มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมกับสถาบันผลิตครูชายแดนภาคเหนือสร้างครูรุ่นใหม่ครูแห่งอนาคต

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมกับสถาบันผลิตครูชายแดนภาคเหนือสร้างครูรุ่นใหม่ครูแห่งอนาคต


รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวเปิดการเสวนา

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ห้องประชุมหอปรัชญารัชกาลที่ ๙ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา ยืนยง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ : บทเรียนและแง่คิดสู่การผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จักรพรรดิ วะทา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พร้อมด้วย คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และคณะสถาบันรามจิตติ คณะทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู และ ดร.ปรมินทร์ อริเดช คณบดีคณะครุศาสตร์ และคณาจารย์สาขาต่างๆ เครือข่ายครูจากจังหวัดเชียงราย และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ ๑  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เข้าร่วมรับฟังการเสวนา

กรรมการมูลนิธิฯกล่าวแนะนำภาพรวมงานของมูลนิธิฯ

คณะกรรมการมูลนิธิฯและผอ.สถาบันรามจิตติร่วมรับฟังการเสวนา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา ยืนยง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในพันธกิจที่จะผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและบทบาทของมหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้ท้องถิ่น โดยมีคณะครุศาสตร์เป็นหน่วยขับเคลื่อนงานสำคัญ ขอบคุณมูลนิธิฯในความร่วมมือที่ช่วยสร้างพลังการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย  ในการนี้ดร.จักรพรรดิ วะทา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้กล่าวแนะนำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและภารกิจต่างๆ ในการขับเคลื่อนพลังครูดีและการสร้างครูรุ่นใหม่นักสร้างแรงบันดาลใจเพื่ออนาคตการศึกษาไทย ในงานได้จัดให้มีการเสวนา “แรงบันดาลใจกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี : ถอดองค์ความรู้จากนักศึกษาครูรุ่นใหม่” โดยตัวแทนนักศึกษาที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ชีวิตครูจากเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และการเสวนา “ห้องเรียนสร้างแรงบันดาลใจเพื่อครูรุ่นใหม่พลังแห่งอนาคต” โดยมีอาจารย์และครูในเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแง่คิดร่วมกัน

เวทีเสวนา “ถอดองค์ความรู้จากนักศึกษาครูรุ่นใหม่”

เวทีเสวนา “ห้องเรียนสร้างแรงบันดาลใจเพื่อครูรุ่นใหม่พลังแห่งอนาคต”

นักศึกษาเล่าประสบการณ์จากการลงพื้นที่เรียนรู้ชีวิตครูเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สอบถามเรื่องราวที่สนใจจากเวทีเสวนา

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประชุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สถาบันรามจิตติทีมประสานงาน คณาจารย์จากสาขาต่างๆ และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในพื้นที่รอบลุ่มภาคกลาง ร่วมมองทิศทางการต่อยอดขยายผลการทำงาน โดยสรุปที่จะดำเนินงานยอดต่อทุกชั้นปี และในแนวกว้างที่จะเชื่อมร้อยเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและเครือข่ายครูดีปราชญ์ชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือมาร่วมสนับสนุนการเรียนรู้ การต่อยอดการพัฒนาเชิงพื้นที่กับหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าในอาเซียน (ไทย-ลาว-เวียดนาม พม่า) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายซึ่งมีบันทึกความร่วมมือกับสถาบันผลิตครูใน ๓ ประเทศดังกล่าวอยู่แล้ว


คณะกรรมการมูลนิธิฯและคณะทำงานถ่ายภาพร่วมกับรองอธิการบดีฯ คณาจารย์ และเครือข่ายครูรางวัลเจ้าฟ้าฯ

วงประชุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการวางแผนการดำเนินการขยายผลและต่อยอดการทำงาน

 

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมกับ มรภ.เทพสตรี เคลื่อนงานเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมกับ มรภ.เทพสตรี เคลื่อนงานเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจ

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี กล่าวเปิดเวทีเสวนา

วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ห้องประชุมพระนารายณ์ ชั้น ๔ และห้องขุนหลวงสรศักดิ์ ชั้น ๓ อาคารรัตนเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินตนา เวชมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ : บทเรียนและแง่คิดสู่การผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู ร่วมกับโครงการยกระดับความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ สาหรับนักเรียนจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และสระบุรี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จักรพรรดิ วะทา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวนำเสวนาพร้อมด้วย คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และคณะสถาบันรามจิตติ คณะทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู และ ผศ.ดร.ทรงศรี ตุ่นทอง คณบดีคณะครุศาสตร์ และคณาจารย์สาขาต่างๆ เครือข่ายครูจากจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และสระบุรี และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ ๑-๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้ โดยในพิธีได้มีการระบำและขับร้องเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒

กรรมการมูลนิธิฯแนะนำงานและภาระกิจต่างๆของมูลนิธิฯ               คณบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวรายงานแก่ประธานในพิธี

คณะกรรมการมูลนิธิฯ คณะทำงาน เครือข่ายครูรางวัลเจ้าฟ้าฯ คณาจารย์ ร่วมชมการแสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คณะกรรมการมูลนิธิฯ คณะทำงาน เครือข่ายครูรางวัลเจ้าฟ้าฯ คณาจารย์ ร่วมขับร้องเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินตนา เวชมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลพบุรี ได้กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยกับผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่โดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนภาคปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนานักศึกษาครูที่มีคุณลักษณ์ใหม่ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู  และการพัฒนาเครือข่ายครูประจำการเพื่อยกระดับความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ ผ่านเครือข่ายครูในพื้นที่รอบลุ่มภาคกลาง ร่วมกับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในการนี้ดร.จักรพรรดิ วะทา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ยังได้กล่าวแนะนำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและภารกิจต่างๆ ในการขับเคลื่อนพลังครูดีทั่วแผ่นนี้ ทั้งนี้ในงานยังจัดให้มีการเสวนา ““ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ : บทเรียนและแง่คิดสู่การผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่” โดยตัวแทนนักศึกษาที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ชีวิตครูจากเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และการเสวนา “ห้องเรียนสร้างแรงบันดาลใจ : บทเรียนจากอาจารย์และครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” โดยมีอาจารย์และครูในเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแง่คิดร่วมกัน


เวทีเสวนา “ถอดองค์ความรู้จากนักศึกษาครูรุ่นใหม่”

      เวทีเสวนา “ห้องเรียนสร้างแรงบันดาลใจเพื่อครูรุ่นใหม่พลังแห่งอนาคต”


คณะกรรมการมูลนิธิฯซักถามผู้เข้าร่วมเสวนา 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประชุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สถาบันรามจิตติทีมประสานงาน คณาจารย์จากสาขาต่างๆ และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในพื้นที่รอบลุ่มภาคกลาง ร่วมมองทิศทางการต่อยอดขยายผลการทำงาน โดยสรุปที่จะดำเนินงานพัฒนาเชิงระบบในหลักสูตรผลิตครูทุกชั้นปี และการเชื่อมโยงเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและครูดีในพื้นที่และ “โรงเรียนร่วมผลิต” มาร่วมขับเคลื่อนงานเพื่อความยั่งยืนและต่อยอดในมิติต่างๆ ในอนาคต

วงประชุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการวางแผนการดำเนินการขยายผลและต่อยอดการทำงาน

คณะกรรมการมูลนิธิฯ คณะทำงาน เครือข่ายครูรางวัลเจ้าฟ้าฯ  และคณาจารย์  ถ่ายรูปร่วมกันหลังจบเวทีหารือ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเข้าพบ เอกอัครราชฑูตไทย ณ ประเทศสิงคโปร์

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเข้าพบ เอกอัครราชฑูตไทย ณ ประเทศสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร. วัฒนพร ระงับทุกข์ เลขาธิการคุรุสภาและกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางเยี่ยมคาราวะ นายมานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชฑูตไทย ณ ประเทศสิงคโปร์เพื่อรายงานผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562  ณ สถานฑูตเอกอัครราชฑูตไทย ณ ประเทศสิงคโปร์

ต่อจากนั้น ประธานคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เลขาธิการคุรุสภา และกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางไปเยี่ยมชม The Academy of Singapore Teachers โดยมี Mrs. Chua-Lim Yen Ching รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้การต้อนรับ เพื่อหาแนวทางสนับสนุน การมีส่วนร่วม และต่อยอดการพัฒนาครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี 2562 ของประเทศสิงคโปร์ ณ The Academy of Singapore Teachers

และ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เลขาธิการคุรุสภา และกรรมการมูลนิธิฯ ได้เดินทางเข้าพบคุณพิศิษฐ์ บูรณะกิจภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารสาขาต่างประเทศสิงคโปร์ และเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย หารือความร่วมมือในการให้การสนับสนุนแก่ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ของประเทศสิงคโปร์  ณ ธนาคารกรุงไทย สาขาประเทศสิงคโปร์


เมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมครูแองจิลิน ซาน สิ่วเวิ่น ครูการศึกษาพิเศษ โรงเรียนแองโกไชนีส ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ โดยมีคณะผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนให้การต้อนรับและเยี่ยมชมโรงเรียน ณ โรงเรียนแองโกไชนีส ประเทศสิงคโปร์

รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS 

สาธารณรัฐสิงคโปร์นางแองจิลิน ชาน สิ่วเวิ่น หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.แองโกไชนีส แผนกประถมศึกษาและหัวหน้าครูการสอนเด็กพิเศษ


เครดิตภาพ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ข่าวคุรุสภา KPSNewS

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมสถาบันผลิตครูชายแดนภาคใต้สร้างครูรุ่นใหม่นักแรงบันดาลใจ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมสถาบันผลิตครูชายแดนภาคใต้สร้างครูรุ่นใหม่นักแรงบันดาลใจ

วันที่ ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๖๒ ห้องประชุมซาลัค ชั้น ๒ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา “บทเรียนจากครูนักสร้างแรงบันดาลใจสู่กระบวนการเรียนรู้ใหม่ในสถาบันผลิตครู : พลังความร่วมมือ พลังแห่งการเรียนรู้” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู ร่วมกับโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจากผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้  โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวนำเสวนาและปาถกฐาพิเศษ พร้อมด้วย คณะกรรมการและคณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และคณะสถาบันรามจิตติ คณะทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายครูนักสร้างแรงบันดาลใจในสถาบันผลิตครู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น  คณาจารย์สาขาต่างๆ และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยกับปรับระบบใหม่ของการผลิตครูในชายแดนใต้เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพครูและคุณภาพการศึกษา หนึ่งในนั้นมหาวิทยาลัยนได้ปรับให้มีหลักสูตร Extra time เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้พร้อมบนเส้นทางก้าวสู่ความเป็นครู  ด้านดร.กฤษณพงศ์ กรีติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวนำเสวนาและปาฐกถาพิเศษถึงภาพรวมของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและภารกิจต่างๆ พร้อมด้วยบทเรียนจากครูดีที่ได้รับรางวัลใน ๑๑ ประเทศในรุ่นที่ ๑ และข้อคิดต่อการเป็นครูในอนาคตที่ว่า “ครูที่ดีจะสร้างสภาวะการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโต ครูดีเป็นพลังที่ดีให้กับลูกศิษย์ เป็นพลังที่ดีของอนาคต”  พร้อมทั้งในงานยังจัดให้มีการเสวนา “ว่าที่ครูรุ่นใหม่ : ประสบการณ์เรียนรู้และแรงบันดาลใจจากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” โดยตัวแทนนักศึกษาที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ชีวิตครูจากเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟามหาจักรี และการเสวนา “ห้องเรียนสร้างแรงบันดาลใจ : บทเรียนจากอาจารย์และครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” โดยมีอาจารย์และครูในเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแง่คิดร่วมกัน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประชุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สถาบันรามจิตติทีมประสานงาน คณาจารย์จากสาขาต่างๆ และเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เพื่อมองทิศทางการต่อยอดขยายผลการทำงานความร่วมมือต่อไปในอนาคตอีกด้วย

 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศกัมพูชา

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศกัมพูชา

คณะกรรมการมูลนิธิฯเยี่ยมโรงเรียนครูดี โสพอน

15 กรกฎาคม 2562  ดร.กฤณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และ รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ นำคณะกรรมการเข้าเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในจังหวัดกัมปงชนัง โดยมีท่าน HE. Om Sophea รองผู้ว่าราชการจังหวัดกัมปงชนัง พร้อมด้วยครูโตช บันโดล (Mrs. Tauch Bundaul) ครูรางวัลฯ รุ่นที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๘ และสื่อมวลชนกัมพูชาร่วมต้อนรับ โดยคณะได้เยี่ยมเยือนครูดี โสพอน (Mrs. Dy Sopon) รุ่นที่ ๒ ประจำปี ๒๕๖๐ ครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถม Punlay Primary School รับฟังความเคลื่อนไหวและต่อยอดการเรียนรู้หลังจากที่ครูได้รับรางวัล ในการนี้คณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เยี่ยมเยือนห้องเรียนภาษาอังกฤษ พบปะและสนทนาแลกเปลี่ยนกับนักเรียนชั้นประถมของครูดีถึงสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และประทับใจต่างๆ


คณะกรรมการมูลนิธิฯเยี่ยมห้องเรียนภาษาอังกฤษของครูดี โสพอน

จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพร้อมครูรางวัลรุ่นที่ ๑ และ ๒ เยี่ยมเยือน ครูวิรัก ลอย (Mr.Virak Loy) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ ๓ ปี ๒๕๖๒ ณ โรงเรียนมัธยมศึกษา Hun Sen Roeapha Ear โดยมีในการนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดกัมปงชนัง กล่าวต้อนรับพร้อมเสนอภาพรวมการศึกษาของจังหวัด ผู้บริหารโรงเรียนสรุปสถานการณ์โรงเรียน พร้อมครูลอยแนะนำภาพรวมการทำงาน คณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เยี่ยมสังเกตการเรียนรู้ในห้องเรียนฟิสิกส์ของครูลอย ฟังนักเรียนมัธยมนำเสนอผลงาน สื่อฟิสิกส์ และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับนักเรียน รวมถึงมุมมองอนาคตของนักเรียนอีกด้วย

ประธานมูลนิธิฯถ่ายภาพร่วมกับครูดี โสพอนและนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6

จากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพร้อมครูรางวัลรุ่นที่ 1 และ 2 เยี่ยมเยือน ครูวิรัก ลอย (Mr.Virak Loy) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 3 ปี 2562 ณ โรงเรียนมัธยมศึกษา Hun Sen Roeapha Ear โดยมีในการนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดกัมปงชนัง กล่าวต้อนรับพร้อมเสนอภาพรวมการศึกษาของจังหวัด ผู้บริหารโรงเรียนสรุปสถานการณ์โรงเรียน พร้อมครูลอยแนะนำภาพรวมการทำงาน คณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เยี่ยมสังเกตการเรียนรู้ในห้องเรียนฟิสิกส์ของครูลอย ฟังนักเรียนมัธยมนำเสนอผลงาน สื่อฟิสิกส์ และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับนักเรียน รวมถึงมุมมองอนาคตของนักเรียนอีกด้วย

สำหรับครู ครูวิรัก ลอย (Mr.Virak Loy) ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2562 อายุ 40 ปี เป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์โดยเน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงจากการทดลองและสร้างสรรค์สื่อ ตลอด 20 ปีของการสอนไม่มีนักเรียนตกซ้ำชั้น ครูลอยจะใช้วิธีเรียนรู้ผู้เรียน สร้างบรรยากาศการเรียนร็และดึงพลังครอบครัวชุมชนมาพัฒนา ครูลอยกล่าวว่า “หน้าที่ของครูต้องรู้จักนักเรียน และรู้วิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี ทั้งพฤติกรรมและการเรียนรู้ ทำให้เขากระตือรือร้นอยากเรียนรู้ การดูแลรายบุคคลคือสิ่งที่ทำให้ความสำคัญ ผมใช้วิธี 1 นักเรียนช่วยนักเรียน 2 ครูช่วยนักเรียน 3 ผู้ปกครองช่วยนักเรียน และใช้เทคโนโลยีช่วยเด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยและใช้วันหยุดในการช่วยเด็กๆด้วย หาโอกาสให้ในทางต่างๆ

ครูวิรัก ลอย ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศกัมพูชา ปี 2562

คณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงพนมเปญ และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา | ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำเป็นกัมพูชาทั้ง 3 รุ่น ร่วมแถลงข่าว | เยี่ยมโรงเรียนครูดี โสพอนและครูวิรัก ลอย

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเข้าพบ เอกอัครราชฑูตไทย  ณ กรุงพนมเปญ และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเข้าพบ เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงพนมเปญ และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เข้าเยี่ยมคาราวะนายปัญญารักษ์ พูลทรัพย์ เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เพื่อรายงานผลการคัดเลือกครูกัมพูชาที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 และได้พบปะตัวแทนภาคธุรกิจไทยและสื่อมวลชนในประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 ณ สถานเอกอัครราชฑูตไทย
ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ในวันเดียวกัน คณะจากมูลนิธิฯ ได้เข้าเยี่ยมคาราวะนายฮ็องจวน ญารน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูง เพื่อรายงานผลการคัดเลือกครูกัมพูชาที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 ณ กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา ประเทศกัมพูชา

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้เข้าร่วมกับคณะจากมูลนิธิฯ เดินทางเยี่ยมเยือนนายลอย วิรัก ครูสอนเกรด 12 โรงเรียนมัธยมศึกษาฮุนเซนรอเลียพะเอีย ครูผู้ได้รับรางวัลมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ประจำปี  2562 ของประเทศกัมพูชา โดยมี HE. Om Sopnea รองผู้ว่าราชการจังหวัดกัมปงชนัง คณะผู้บริหาร คุณครูและนักเรียนให้การต้อนรับพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนคติที่ดีในการมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และเยี่ยมชมโรงเรียนและพูดคุยกับนักเรียน  ณ โรงเรียนมัธยมศึกษาฮุนเซน รอเลียพะเอีย จังหวัดกัมปงชนัง ประเทศกัมพูชา

เครดิตภาพ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ข่าวคุรุสภา KPSNewS

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงพนมเปญ และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา | ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำเป็นกัมพูชาทั้ง 3 รุ่น ร่วมแถลงข่าว | เยี่ยมโรงเรียนครูดี โสพอนและครูวิรัก ลอย |

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 2562 ณ นครหลวงพระบาง

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 2562 ณ นครหลวงพระบาง

14 มิถุนายน 2562 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะ เข้าพบท่าน เอิง ลอสะหวัน สำนักงานศึกษาแขวงหลวงพระบาง และเจ้าหน้าที่การศึกษาแขวง พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงและกีฬา ประเทศลาว และครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด ครูโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ นครหลวงพระบาง ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี พ.ศ. 2562 เข้าร่วม โดยได้ประชุมแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวด้านการพัฒนาการศึกษาของประเทศลาวและไทย และยังได้ร่วมกันหารือความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศลาวและไทยร่วมกับแขวงกับกระทรวงศึกษาและกีฬา

นอกจากนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิฯ และคณะ ได้เยี่ยมเยือนโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ สันติภาพ นครหลวงพระบาง โรงเรียนของครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี พ.ศ. 2562 โดยมีท่านสุนทอน แก้วสะหวัน ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ยังได้แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในการสนับสนุนการพัฒนาครูและการศึกษาของโรงเรียน ทั้งเรื่องการฝึกอบรมและพัฒนาครู การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้เพื่อพัฒนาครูผ่านโครงการต่างๆ โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาและกีฬา ในงานนี้โรงเรียนยังได้จัดพิธีบายสู่ขวัญเพื่อรับขวัญตามประเพณีวัฒนธรรมโดยมีภูมิปัญญาเข้าร่วมเป็นพิธีกรงานบายศรีฯ ผูกสายรับขวัญคณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมกับคณะครูและนักเรียนของโรงเรียน

สำหรับครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี พ.ศ. 2562 อายุ 45 ปี เป็นหัวหน้าสาขาภาษาลาวและวรรณคดี และรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ มีผลงานการจัดทำสารคดีเกี่ยวกับความขาดแคลนของจังหวัดพูคูน (Phoukhoun) และศึกษาวิจัยสถานการณ์ด้านการศึกษาของแขวงหลวงพระบาทให้กับกระทรวงศึกษาและกีฬา มีแรงบันดาลใจในการเป็นครูและ “มุ่งมั่นอยากให้ความรู้ ใช้ความรักในความเป็นครูและประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา เพื่อสร้างเด็กรุ่นใหม่ที่มีใจรักและสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อประเทศต่อไป”

ประมวลภาพ 249 ภาพ >>

สถานฑูตไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | สำนักงานศึกษาแขวงหลวงพระบาง | วันครูแห่งชาติลาว ThaiPBS
เปิดรายชื่อสุดยอดครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ ครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562

เปิดรายชื่อสุดยอดครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ ครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่หอสมุดคุรุสภา มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวเปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562

        ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูการทำงานของครู โดยครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลมาจากการคัดเลือกของกระทรวงศึกษาธิการในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ทั้ง 11 ประเทศ โดยมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา ประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง โดยของพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ  มีกำหนดพิธีพระราชทานรางวัลในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 พร้อมกับประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อเชื่อมร้อยการเรียนรู้การทำงานของครูในอาเซียนและติมอร์-เลสเต โดยมีรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562 ดังนี้

เนการาบรูไนดารุสซาลาม   

นางฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์
ครูใหญ่ ร.ร.ประถมศึกษาลัมบัก กานัน จารัล 49 และรับผิดชอบพัฒนากระบวนการเรียนการสอนนิเทศและติดตามการสอนของครูในโรงเรียนรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านมาตรฐานของครูบรูไน

ราชอาณาจักรกัมพูชา      
นายวิรัก ลอย
ครูสอนเกรด 12 ร.ร.มัธยมศึกษาฮุนเซน รอเลียพะเอีย ด้วยความเชื่อว่าการศึกษาทำให้นักเรียนมีชีวิตที่ดีจึงสร้างบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจด้วยการศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อปรับใช้กับแผนการสอน เลือกเครื่องมือและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับนักเรียน
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย     
นายรูดี ฮาร์ยาดี

ครูผู้สอนเทคโนโลยีไร้สายในระดับอาชีวศึกษา State Vocational Secondary School Cimahi จาร์วาตะวันตก ผู้ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ หาความรู้เพิ่มเติมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงกับการสอน พัฒนาหลักสูตร รวมถึงช่วยเพิ่มสมรรถนะครูในสาขาอาชีวศึกษา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   
นายไพสะนิด ปันยาสะหวัด
หัวหน้าสาขาวิชาภาษาลาวและวรรณคดี และรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ร.ร.มัธยมศึกษาสันติภาพ หลวงพระบาง มีผลงานด้านสารคดีเกี่ยวกับความขาดแคลนของ จ.พูคูน และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติระดับประเทศจำนวนมาก
ประเทศมาเลเซีย      
นางเค เอ ราซียะฮ์

ครูผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางการเรียนรู้ ร.ร.มัธยมศึกษาปันหยี โกตาบารู รัฐกลันตัน พัฒนาหลักสูตรวิชาเพื่อเด็กพิเศษตั้งแต่ระดับอนุบาล มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา เมื่อปีที่ผ่านมาได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 50 รายชื่อครูผู้รับรางวัล “Global Teacher Award” คัดเลือกโดย Varkey Foundation ประเทศอังกฤษ
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา    
นายหม่อง จ๋าย
ครูสอนภาษาอังกฤษและเกษตร ร.ร.จ่อ เม แคว้นมัณฑะเลย์ ก่อนมาประจำที่โรงเรียนจ่อ  เม เคยทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์         
นายสาดัท บี มินันดัง
ครูประถมศึกษา ร.ร. ประถมศึกษาอมิรัล เมืองโคตาบาโต ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งโครงการ FaithMALU (ศรัทธาก่อให้เกิดพลังความร่วมมือ) และสร้างความตระหนักเรื่องการค้ามนุษย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของชุมชน
สาธารณรัฐสิงคโปร์        
นางแองจิลิน ชาน สิ่วเวิ่น
หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.แองโกไชนีส แผนกประถมศึกษาและหัวหน้าครูการสอนเด็กพิเศษ จากประสบการณ์การดูแลนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ถูกถ่ายทอดผ่านช่องทางออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูพี่เลี้ยงในการประเมินและการใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต     
น.ส.ลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ
ครูประถมศึกษา ร.ร.การศึกษาขั้นพื้นฐานเมืองมาตาตา ในเมืองเอเมร่า ผู้ร่วมเขียนและพัฒนาหลักสูตรระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และหลักสูตรการรู้หนังสือ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานักเรียนทั้งร่างกายและจิตใจแบบองค์รวม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม   
นายเล ทัน เลียม
ครูสอนวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.มัธยมชนเผ่าฮิม ลาม จ.เหิ่วซาง ด้วยนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกัมพูชา ฐานะยากจน ครูเล ได้ก่อตั้งชมรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระตุ้นให้ใช้หลักคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาชุมชน
ประเทศไทย 
นายสุเทพ เท่งประกิจ
ครูนักพัฒนาผู้มีความมุ่งมั่นและเสียสละ ร.ร.บ้านคลองน้ำใส  จ.ยะลา ท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม ครูสุเทพ ได้ใช้ภาษามลายูสร้างความสัมพันธ์ไทยมุสลิมและเข้าถึงคนในชุมชน อีกทั้งจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่และศูนย์ช่างเศรษฐกิจพอเพียง จนมีลูกศิษย์ประสบความสำเร็จจำนวนมาก

          นายสุเทพ เท่งประกิจ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส จ.ยะลา ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย ปี 2562 กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับรางวัลที่ทรงคุณค่าให้แก่ครู เพราะตั้งใจจะเป็นครูมาตั้งแต่เด็กจากประสบการณ์ที่ได้เริ่มสอนรุ่นน้องในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน เมื่อโตขึ้นก็ส่งตัวเองเรียนด้วยการรับจ้างเป็นช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างไฟ ทำให้มีความรู้งานช่าง จึงอยากนำความรู้ด้านอาชีพมาสอนให้กับเด็ก รวมถึงการสอนการรู้หนังสือ ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้แนะนำให้ใช้ภาษาไทยย้อนยุคมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบการสอนจึงใช้กลุ่มคำที่เกี่ยวกับงานช่าง รวมถึงสอนตีราคาต้นทุนและค่าวัสดุอุปกรณ์ การวางแผนการทำงาน และในช่วงก่อนปิดภาคเรียนก็สำรวจเด็กใครสนใจทำงานด้านใด เพื่อพาไปสมัครกับผู้ประกอบการในช่วงปิดเทอมเพื่อฝึกวินัย ความรับผิดชอบ และการได้ลงมือปฏิบัติจริง  การเรียนรู้ของเด็กในพื้นที่ตนมองว่า การฝึกอาชีพที่แน่นอนให้กับเด็กบางครั้งอาจไม่ใช่งานที่มีอยู่ในพื้นที่แล้ว แต่การให้ประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อสามารถเอาตัวเองรอดได้สำคัญที่สุด

สำหรับประเทศไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้มีการมอบรางวัลแก่ครูที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการระดับจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ คุณากร 2 รางวัล ครูยิ่งคุณ 17 รางวัล และครูขวัญศิษย์ 136 รางวัล โดยรางวัลคุณากร คือ

ดาบตำรวจคณิต  ช่างเงิน   
ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองคี ต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก ครูหนึ่งร่างแต่หลายวิญญาณ เป็นทั้งครู หมอ ช่าง ภารโรง ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อเด็กและชุมชนให้มีชีวิตที่มีคุณภาพ
 น.ส.ปุณยาพร ผิวขำ  
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม ต.หนองสูงใต้ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ดึงความรู้ทางนาโนเทคโนโลยีกระตุ้นการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่การแก้ปัญหาชุมชน

       
      

NameSizeHits
NameSizeHits
รายงานการเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 256216.8 MiB1068
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระราชทาน “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” ครั้งที่ 3 ปี 2562 [pdf]79 KiB6506
ประวัติสุดยอดครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 25621.3 MiB6716
ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลคุณากร รางวัลครูยิ่งคุณ และรางวัลครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2562 [pdf]0.2 MiB11958

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๒

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๒

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๒
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 
ขออวยพรให้ท่านเต็มเปี่ยมด้วยพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา
เพื่อการสร้างสรรค์การศึกษาอย่างมีความสุขตลอดไป

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร 
ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

แถลงข่าวการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562

แถลงข่าวการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562


ชวนลูกศิษย์ทั่วประเทศและสถานศึกษาเสนอชื่อ
‘ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี’ ครั้งที่ 3 ครูผู้ใช้ทั้งชีวิตเปลี่ยนแปลงลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา คุรุสภาเดินหน้าปลุกจิตวิญญาณของความเป็นครูหวังพลิกคุณภาพการศึกษาไทย ขณะที่กสศ.เปิดผลวิจัย OECD พบเด็กยากจนที่สุดของประเทศทำคะแนนสอบติดอันดับสูงสุดของโลกได้ 3% ครู เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกศิษย์สู้ไม่ถอย เตรียมจัดทำบัญชีครูผู้ดูแลเด็กขาดโอกาสเชื่อมโยงระบบสารสนเทศเชื่อเติมการทำงานของครูอย่างเป็นระบบ   

          เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่อาคารคุรุสภา มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แถลงข่าวการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 โดยดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลพระราชทานระดับนานาชาติเพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต 11 ประเทศ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักการศึกษาผู้ทรงพระปรีชาและทรงมีคุณูปการต่อการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู ประเทศละ 1 คน เป็นเวลา 2 ปีครั้ง

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า ในการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 มีกำหนดพระราชทานรางวัลในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ระหว่างนี้ประเทศไทยและประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต อยู่ระหว่างการคัดเลือกครูผู้มีผลงานดีเด่นและสร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษา สำหรับประเทศไทยได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของครูคือ การเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา เพื่อให้สังคมไทยร่วมกันเห็นคุณค่าในจิตวิญญาณของครูผู้เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของลูกศิษย์ทุกคนตลอดชีวิตของความเป็นครู มีองค์ความรู้ที่สามารถเผยแพร่ในระดับประเทศหรือนานาชาติ โดยเป็นหรือเคยเป็นครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาทุกสังกัด ซึ่งรวมถึงครูนอกสถานศึกษาที่สอนผู้เรียนในวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย โดยมีประสบการณ์สอนอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 15 ปี และปฏิบัติงานสอนหรืองานด้านการศึกษาอยู่จนถึงวันรับพระราชทานรางวัล

ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า การเสนอชื่อครูจะมาจาก 4 ช่องทางคือ 1. เสนอชื่อโดยสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เสนอชื่อโดยองค์กรที่เป็นนิติบุคคลและมีภารกิจส่งเสริมการเรียนรู้ 3. เสนอชื่อโดยศิษย์เก่า อายุ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้ง 3 ช่องทางจะเสนอชื่อไปยังศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคัดเลือกในแต่ละจังหวัด ทั้ง 77 แห่ง และช่องทางที่ 4. องค์กรภาครัฐและเอกชน จำนวน 7 องค์กร เสนอชื่อมายังคณะกรรมการคัดเลือกส่วนกลาง จากนั้นจะมีการคัดเลือกและลงพื้นที่ของคณะกรรมการคัดเลือกส่วนกลาง และคณะกรรมการมูลนิธิฯ เพื่อพิจารณาครูผู้สมควรได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เพียง 1 คนของประเทศไทยเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล และเนื่องจากการคัดเลือกมาจากสุดยอดครูของแต่ละจังหวัด มูลนิธิฯ จึงมอบรางวัลให้กับครูขวัญศิษย์ จำนวน 146 คน รางวัลครูยิ่งคุณ 17 คน และรางวัลคุณากร 2 คน จึงขอเชิญชวนลูกศิษย์ทั่วประเทศ สถานศึกษา และหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันเสนอชื่อครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เพื่อให้สังคมร่วมกันขอบคุณและเห็นคุณค่าครูผู้ทุ่มเทเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ตลอดทั้งชีวิตของความเป็นครู โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.PMCA.or.th

นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภาสนับสนุนให้ครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้รับการยกย่องเป็นที่ยอมรับแก่คนในวิชาชีพ ต่อยอดการพัฒนาตนเองและพัฒนาเพื่อนร่วมวิชาชีพ รวมทั้งเป็นครูต้นแบบในการสร้างแรงบันดาลใจ และจิตวิญญาณของความเป็นครูให้แก่เพื่อนครู ครูรุ่นใหม่ และนิสิต นักศึกษา ที่จะเข้าสู่วิชาชีพครู โดยร่วมเป็นคณะทำงานในการพัฒนาวิชาชีพหรือคัดสรรผู้สมควรได้รับรางวัลต่างๆของคุรุสภา เป็นครูพี่เลี้ยง ครูแกนนำในการเป็นตัวแบบการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพให้แก่นิสิต นักศึกษาครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา รวมทั้งเป็นครูแกนนำของการสร้างเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC เป็นต้น

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มีเป้าหมายการทำงานคือ เด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพ และเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ จากงานวิจัยของ OECD ที่วิเคราะห์ข้อมูลการสอบ PISA พบว่า ประเทศไทยมีนักเรียนยากจนที่สุดของประเทศ แต่สามารถทำคะแนนสอบอยู่ในระดับสูงสุดของโลกได้มีอยู่ 3% และหากขจัดอุปสรรคจากความยากจนได้ก็จะมีจำนวนเด็กช้างเผือกเพิ่มขึ้นมาเป็น 18% ที่น่าสนใจคือ OECD มีการติดตามถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กยากจนในประเทศต่างๆประสบความสำเร็จและเอาชนะข้อจำกัดเรื่องฐานะได้ ปัจจัยสำคัญนั้นคือ ครู ที่ทำให้เด็กสู้ไม่ถอย การทำงานของกสศ.นอกจากจะร่วมในกระบวนการคัดเลือกครูแล้ว กสศ.จะพัฒนาระบบสารสนเทศครูนอกระบบการศึกษา รวมทั้งจะจัดทำฐานข้อมูลครูที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ ทั้งในสาขาวิชาที่สอน รวมถึงความโดดเด่นในรูปแบบการจัดการดูแลเด็กเยาวชนด้อยโอกาสเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานรวมถึงเติมเต็มช่วยเหลือในสิ่งที่ยังขาดอย่างเป็นระบบและสามารถขยายผลต่อในวงกว้าง

 

เอกสารประกอบการเสนอชื่อครูผู้ได้รับการคัดเลือกรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562

NameSizeHits
NameSizeHits
2. การเสนอชื่อและเกณฑ์การตัดสิน ประจำปี พ.ศ. 2562
4. แบบเสนอชื่อครูโดยลูกศิษย์ [docx]0.1 MiB1941
3. หน่วยประสานงานการคัดเลือกครูระดับจังหวัด0.6 MiB1999
2. เอกสารแนบท้ายประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และคัดเลือก0.4 MiB2212
5. แบบเสนอชื่อครูโดยสถานศึกษา [docx]0.2 MiB2459
1. หลักเกณฑ์การคัดเลือก วิธีการสรรหาและคัดเลือกครูเพื่อรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า ประจำปี พ.ศ. 25620.1 MiB3507