ครูบรูไนย้ำเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษต้องไม่ตกหล่นการเรียนรู้ ครูคือคนสำคัญ ผู้ปกครองคือพลัง

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง “ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ ในปี 2021 ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 : ระสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจากเนอการาบรูไนดารุซซาลาม และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยมีวิทยากรได้แก่ ครูฮาจะฮ์ รัตนาวาติ บินติ ฮาจิ โมฮัมมัด (Mdm Hajah Ratnawati Binti Haji Mohammad)  PMCA 2015  ครูการศึกษาพิเศษโรงเรียน  Keriam Primary School ครูใหญ่ฮาจะฮ์ นูรเลียฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ (Dayang Hajah Noorliah Binti Haji Aspa)  PMCA 2019  ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา Lambak Kanan Jalan 49 ครูลิม ซอง โง (Ms. Lim Soh Ngo)  PMCA 2017 อดีตครูเคมีเชี่ยวชาญเรื่องการ​จัดการเรียนรู้แบบองค์รวม จากประเทศบูรไน ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ  (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) PMCA 2019 โรงเรียนประถมศึกษา Eskola Basica Matata เมืองเอเมร่า จากประเทศติมอร์-เลสเต  ซึ่งดำเนินรายการโดย ดร.ทินสิริ  ศิริโพธิ์ พร้อมด้วยคณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มีดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นประธาน และดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สถาบันรามจิตติ และเครือข่ายครูในมูลนิธิฯ เข้าร่วมประชุมออนไลน์กว่า มีเข้าร่วมประชุมออนไลน์ 137 ท่าน  

บทเรียนร่วมจากประสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจากทั้ง 2 ประเทศนี้ ในการจัดการเรียนรู้ในปี 2021 นั้นชี้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพบริบทของแต่ละประเทศ โดยต่างมีแนวทาง วิธีการที่ร่วมที่ใช้หลากหลายวิธีให้สอดคล้องกับข้อมูล บริบทและสภาพเด็กนักเรียนในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการทำงานสนับสนุนครู และการทำงานกับครอบครัวและชุมชนในการเข้ามาร่วมสนับสนุนการเรียนรู้ โดยแต่ละประเทศต่างได้รับการสนับสนุนจากหน่วยนโยบายและหน่วยงานทางการศึกษาในระดับท้องถิ่นเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤต 

ทั้งนี้ จากกรณีประเทศบูรไนมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางประเทศบูรไนมีมาตรการควบคุมที่รวดเร็ว สามารถทำงานร่วมกับกระทรวง หน่วยงานต่างๆ ได้ดี ทุกองค์กรต่างคิดวิธีการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ แม้แต่สถานศึกษาได้คิดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับพื้นที่ ได้เปลี่ยนวิธีการสอน มีการบูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ มีชุดการเรียนรู้ Home learning package สำหรับนักเรียน และมีการเรียนการสอนออนไลน์ 

สิ่งที่ได้ดำเนินงานว่า 1) ระดับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการของประเทศบรูไนสนับสนุนให้ครูใช้วิธีการหลายแง่มุมหรือการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย อีกทั้งยังได้จัดทำแนวทางสำหรับการเรียนรู้จากที่บ้าน (HBL) สำหรับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 2) ระดับปฏิบัติการ โรงเรียนได้ปฏิบัติงานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรการด้านสุขภาพและการเว้นระยะห่างทางสังคมได้บังคับใช้กับทุกโรงเรียน  แนวทางของกระทรวงศึกษาธิการที่สนับสนุนให้ผสมผสานการสอนที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยครูมีใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนและแพลตฟอร์มการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น Zoom, Quizzes, Kahoot, Whats app และวิดีโอ รายการการศึกษาทางโทรทัศน์เชื่อมโยงเชื่อมโยงกับการสอนแบบออนแฮนด์ที่มี Home learning package  หรือชุดแพ็คเกจการเรียนรู้ที่บ้าน ซึ่งโรงเรียนจะมีข้อมูลของนักเรียนเป็นรายบุคคลที่ทำให้ทราบว่านักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้อย่างไร ทั้งการเรียนออนไลน์และการเรียนรู้แบบออนแฮนด์ เพื่อให้ครูได้เตรียมสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ส่วนตัว และสามารถช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความคต้องการพิเศษซึ่งทำต้องทำงานร่วมกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สนับสนุนให้ครูได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการสอน และทำงานร่วมกับผู้ปกครองในการสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมพัฒนาการเด็กนักเรียน 

สำหรับความท้าทายในการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ว่า 1) ครูต้องดำเนินการสอนออนไลน์ทันทีและต้องเตรียมสื่อการสอนตามบ้าน ดังนั้นครูจึงถูกบังคับให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการสอนทั้งในรูปแบบออนไลน์ที่ รวมถึงการเชื่อมโยงกับการสอนแบบออนแฮนด์ 2) การติดตามผลการปฏิบัติงานของนักเรียนเป็นสิ่งที่ท้าทาย นักเรียนต้องนำวิธีการเรียนรู้แบบใหม่มาใช้ 3) นักเรียนระดับประถมศึกษาต้องการคำแนะนำจากผู้ปกครองและนักเรียนระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ปกครองที่ทำงาน เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ พวกเขาจึงมีเวลาน้อยในการสนับสนุนการเรียนรู้ของบุตรหลานและติดตามความคืบหน้า 4) การขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้ยังคงเป็นปัญหาหลักในกลุ่มผู้ปกครอง  

ข้อคิดจากครูฮาจะฮ์ รัตนาวาติ บินติ ฮาจิ โมฮัมมัด ครูการศึกษาพิเศษโรงเรียน Keriam Primary School มองว่า ความท้าทายขคือสถานการณ์ปัจจุบันที่นักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ นักเรียนเรียนรู้จากที่บ้าน ผู้ปกครองทำงานจากที่บ้าน (Work from home) แต่ครูยังทำงานแบบหมุนเวียนจากที่บ้านและที่โรงเรียน ครูจึงต้องมีความพร้อมสูงในการเผชิญหน้ารับมือกับสถานการณ์รายวัน ทั้งการจัดการเรียนรู้เพื่อการดูแลเด็กธรรมดาและเด็กพิเศษร่วมกัน ผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมอย่างมากในการช่วยเหลือการสอนอยู่ที่บ้าน และเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นมีการกลับมาเรียนที่โรงเรียนแต่ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบทบาทสำคัญของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในยุค New normal ที่ต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนที่แตกต่างกัน  

กรณีของ ครูลิม ซอง โง มองว่า สำหรับนักเรียนนระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัยจะปรับตัวง่ายในเรื่องทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ แต่ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่สำหรับเด็กเล็กจะต้องพึ่งพาพ่อแม่ ซึ่งเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีเรื่องการจัดการและสอนเด็ก พ่อแม่จะต้องเป็นครูอยู่ที่บ้าน ทำให้พ่อแม่มีความเครียดเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นและจะต้องมาสอนเนื้อหาให้กับลูก และครูเองก็เกิดความเครียดในการวางแผนและจัดการการเรียนการสอน ที่ต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งใบงานและเนื้อหาสอนออนไลน์ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าครูจะต้องมีการปรับวิธีการสอนเนื้อหา ปิดห้องเรียนเชิงกายภาพ ครูและนักเรียนจะต้องใช้ออนไลน์ให้เป็น โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ทำงานร่วมกับกระทรวง ICT สร้างให้มี packet อินเตอร์เน็ตราคาถูก เร็ว และแรง และผู้ปกครองต้องช่วยกันสอนแทนครู สำหรับพ่อแม่ที่เป็นครูอยู่แล้วถือเป็นภาระที่หนักเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องปรับตัวและจัดการในสถานการณ์เช่นนี้ นอกจากนี้มีการประเมินผลเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แง่คิดจากครูฮาจะฮ์ นูรเลียฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา Lambak Kanan Jalan 49 ในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้โดยรวมโรงเรียนต่างๆ จะมีแนวทางการจัดการเรียนรู้หลากหลาย ทั้งแบบออนไลน์และออนแฮนด์ แต่กระนั้นในสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2021 โรงเรียนต้องมีนโยบายและแนวทางรับมือที่รวดเร็วทันการณ์ โดยเฉพาะต้องอาศัยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับของครู ครูคือพลังสำคัญร่วมกับผู้ปกครอง ความพร้อมของครูทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูเองจึงเป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องสนับสนุนครู เพื่อให้ครูสามารถดำเนินงานจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนทั้งในกลุ่มนักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวว่า “ความสำคัญของการรักษาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและครู ผู้บริหาร ครูและครอบครัว กลายเป็นความสำคัญอันดับแรกที่ชัดเจนสำหรับผู้บริหาร ครู และครอบครัวจำนวนมาก กลายเป็นความสำคัญอันดับแรกที่ชัดเจนสำหรับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง และดิฉันให้ความสำคัญกับการดูแลครูควบคู่ไปกับนักเรียน” ครูนูร์เลียกล่าว 

อย่างไรก็ตาม แง่คิดจากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจากประเทศบูรไนทั้ง 3 ท่านมองว่า ข้อจำกัดของการจัดการศึกษาคือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอเสมอไปสำหรับเด็กนักเรียนทุกคน ยังคงมีช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีออนไลน์และมีอุปกรณ์ที่จำกัดในการเรียนรู้ออนไลน์ ทำให้เกิดความท้าทายในครอบครัวที่มีเด็กมากกว่าหนึ่งคนหรือในกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมระดับล่าง ครูจึงต้อเท่าทันและอาศัยวิธีการหลายวิธีในการช่วยเหลือทั้งกับกลุ่มนักเรียนและครอบครัวที่มีความแตกต่างทางบริบท ที่สำคัญพบว่า ครูหลายคนยังคงกังวลว่านักเรียนจะเรียนไม่ครบหลักสูตร ดังนั้นการดำเนินการตามหลักสูตรจึงต้องมีความยืดหยุ่นในแง่ของแนวทางและการติดตามพัฒนาการของนักเรียน รวมถึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างและการช่วยเหลือเป็นรายบุคคล  การส่งมอบงานและวัดประเมินผลงานอิงพัฒนาการของผู้เรียน 

ที่สำคัญ ด้วยวิธีการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป สร้างแรงผลักดันให้กับครูในการปรับตัว ปรับเนื้อหา ปรับใจ พยายามคิดเนื้อหาในการสอนออนไลน์ วิธีการสอนออนไลน์ ซึ่งครูต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ดีขึ้นและปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับการสอนออนไลน์มากขึ้น ทางกระทรวงศึกษาธิการพยายามทำโครงการเชื่อมกับพ่อแม่โดยตรง เพื่อให้พ่อแม่ช่วยเป็นครูที่บ้าน โดยได้สร้างทักษะให้พ่อแม่ และให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของการเทคโนโลยีมากขึ้น มีความยืดหยุ่นหลากหลายในการใช้เทคโนโลยี มีวิธีการสอนที่แปลกใหม่ พ่อแม่เปิดใจยอมรับมากขึ้น นักเรียนจะคุ้นเคยแนวใหม่ ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ นักเรียนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในการเรียนรู้ มีการพูดคุยกัน และตัวครูเองต้องเพิ่มทักษะความสามารถ กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสและครูสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้

ชมย้อนหลังบน PMCA YouTube Channel


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • ครูติมอร์-เลสเตรุกโครงการปฐมวัยศึกษา เตรียมเด็กตั้งแต่วัยเล็กร่วมกับพ่อแม่และชุมชน ดึงครอบครัวมีบทบาทการศึกษา https://www.pmca.or.th/thai/?p=10975
  • ครูบรูไนย้ำเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษต้องไม่ตกหล่นการเรียนรู้ ครูคือคนสำคัญ ผู้ปกครองคือพลัง https://www.pmca.or.th/thai/?p=10993