้องปัน ควบคุมและแก้ไข การระบาดของเชื้อโรค  Covid-19 กระทรวงศึกษาธิการ และกีฬา ฉบับเลขที่  466/สก ลงวันที่ 17 พ.ค. 2563
    2.3 ให้ปฎิบัติตามประกาศ ระเบียบ มาตรการ ของคณะเฉพาะกิจ อย่างเข้มงวด
  3. การเว้นระยะห่าง
    3.1  สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนน้อย ให้จัดการเรียนการสอนปกติ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยรับประกันที่นั่งของนักเรียน  ให้มีระยะห่าง 1 เมตร ขึ้นไป ถ้าห้องเรียนใด มีจำนวนนักเรียน กว่า 30 คนขึ้นไป ให้แยกออกเป็น 2 หรือ หลายห้อง และจัดสอนอย่างเหมาะสม
    3.2 สำหรับ โรงเรียนขนาดกลาง ที่มีจำนวนนักเรียนมากให้แต่ละชั้นเรียนผลัดเปลี่ยน วันเรียน เพื่อรับประกันที่นั่งเรียนของนักเรียน ให้มีระยะห่าง 1 เมตร ขึ้นไป ถ้าห้องเรียนใด มีจำนวนนักเรียน กว่า 30 คนขึ้นไป ให้แยกออกเป็น 2 หรือ หลายห้อง และจัดสอนอย่างเหมาะสม รายละเอียดดังนี้
  • ประถมศึกษาปีที่ 1,4  มัธยมศึกษาปีที่ 1,3, 5  เข้าเรียน  ในวัน จันทร์  พุธ  ศุกร์
  • ประถมศึกษาปีที่ 2-3 มัธยมศึกษาปีที่ 2,6 เข้าเรียน  ในวันอังคาร  พฤหัส  เสาร์
  • ประถมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 4,7  เข้าเรียน    วันจันทร์ถึงวันศุกร์

    3.3 จัดเวลามาโรงเรียน  เลิกเล่น และเลิกเรียนของแต่ละชั้นเรียนให้แตกต่าง และห่างกัน 15 นาที

4. ระยะเวลาปฎิบัติหลักสูตร การปฎิบัติหลักสูตร
ชั้นประถมศึกษา ขั้น ป.1-ป.4 และชั้นมัธยมศึกษา ขั้น ม.1-ม.3  ม.5-ม.6 ได้กำหนดระยะเวลาเดียวกันดังนี้

– วันที่ 2 มิ.ย 2563  เริ่มดำเนินการเรียน-การสอน  ถึงวันที่ 10 ก.ค 2563

– วันที่ 13-17 ก.ค. 2563 บทวนบทเรียน และจัดสอบภาคเรียนที่ 2

– วันที่ 3 -7 สิงหาคม 2563 จัดสอบย้อนหลัง เฉพาะ วิชาที่นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยประจำปีลด ตามที่คาดหมาย ( ลด 5 )

– ท้ายเดือน สิงหาคม 2563 จะสรูปปีการศึกษา

 

ลงนาม นางศรีศุกร์  วงวิจิตร

อธิบดีกรมสามัญ

ครูติมอร์-เลสเตใช้สื่อการสอนทางไกล บูรณาการความรู้สอนเด็ก “เรียนที่บ้าน”

ครูติมอร์-เลสเตใช้สื่อการสอนทางไกล บูรณาการความรู้สอนเด็ก “เรียนที่บ้าน”

ผลพวงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษาที่หันมาเน้นการเรียนทางไกลจากที่บ้าน โดยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2562 ประเทศติมอร์-เลสเตได้มีบทบาทสำคัญในการเป็น “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ และการสอนทางไกล” ให้กับเด็กๆและครูชาวติมอร์ฯ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่ว รัฐบาล 191 ประเทศทั่วโลก ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน (มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศมิมอร์-เลสเต ที่แม้จะมีตัวเลขของผู้ติดเชื้อไม่มากและไม่มีผู้เสียชีวิต แต่รัฐบาลประเทศติมอร์-เลสเตก็คอยเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างจริงจัง  โดยที่กระทรวงศึกษาธิการของประเทศติมอร์-เลสเตเองมีนโยบายสั่งปิดสถานศึกษาและใช้มาตราการ “เว้นระยะห่างทางสังคม” (Social distancing) การดูแลพื้นที่ในเขตต่างๆ นโยบายส่งเสริมการศึกษาทางไกล สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำงานที่ “บ้าน” และจัดการเรียนการสอนที่ใช้ “บ้านเป็นที่เรียน” เพื่อให้เด็กๆ ชาวติมอร์ฯได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆที่จำเป็นโดยไม่ต้องเดินทางมาโรงเรียน

[KGVID]http://www.pmca.or.th/thai/wp-content/uploads/2020/05/timormamalu.mp4[/KGVID]
วีดิทัศน์การสอนของครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ  (Ms. Lourdes Rangel Goncalves)
โดยความร่วมมือของยูนิเซฟ
ที่มา: 
https://www.facebook.com/mejd1823/videos/656245525217854/

ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ  (Ms. Lourdes Rangel Goncalves)  ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 หรือ “มาม่าลูร์” แห่งโรงเรียนประถมศึกษามาตาตา ฟิเลีย เมืองเอเมร่า เล่าว่า โดยปกติโรงเรียนประถมศึกษามาตาตา ดูแลเด็กนักเรียนซึ่งมีบริบทอยู่ในพื้นที่ภูเขา มีความห่างไกลด้อยโอกาส เด็กๆ ส่วนใหญ่ต้องเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนอย่างน้อย 1-3 กิโลเมตรเพื่อมาโรงเรียน ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้เองที่รัฐบาลได้มีมาตรการล็อคดาวน์และปิดสถานการณ์ศึกษาชั่วคราว โดยปรับแนวทางให้เน้นให้จัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อให้เด็กจำนวนมากที่อยู่บ้านสามารถดูแลตัวเองและเรียนรู้จากที่บ้านได้

ครูลูร์เดสเล่าว่า การปิดสถานศึกษาชั่วคราวนี้เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะที่โรงเรียนปิดนี้ ครูของโรงเรียนต้องปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ เพราะโดยปกติโรงรียนประถมศึกษามาตาตาแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “โรงเรียนเพื่อนเด็ก” (Child–Friendly School) ของยูนิเซฟในโรงเรียน ซึ่งเน้นให้โรงเรียนให้เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและสร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็ก ทำให้ครูจึงสามารถเข้าถึงเด็กและผู้ปกครองของเด็กทุกคนได้ ดังนั้นในสถานการณ์วิกฤตนี้ การทำงานกับครอบครัวและชุมชนจึงยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นช่วงที่การเรียนรู้ที่บ้านมีความหมายมาก ทุกบ้านต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง พ่อแม่ช่วยติดตามสถานการณ์และสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กๆ ผ่านการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่ง่ายที่สุดสำหรับพ่อแม่ เช่น ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชน จดหมายข่าว โทรศัพท์ โทรทัศน์ ซึ่งครูใหญ่ ครูและเพื่อนครูต่างร่วมมือกันกับพ่อแม่ทำงานในการดูแลช่วยเหลือและการเรียนรู้กันอย่างเต็มที่

ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับ ยูนิเซฟออกแบบการจัดการสอนทางไกลผ่านโทรทัศน์และออนไลน์ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเรียนที่บ้านได้ผ่าน TVTL และ GMN-TV ซึ่งเป็นรายการทางการศึกษาที่ผลิตขึ้นสำหรับการจัดการเรียนรู้ทางไกลในสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะ โดยมีครูลูร์เดสและคณะครูจากที่ต่างๆ มาร่วมเป็นออกแบบการสอนและครูผู้สอนในรายการด้วย โดยจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์มีความยาวแต่ละตอนประมาณ 30 นาที ที่เด็กๆจะสามารถเรียนรู้แบบบูรณาการและฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมในวิชาสำคัญๆ ทั้งภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี ฯลฯ โดยครูลูร์เดสเองมีบทบาทในการรับผิดชอบการออกแบบการสอน “ทวิภาษา” ในภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกส ซึ่งออกแบบให้สำหรับเด็กประถมศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีในช่วงวิกฤตนี้ โดยคณะครูได้ร่วมกันออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมให้สนุกสนาม เน้นว่า ทำอย่างไรที่การจัดการเรียนรู้จะเป็นเรื่องที่เด็กๆ สามารถดูสื่อ เรียนรู้และฝึกลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆกันได้และสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริงได้ โดยมีผู้สนับสนุนการออกแบบและผลิตรายการโดยยูนิเซฟและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกัน

ความท้าทายของการจัดการเรียนทางไกลที่ติมอร์-เลสเตนั้น ครูลูร์เดสมองว่า เดิมทีการเปิดภาคเรียนการศึกษาจะเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้การเปิดภาคการศึกษาเลื่อนออกไปเดือนสิงหาคม ซึ่งในระหว่างนี้นอกจากครูจะต้องออกแบบการสอนเพื่อจัดทำรายการโทรทัศน์แล้ว ยังคงต้องเตรียมความพร้อมความปลอดภัย การบริหารจัดการและออกแบบการจัดการเรียนการสอนเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย

สถาบันรามจิตติ รายงาน
ภาพ :  ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ
ภาพ/วิดีทัศน์ : Ministério da Educação, Juventude e Desporto

วิธีการเสนอชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔

วิธีการเสนอชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔

การเสนอชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ต้องทำอย่างไร
ประชาชนทั่วไป เสนอชื่อครูแบบออนไลน์
ได้ที่นี่>>

ประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนและเสนอชื่อแบบออนไลน์ได้ที่นี่>>

 

การเสนอชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

แผนปฏิบัติการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

 

คู่มือการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

 


ปรับปรุงล่าสุด 12 ส.ค. 2563

ประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนและเสนอชื่อแบบออนไลน์ได้ที่นี่>>

NameSizeHits
NameSizeHits
13. การเสนอชื่อและเกณฑ์การตัดสิน ประจำปี พ.ศ. 2564
1. แบบฟอร์ม-องค์กรภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา (บ.๑)0.1 MiB3012
2. แบบฟอร์ม-ลูกศิษย์ (บ.๒)0.1 MiB2839
3. แบบฟอร์ม-คณาจารย์ (บ.๓)82 KiB1816
4. แบบบันทึกความโดดเด่น-กก.จว.เสนอ กก.ส่วนกลาง (บ.๔)0.1 MiB2112
5. หลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ ๔ ปี ๒๕๖๔ (ประเทศไทย)0.2 MiB16216
6. คู่มือหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พ.ศ. 25641.3 MiB17743
7. แผ่นพับประชาสัมพันธ์19.8 MiB2221
ขอเชิญเข้าอบรมออนไลน์ ”สอนออนไลน์ ทำได้อย่างไร สำหรับครูไทย”
แนวทางการเปิดโรงเรียนของประเทศสิงคโปร์ รับมือโควิด-19 ช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2563

แนวทางการเปิดโรงเรียนของประเทศสิงคโปร์ รับมือโควิด-19 ช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2563

กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ วางแผนเตรียมการเปิดโรงเรียนใน วันที่ 1 มิถุนายน 2563  เพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 โดยมีการกำหนดให้นักเรียน จำนวน 3 กลุ่ม มาเรียนในวันที่  19 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้นักเรียนได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียนดังนี้

  • กลุุ่มที่ 1 ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับวิทยาลัย และระดับเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย
    เนื่องจากกลุุ่มนี้เป็นนักเรียนที่จะต้องเข้ารับการทดสอบระดับชาติ (National Exams)
  • กลุุ่มที่ 2 นักเรียนต้องมีการเรียนรูู้แบบฝึกปฏิบัติ  (Hands-on skill) ที่จำเป็นต้องมาลงมือปฏิบัติ
  • กลุุ่มที่ 3 นักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรูู้ และต้องการเรียนการสอนแบบพบกันในชั้นเรียน (Face-to-face)
    โดยจะให้โรงเรียนเป็นผู้ระบุว่านักเรียนคนใด มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ดังกล่าว ก็จะให้เชิญเฉพาะนักเรียนคนนั้นหรือกลุ่มนั้นมาเข้าแบบกลุ่มเล็ก (Catch-up sessions)การจัดการเรียนการสอนช่วงเตรียมความพร้อม ยึดปฏิบัติตามมาตรการในลักษณะ “Careful and Calibrated Manner” ดังนี้
    1. นักเรียนและครูทุกคนจะต้องใช้งาน “TraceTogether”  ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามผู้เรียนได้ว่านักเรียนและครู ได้เดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยงหรือไม่
    2. โรงเรียนจะมีจัดเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกระบวนการ “SafeEntry protocol” ซึ่งเป็นการ
    ตรวจสอบความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน และเก็บข้อมูลการเข้า-ออกของนักเรียนอย่างเคร่งครัด
    3. จัดเวลาให้นักเรียนมาโรงเรียนเหลื่อมกัน สลับกัน โดยจะไม่ให้มาวัน-เวลาพร้อมกัน
    4. ใช้วิธีการเรียนแบบตัวต่อหัว หรือกลุ่มเล็ก เท่านั้น
    5. จัดห้องให้มีระบบระบายอากาศ หมุนเวียนอากาศตลอดเวลา
    6. จัดห้องให้ระบุที่นั่งแน่นอน กำหนดชื่อคนและที่นั่งให้ตายตัว ห้ามย้ายที่นั่ง
    7. ห้ามโรงเรียนจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรค
    8. วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ตามระยะเวลาที่กำหนด
    9. นักเรียนและครูทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย
    10. ให้นักเรียนมาโดยสมัครใจ ไม่บังคับ
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายครูรางวัลนำความรู้สู่โรงเรียนก้าวทันเทคโนโลยี ปรับสาระการเรียนการสอนอาชีพและเทคโนโลยี

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายครูรางวัลนำความรู้สู่โรงเรียนก้าวทันเทคโนโลยี ปรับสาระการเรียนการสอนอาชีพและเทคโนโลยี

 


เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสถาบันรามจิตติ นำเครือข่ายครูกลุ่มสาระอาชีพและเทคโนโลยี ศึกษาดูงานด้านอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และเทคโนโลยี ณ อุทยานมิตรผลภูเขียว และหนองแซงโมเดล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เพื่อออกแบบการเรียนการสอนอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนนักศึกษา นำโดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และคณะเครือข่ายครูประกอบด้วย โรงเรียนบ้านโพธิ์ดอนหวาย บุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านบ่อดิน บุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านยายคำ บุรีรัมย์ โรงเรียนสารคามพิทยาคม โรงเรียนบ้านสะอาด (สะอาดวิทยาคาร) ร้อยเอ็ด โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม ร้อยเอ็ด โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง ร้อยเอ็ด โรงเรียนบ้านหมากตูมดอนยานาง อุดรธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 อุดรธานี โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา หนองคาย โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี สกลนคร โรงเรียนบ้านนาแก สกลนคร

โรงเรียนบ้านจอหอ นครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา โรงเรียนเลยพิทยาคม โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์ สุรินทร์ โรงเรียนบ้านเลิศอรุณ สุรินทร์ โรงเรียนบ้านโนน นิยมศาสตร์ศึกษา สุรินทร์ โรงเรียนหนองเรือวิทยา ขอนแก่น โรงเรียนบ้านโนนทอง ขอนแก่น โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน ชัยภูมิ โรงเรียนภูเขียวชัยภูมิ

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทมิตรผลได้อธิบายถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมน้ำตาล กระบวนการผลิตน้ำตาล การพัฒนาชุมชนด้วยการส่งเสริมเกษตรกรปลูกอ้อยและการทำโมเดิร์นฟาร์ม เพื่อความยั่งยืน รวมถึงธุรกิจต่อเนื่องของบริษัท ได้แก่ ธุรกิจไฟฟ้า และธุรกิจเอทานอล การจ้างงานผู้พิการ พร้อมทั้งได้นำเครือข่ายครูเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ของเกษตรกร ในโครงการทำตามพ่อปลูกเพ(ร)าะสุข

ด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้กล่าวกับเครือข่ายครูเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางอาชีพและการบริหารจัดการศึกษาด้วยว่า ในภาพใหญ่นั้นต้องการเห็นเครือข่ายครูที่มาดูงานได้คิดร่วมกันและคิดกันเป็นทีม เพราะถ้าคิดคนเดียวจะทำไม่ได้ เพราะครูจะมีงานประจำมาก จนไม่มีเวลาทำเรื่องใหม่ จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเวลาไปคิดเรื่องใหม่ จึงเสนอให้ครูนำไปคิดต่อว่าจะทำอะไรได้บ้าง แล้วมูลนิธิจะช่วยอะไรได้บ้าง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องจะช่วยอะไรได้บ้าง เพราะการช่วยจะต้องใช้กำลังความคิด เทคโนโลยี และทุน หากจะให้เกิดความยั่งยืน ครูจะต้องสร้างทีมให้มาก นี่คือทักษะ

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

“ดร.กฤษณพงศ์ ชี้ให้เห็นการศึกษาในอนาคตว่าจะเกิดการเปลี่ยนโฉม โดยในอดีตนั้น เราคิดว่าคนที่มีการศึกษา ถ้าจบ ม.6 ปวช. ปวส. ปริญญาตรี จะนำไปสู่อาชีพ แต่จากสิบปีที่ผ่านมาพบว่า การศึกษาไม่นำไปสู่อาชีพ เพราะฉะนั้น ต่อไปเราต้องนำอาชีพมาเป็นตัวตั้ง เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เราจึงต้องถอยกลับมามองว่า ชีวิต อาชีพ นั้นคืออะไร ดังนั้นเราต้องมีเป้าหมายเดียวกันคือชีวิตและอาชีพที่ดีในอนาคต และการศึกษาเป็นตัวตาม ฉะนั้น การจัดการศึกษาในอนาคต จึงต้องถอยมามองที่เป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงต้องให้คนที่มองอนาคตไว้ มาช่วยออกแบบจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ แต่ถ้าเรารู้ว่าเราไม่รู้อะไร เราไปหาสิ่งที่เราไม่รู้ได้ แต่ที่น่าห่วงคือ เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร เราจึงทำไม่ถูก เราจึงต้องไปหาคนที่พอจะบอกเราได้ว่าเราไม่รู้อะไร”
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า เขาบอกว่าการศึกษาสร้างคนไปสู่ชีวิต แต่การฝึกไปสู่อาชีพหรือการงานนั้นต่างกัน และหน้าที่ของการศึกษาคือต้องสร้างคนไปสู่อนาคต ไปแก้ไขปัญหาที่ยังไม่เกิด ซึ่งจะต้องมีความสามารถอะไรที่จะไปแก้ปัญหาที่ยังไม่เกิดได้ ตอนนี้การศึกษาในระบบของเราสอนให้ตอบ แต่คนที่จะอยู่ได้จะต้องตั้งปัญหาเป็น ต้องตั้งปัญหาได้ถูกต้องก่อน เราต้องสอนให้คนตั้งปัญหาได้ ถ้าเราตั้งได้ เราจะพบได้ว่าปัญหามีคำตอบ ขณะที่ปัญหาที่เราเรียนในห้องเรียนมีปัญหาที่มีคำตอบเดียว ทำให้ปิดสมองหมดเลย นี่เป็นสิ่งที่เราพยายามสอนให้ตั้งปัญหา เพราะปัญหาทุกปัญหานั้นถูกหมดแต่แล้วแต่เงื่อนไข คือคำตอบถูกในเงื่อนไขหนึ่ง แต่ผิดในอีกเงื่อนไขหนึ่ง จึงแล้วแต่เป้าหมายนั้นคืออะไร เราจึงต้องถอยไปสู่เป้าหมายก่อนจึงจะได้คำตอบ ไม่ใช่เอาคำตอบก่อนไปสู่เป้าหมาย เท่ากับว่าเรามีคำตอบ แต่คำถามอยู่ที่ไหน จึงต้องเริ่มด้วยคำถามก่อน
ขณะที่ ครูนฤมล สาหล้า โรงเรียนบ้านโนนทอง จ.ขอนแก่น ครูที่ได้รับรางวัลครูขวัญศิษย์ ประจำปี 2562 จากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวถึงการมาศึกษาดูงานที่โรงงานน้ำตาลครั้งนี้ ได้ตั้งความหวังไว้ว่าจะนำไปขยายผล โดยจะนำไปสอนเด็กในส่วนไหนที่เราได้รับความรู้ในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในการมาดูงานที่โรงงานน้ำตาล ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องอ้อย การผลิต ไฟฟ้า โดยจะนำไปปรับในเรื่องของภาษาไทยให้เด็กได้เขียนในความรู้แต่ละเรื่องว่ามีความคิดอย่างไร สังเคราะห์ออกมาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งเด็กการศึกษาพิเศษนั้น เรื่องการอ่านการเขียนจะไม่คล่อง แต่สามารถเอาคำหรือภาพไปสอนเด็กได้
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวต่อไปว่า นี่จึงเป็นวิธีที่จะสอนให้เด็กคิดตั้งคำถามให้ถูกต้องก่อนแล้วก็ไปหาคำตอบ เนื่องจากคำตอบที่เรามีอยู่ในห้องเรียนแค่ฝึกสมอง ให้เด็กทำการทดลองในเวลาสั้น ๆ ที่มีคำตอบในหนึ่งบ่ายหรือหนึ่งอาทิตย์ แต่โลกในความเป็นจริงต้องการคำตอบในห้านาที เพราะถ้าไปหาคำตอบในหนึ่งอาทิตย์ ปัญหาก็เปลี่ยนไปแล้ว เพราะโลกได้เปลี่ยนเร็วด้วยเทคโนโลยี จึงให้ครูคิดเป็นโจทย์ต่อลูกศิษย์โดยเร็วที่สุด โดยอาจสร้างการเรียนการสอนจากสิ่งที่มีคนทำอยู่แล้วโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ จึงขอฝากครูเป็นแนวทางนำไปคิดต่อไป