คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เยี่ยมเยือนครู Ha Anh Phuon ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 ประเทศเวียดนาม ณ จังหวัดฟูเถาะ (Pho Tho)

คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เยี่ยมเยือนครู Ha Anh Phuon ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 ประเทศเวียดนาม ณ จังหวัดฟูเถาะ (Pho Tho)

วันที่ 30 มีนาคม 2566 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และคณะ พร้อมด้วยนางสาวนรีกานต์ ศรีชัยนาค และนาง Nguyen Thi Ngoc Thoa, Le Thi Huong เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนาม นาง Tam Nguyen Thi Thuy Ha สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขและการสื่อสาร นางสาว Nguyen Thi Minh Tham หัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เดินทางไปยังโรงเรียนมัยธมศึกษาเฮืองเกิ่น (Houng Can) อำเภอทานห์ซัน (Thanh Son) จังหวัดฟูเถาะ (Pho Tho) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมเยือนครู Ha Anh Phuon ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 ประเทศเวียดนาม โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน Nguyen Thi Nga พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและท้องถิ่น อาทิ นาง Nguyen Thi Minh นาย Mr. Do Thanh รองผู้อำนวยการกรมประชาสัมพันธ์เมืองฟูเถาะ นาย Nguyen Van Hao, Mr. Ngo Xuan Ban, Mrs Hoang Thi Hien ภาควิชามัธยมศึกษา กรมสาธารณสุขเมืองฟูเถาะ นาง Ta Thi Mai Hong และนาย Nguyen Vinh Long แผนกวิเทศ สัมพันธ์เมืองฟูเถาะ นาย Phan Trong Duc หัวหน้าแผนกโยธาธิการอำเภอทานห์ซัน (Thanh Son) และ ครูและนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเฮืองเกิ่นให้การต้อนรับ

ในงานนี้ได้มีการแสดงการละเล่นเพลงร้องรำของชาวชนเผ่า โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเมืองฟูเถาะ และผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมเยือน โดยมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยนักเรียนชนเผ่า ครู Ha Anh Phuon และประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ซึ่งได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การต้อนรับและแสดงความชื่นชมนักเรียนและครู Phoung ที่มุ่งมั่นพัฒนานักเรียน โดยเชื่อมั่นว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญของอนาคตของประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังได้มีการแสดงนำเสนอผลงานของนักเรียนในกลุ่มชมรมภาษาอังกฤษของโรงเรียน โดยนำเสนอโครงการบูรณาการสหวิทยาการ “การป้องกันความรุนแรงในพื้นที่ไซเบอร์” ซึ่งเป็นโครงการที่มีส่วนในการเผยแพร่ค่านิยมเชิงบวกแก่นักเรียน ครูในประเทศและอีก 22 ประเทศทั่วโลก

จากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิฯ ยังได้ร่วมประชุมกับคณะบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนและเมืองฟูเถาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นการพัฒนาครูและการศึกษา โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับครูและนักเรียนระหว่างประเทศเวียดนามและไทย อึกทั้งยังได้เยี่ยมชมห้องเรียนและแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักเรียนในโรงเรียนมัยธมศึกษาเฮืองเกิ่น

NameSizeHits
NameSizeHits
22. จดหมายข่าว
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 1-2566 กุมภาพันธ์ 25663.1 MiB47
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 10-2566 3 - 6 ตุลาคม 25665.7 MiB53
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 2-2566 มีนาคม-เมษายน 25663.2 MiB72
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 3-2566 พฤษภาคม 25665.0 MiB73
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 4-2566 26-29 มิถุนายน 25664.8 MiB76
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 5-2566 3-5 สิงหาคม 25663.5 MiB280
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 6-2566 16-18 สิงหาคม 25665.2 MiB78
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 7-2566 5-8 กันยายน 25664.1 MiB51
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 8-2566 13-15 กันยายน 25662.0 MiB81
จดหมายข่าว ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 9-2566 26-30 กันยายน 25662.2 MiB53
จดหมายข่าวครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 2-2566 มีนาคม-เมษายน 25662.6 MiB262
จดหมายข่าวครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 3-2566 พฤษภาคม 25665.0 MiB296

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ครู Marcelo T. Otinguey : ชีวิตนี้เพื่อเด็ก ๆ และชุมชน

ครู Marcelo T. Otinguey : ชีวิตนี้เพื่อเด็ก ๆ และชุมชน

ครู Marcelo T. Otinguey เป็นชาวเมือง Benguet ทางตอนเหนือของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอายุ 51 ปี สอนอยู่ที่ Governor Bado Dangwa Agro-Industrial School ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ครูเคยเรียนสมัยอยู่วัยเรียน จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย Benguet State ณ เมืองบาเกียว หลังจากจบการศึกษา นาย Marcelo ตั้งใจกลับมาสอนในโรงเรียนนี้ซึ่งเป็นโรงเรียนเดิมที่เคยเรียนจบ ด้วยเพราะต้องการตอบแทนชุมชนที่ตนเติบโตมา ซึ่งเป็นชุมชนของกลุ่มชนพื้นเมืองในท้องถิ่น คือ Kankanaey และ Ibaloi ที่สำคัญเนื่องจากครู Marcelo เป็นชนพื้นเมืองจึงเข้าใจความต้องการของเด็ก ๆ และชุมชน ครูกล่าวว่า

“ผมเป็นเพียงเครื่องมือในการเริ่มต้น” “ผมอยากเป็นตัวอย่างของการฝ่าฟันอุปสรรคในชีวิตให้กับนักเรียนและชุมชน”

ครู Marcelo T. Otinguey

ครู  Marcelo จึงได้ริเริ่มโครงการมากมายเพื่อสนับสนุนโรงเรียนและชุมชน โดยเมื่อเริ่มสอนในปี พ.ศ. 2539 ก็ได้ริเริ่มการสอนเรื่องพลเมืองศึกษาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่พลเมืองในชุมชน ทั้งนี้ในระหว่างที่สอน ครูได้ตระหนักว่ายังมีประชากรกลุ่มอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ผู้พิการและผู้ยากไร้ ดังนั้นครูจึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากในด้านต่างๆ อาทิ จัดหาอาหาร เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน และเชื่อมโยงผู้พิการกับกลุ่มสนับสนุนผู้พิการ (PWD- people with disability) เช่น การรับ/ส่งต่อรถเข็นวีลแชร์เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ โดยครูเริ่มด้วยการเตรียมข้อเสนอเพื่อขอทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน และดำเนินงานไปพร้อม ๆ กับการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับชุมชนและแหล่งทุน

ครู Marcelo ยังจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เช่น ทักษะการแปรรูปอาหาร การแต่งผม ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการฝึกซ้อมแผ่นดินไหวเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเนื่องจากพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังริเริ่มรถบัสการอ่านเพื่อเพิ่มทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยขอความอนุเคราะห์ภาคเอกชนจัดซื้อรถบัสเก่าให้เป็นห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อให้ชุมชนห่างไกลได้มีหนังสืออ่าน ซึ่งความตั้งใจของครูคือการเข้าถึงนักเรียนในชุมชนห่างไกล สอนพวกเขาให้รู้หนังสือ รวมถึงการช่วยเหลือกลุ่มยากจนและชนพื้นเมือง อีกทั้งยังส่งเสริมและสร้างโอกาสการเรียนต่อในระดับสูงให้กับนักเรียน โดยการจัดหาแหล่งทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาต่อ และส่งต่อไปยังมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ของครู คือ การไปเคาะประตูคนรู้จักและญาติ ๆ เพื่อขอทุนสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ และค่อย ๆ ขยายไปสู่หน่วยงานเอกชน โดยการสร้าง “ความไว้วางใจ” ในการเป็นหุ้นส่วนกับภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ โดยมีวิธีการคือการรายงานให้พวกเขาทราบเป็นประจำแสดงความคืบหน้าและรายรับรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานสิ่งที่ท่านทำอย่างโปร่งใสให้สาธารณชนได้เข้าใจและตระหนักว่าท่านได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน ซึ่งถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จที่ทำให้ครูได้รับการสนับสนุนการทำงาน ครู Marcelo รักษาความไว้วางใจและได้รับการสนับสนุนจาก TESDA เป็นเวลา 15 ปี 

ผลที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนส่วนใหญ่จากโรงเรียนของเขาศึกษาต่อที่ Benguet State College ทำให้ครูเป็นที่รู้จักในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยในชื่อ “Mr. Otinguey – ครูที่ดีที่สุดใน Benguet”  เด็ก ๆ ในเบงเกทมองครูเป็นแรงบันดาลใจ โดยครู Marcelo อ้างว่า มีคำพูดจากพระคัมภีร์ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ครูอยากช่วยเหลือผู้อื่นนั่นคือ “When I’m naked, you clothed me. When I’m in prison, you visited me.” ด้วยคำพูดนี้ ครูรู้สึกว่า ควรช่วยเหลือคนที่ต้องการมากที่สุดและช่วยพวกเขาที่สิ้นหวัง

สิ่งที่เป็นความท้าทายกับนักเรียนของครู คือการขาดเรียนและทัศนคติในการเรียน เพราะเด็ก ๆ ไม่เห็นความจำเป็นในการเรียน การนำนักเรียนที่ตกออกกลับมาและเปลี่ยนทัศนคติโดยจับคู่กับนักเรียนที่เรียนดีเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไปเยี่ยมนักเรียนที่บ้านและในหอพักเพื่อดูว่านักเรียนเป็นอย่างไร และหาวิธีช่วยให้เด็ก ๆ เอาชนะความท้าทายและกลับไปโรงเรียน  โดยครูมองเห็นบทบาทสำคัญในการเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากครอบครัวของนักเรียนหลายคนประสบปัญหาทางการเงิน ครูจึงได้จัดโรงเรียนนอกระบบหลังเลิกเรียนสัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยให้นักเรียนตามทันและเรียนรู้ บางครั้งก็จัดการฝึกทักษะ เช่น คอมพิวเตอร์พื้นฐาน การแปรรูปมันสำปะหลัง การทำเบเกอรี่ ครูร่วมเป็นหุ้นส่วนกับธุรกิจผ้าในท้องถิ่น เช่น Narda บริษัทเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงในฟิลิปปินส์ในการทอผ้า เพื่อให้นักเรียนของเขาได้เรียนรู้ทักษะการทอผ้าผ่านการฝึกอบรมในชุมชน โดยต้องการขยายขอบเขตความคิดของนักเรียนและชุมชน และกล่าวทิ้งท้ายว่า “ข้าพเจ้าเป็นหนี้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เพราะมูลนิธิฯ สนับสนุนให้ได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือนักเรียนและชุมชนต่อไป และรู้สึกภูมิใจที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี”

(ครู Marcelo Otinguey, ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2562, 17 กุมภาพันธ์ 2566)

เรียบเรียง คณะทำงานวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็เจ้าฟ้ามหาจักรี

จดหมายข่าว
ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 1/2566 (กุมภาพันธ์ 2566) เดินทางเยี่ยมเยือนครู Marcelo T. Otinguey ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2564

เดินทางเยี่ยมเยือนครู Marcelo T. Otinguey ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2564  เมืองเบงเกต เกาะลูซอน

เดินทางเยี่ยมเยือนครู Marcelo T. Otinguey ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2564 เมืองเบงเกต เกาะลูซอน

17 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและคณะกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประจำกรุงมะนิลา และเจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์
เดินทางโดยรถยนต์ไปยังGovernor BadoDangwa Agro-Industrial school จังหวัดเบงเกต (Benguet) ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่บนหุบเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลูซอนทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เพื่อเยี่ยมเยือน Mr. Marcelo T. Otinguey  ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2564

โดยมี Ms. Gloria B. Buya-Ao  ผู้อำนวยการกองกำกับการโรงเรียนMr. Hon. Manny E. Fermin นายกเทศมนตรีเทศบาล Mr. Sasha Joseph Daganos Ms. Cherrelene A. Comom, EdD ผู้อำนวยการโรงเรียน Ms. Marina B. Palos เจ้าหน้าที่ ADA IV พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนร่วมต้อนรับ  

ในการนี้คณะเยี่ยมเยือนได้รับฟังการสรุปการดำเนินงานของครู
Marcelo T.Otinguey และคณะที่ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ Student Entrepreneurship Program ที่ได้ทุนสนับสนุนและวิทยากรจาก TESDA (Technical Education and Skills Development Authority) คณะกรรมการการอาชีวศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งให้นักเรียนจัดทำแผนธุรกิจเพื่อสร้างผู้ประกอบรุ่นใหม่ โดยร่วมกับครูประทิน เลี่ยมจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศไทยปี 2564 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และยังร่วมกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประเทศบูรไนดารุสลามด้วย โดยมีการนำผลผลิตจากธุรกิจด้านอาหาร เช่น ขนมปังมันม่วง คุกกี้ และผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ารีไซเคิลมาให้แด่คณะผู้มาเยี่ยมเยือนได้ชิมและชมผลงาน

คณะกรรมการมูลนิธิ ยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับครู Marcelo ในด้านแรงบันดาลใจในชีวิตและเส้นทางความเป็นครูที่มุ่งสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงให้กับเด็กชนเผ่าบนพื้นที่สูงเพื่อให้มีโอกาสได้รับการศึกษาต่อเนื่องและสามารถมีอาชีพพึ่งพาตนเองได้ โดยเริ่มจากการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง และเห็นความยากจนของเด็ก ๆ และชุมชนซึ่งประชากรเป็นชนพื้นเมือง จึงได้ริเริ่มงานที่ช่วยเหลือเด็กและชุมชนที่ยากลำบาก อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างทักษะการอ่านที่เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญให้กับเด็กและคนในชุมชนผ่านโครงการรถบัสการอ่านโดยร่วมกับเอกชนและผู้มีจิตศรัทธา รวมถึงการสร้างโอกาสให้กับเด็กได้ศึกษาต่อในระดับสูง โดยหาทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนต่อในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งยังขยายผลการดำเนินงานครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้พิการและยากไร้ในพื้นที่ด้วย

ภาพประกอบข่าว:

จดหมายข่าว
ครูไทยพบครูเทศ ฉบับที่ 1/2566 (กุมภาพันธ์ 2566) เดินทางเยี่ยมเยือนครู Marcelo T. Otinguey ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2564

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

16 ธันวาคม 2565 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นำคณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมี ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา พร้อมด้วยกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมถวายดอกไม้ และร่วมลงนามถวายพระพร ขอพระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรและทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงโดยเร็ววัน ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 7 หัวข้อ “การศึกษาเปลี่ยนชีวิต”

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 7 หัวข้อ “การศึกษาเปลี่ยนชีวิต”

วันเสาร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30-12.00 น.

วิทยากรเสวนา ดังนี้

  1. ครูเกษมสุข ชัยชิตาทร ครูขวัญศิษย์ 2562 วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    “ครูผู้สร้างนวัตกรรม ไม่หยุดนิ่งต่อความเปลี่ยนแปลง ให้โอกาส สร้างอาชีพ และทุ่มเทเพื่อศิษย์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู”
  2. ครูวารุณี เอี่ยมอารมณ์ ครูขวัญศิษย์ 2564 วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี กรุงเทพมหานคร “ครูผู้ใช้วิชาการบัญชี สร้างโอกาส สร้างอนาคตศิษย์สายอาชีพ”
  3. ครูปิติกร ขำอ่อน ครูยิ่งคุณ 2562 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม “ครูผู้ส่งเสริมให้ศิษย์มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง พร้อมกับสร้างผลงานจากทีมหุ่นยนต์หอยหลอด ชุดสาธิตการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้านด้วย Smart Phone และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ”
  4. ครูสิทธิศักดิ์ อาจหาญ ครูขวัญศิษย์ 2564 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ “ครูผู้ใช้ PBL ผสานความรู้ทั้งเกษตร เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และการวิจัย ส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับศิษย์”
  5. ครูประเสริฐ แสงโป๋ ครูยิ่งคุณ 2560 วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครูนักประดิษฐ์ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตศิษย์ ร่วมสะท้อนวงเสวนา

ผู้ดำเนินรายการ : นายจิรศักดิ์ อุดหนุน
ครูทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังและรับชมเวทีเสวนาได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี is inviting you to a scheduled Zoom meeting.
Topic: เสวนาออนไลน์ครั้งที่ 7 หัวข้อ การศึกษาเปลี่ยนชีวิต

Time: Nov 26, 2022 09:00 AM Bangkok

Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/83156215696?pwd=eFpicWhMakZNbVMyZkc2NHFaY05oUT09

Meeting ID: 831 5621 5696
Passcode: 844171

The 4th PMCA Forum : Show & Share

The 4th PMCA Forum : Show & Share

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 และการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หัวข้อ “มุ่งสู่ความเสมอภาคร่วมกัน” โดยความร่วมมือกับกระทรวงศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และองค์การระหว่างประเทศ อาทิ UNICEF และ UNESCO           

ในการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นที่ 4 ปี 2564 นอกจากจะได้ถวายรายงานสรุปภาพรวมการทำงานของครูในแต่ละประเทศแล้ว ยังจัดให้มีกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน (Plenary Session) เรื่อง “Student Entrepreneurship Program” และ “Teaching Languages to indigenous/ minority group of students:  sharing practices & lessons learned” โดยมีครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและนักวิชาการชั้นนำร่วมเสวนา

การประชุมดังกล่าวยังได้จัดกิจกรรม Show & Share ให้หัวข้อต่าง ๆ ที่ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในรุ่นที่ 4 เป็นผู้นำเสนอประสบการณ์และความรู้ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยมีครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่น 1-3 ร่วมเป็นวิทยากรในห้องต่างๆ เพื่อแบ่งปันให้กับครูผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ ได้แก่ หัวข้อ “ARISE: A Novel Learning Model on Socio Scientific Issue for Social Literacy Solutions” จากประเทศอินโดนีเซีย  “Language Learning through Playing Games” จากสหพันธรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เรื่อง “ STEAM For Innopreneur” จากประเทศไทย “Using PhET Program in  Science Experiment” จากสปป.ลาว  “Learning through Making” จากครูประเทศกัมพูชา  “Learning with Rich Texts” จากสิงคโปร์ “ Mission To Mars” จากประเทศมาเลเซีย “How to Serve Bread” จากเนอการาบรูไนดารุสลาม “Teaching Method by EGRA model (EGRA : Explore Generalization Reinforcement” จากประเทศติมอร์-เลสเต “Cultural Mapping and Contextualization” จากประเทศฟิลิปปินส์ “Teaching English in the Digital Age” จากประเทศเวียดนาม

      งานวิชาการดังกล่าว ก่อให้เกิดความประทับใจและแรงพลังจากครูไทย และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากห้องประชุมและทางออนไลน์ ก่อให้เกิดพลังของการขับเคลื่อนเครือข่ายครูและเครือข่ายทางการศึกษา อันนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการและการขยายผลการทำงานต่อเนื่องไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ถ่ายทอดสด
ประมวลภาพพิธีเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ 17 ตุลาคม 2565
ประมวลภาพกิจกรรม show&share 18 ตุลาคม 2565
ประมวลภาพทัศนศึกษาวัฒนธรรมและการศึกษาไทย 19 ตุลาคม 2565
กิจกรรม show & share

งานแถลงข่าว “การสรรหาครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5”
ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 6 หัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อโลกที่ยั่งยืน :  “วิทยาศาสตร์กับผู้เรียนยุคใหม่”

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 6 หัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อโลกที่ยั่งยืน : “วิทยาศาสตร์กับผู้เรียนยุคใหม่”

วันพฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30-12.00 น.

วิทยากรเสวนา ดังนี้

  1. ครูกล่อมจิต ดอนภิรมณ์ ครูคุณากร ๒๕๖๔ โรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

    ครูกล่อมจิต “ครูผู้อุทิศชีวิตพาลูกศิษย์ค้นพบศักยภาพ สร้างคุณูปการแก่ชุมชน” ด้วยจุดยืนที่ยึดมั่น “ศรัทธาในความฝัน มุ่งมั่นในหน้าที่ ทำความดีเพื่อแผ่นดิน และไม่เคยกลัวงานหนักเพราะรักในอาชีพครู” ใช้ห้องเรียนที่มีชีวิตชีวาด้วยการนำกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์มาบูรณาการร่วมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียน เน้นการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และเกิดองค์ความรู้ที่คงทน สร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและเกิดผลสำเร็จที่ยั่งยืนทั้งการเรียนรู้ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน จนกลายเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนตื่นตัวช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร อากาศ ยารักษาโรค
  2. ครูปุณยาพร ผิวขำ ครูคุณากร ๒๕๖๒ โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม จ.มุกดาหาร

    “การศึกษาของเราไปไม่ไกล เพราะครูมีแต่เอาความรู้ไปใส่เด็ก ๆ แต่ไม่สร้างเครื่องมือให้พวกเขา” เธอกล่าว “ทุกขั้นตอนครูต้องอยู่ตรงนั้น เหมือนโค้ช ถ้าเขาทำผิดพร้อมที่จะเสริมแรง โยนประโยคบางอย่างทำให้เขามีแรงที่จะทำต่อไป” แนวทางการสอนที่ยึดมั่นของ “ครูปุณ” “ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ดึงความรู้ทางนาโนเทคโนโลยีกระตุ้นการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่การแก้ปัญหาชุมชน” ครูผู้เติมเต็มโอกาสให้เด็กโรงเรียนมัธยมในอีสาน ด้วยโครงงานของนักเรียนที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในท้องถิ่น
  3. ครูอารมณ์ เบสูงเนิน ครูขวัญศิษย์ ๒๕๕๘ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี

    “ครูอารมณ์” ครูผู้ปลูกฝังจิตอาสาแก่เด็กๆสู่กลุ่ม “กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก” ช่วยเฝ้าระวังสายน้ำป่าสัก ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ส่งเสริมการแก้ปัญหา สู่การอนุรักษ์ร่วมกันแก่ท้องถิ่น ด้วยการสร้างกระบวนการคิดที่เปิดสมองของเด็กในเรื่องของการปลุกเร้าความคิดสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่มีจิตอาสาจิต และความเป็นนักสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนต่างชุมชน
  4. ครูชาญ เถาวันนี ครูขวัญศิษย์ ๒๕๖๔ โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี

    ครูชาญ “ครูผู้เปลี่ยนวิชาที่เหมือนยาขม ให้กลายเป็นขนมหวาน” “ครูผู้สร้างนวัตกรรุ่นเยาว์ เพื่อสร้างนวัตกรรมแก่สังคม” โดยเน้นการฝึกความคิดอย่างมีระบบ นักเรียนมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ใช้วัสดุท้องถิ่นในการทำโครงงาน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผสมผสานองค์ความรู้ในรายวิชาต่างๆจนทำให้ยาขมเม็ดใหญ่อย่างฟิสิกส์ กลายเป็นขนมหวานที่น่าทานสำหรับเด็กๆ นักเรียนได้สนุกกับการคิด ได้ทำโครงงานที่มีความสำคัญและช่วยเหลือชุมชนหลายอย่าง

    ผู้ดำเนินรายการ : นายจิรศักดิ์ อุดหนุน

    ครูทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังและรับชมเวทีเสวนาได้ที่
    https://us02web.zoom.us/j/84393533814?pwd=dVlBbXlTelAwb25iTFRXdnRneTZVQT09
    Meeting ID: 843 9353 3814
    Passcode: 833383
เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

เปิดรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 สุดยอดครู 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์- เลสเต  รมว.ศธ. ห่วงความรู้ถดถอยของผู้เรียน ย้ำมาตรการก่อนเปิดภาคเรียนโรงเรียนต้องมีอิสรภาพ ออกแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ครูประทินเผยบทบาทของครูในยุคโควิด-19 การศึกษาต้องยืดหยุ่น กระชับหลักสูตร พบหัวใจความเป็นครูลงพื้นที่เอาความรู้ไปถึงตัวเด็กเมื่อออนไลน์เข้าไม่ถึง

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในงานแถลงข่าวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 บทบาทความเป็น ‘ครู’ ในยุคโควิด-19 โดยมี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ร่วมแสดงความยินดีแก่ครูผู้ได้รับรางวัล 

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์  และมีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาในประเทศอาเซียนและติมอร์ เลสเต รวม 11 ประเทศ ประเทศละ 1 รางวัล โดยจัดมอบรางวัลในทุก 2 ปี และเพื่อถวายเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักการศึกษา โดยความร่วมมือของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

ประกาศ รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 2564

สำหรับครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มาจากการคัดเลือกของกระทรวงศึกษาธิการในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ทั้ง 11 ประเทศ โดยมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา ประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีกำหนดพิธีพระราชทานรางวัล ในวันที่ 29 ตุลาคมนี้ ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้

  1. บรูไน ดารุสซาลาม เปองีรัน ฮาจี โมฮัมหมัด วาฮับ บิน เปองีรัน ฮาจี อับดุลละฮ์ สอนวิชาศิลปะการประกอบอาหาร ที่ School of Hospitality and Tourism, IBTE Sultan Saiful Rijal Campus สายอาชีพ มีประสบการณ์และทักษะการสอนกว่า 20 ปี  เป็นผู้นำในการจัดหลักสูตรการปรุงอาหารและการบริการแบบมืออาชีพ จัดทำหลักสูตรการบริหารจัดการอาหารแบบครบวงจร
  2. กัมพูชา นายณอน ดารี สอนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียน Quach Mengly Toulbeng, จังหวัด Kampong Cham เริ่มใช้การบูรณาการการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและทำวิจัยในชั้นเรียนโดยให้ความสำคัญกับทักษะและการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นสำคัญ
  3. อินโดนีเซีย  น.ส.คอรีอิยะฮ์ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา SMP Negeri 32 Bandar Lampung จังหวัด Lampung นับเป็น“Resource Person”ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม “Webinar”จากกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม
  4. สปป ลาว นางแสงเพ็ด คูนปะเสิด หัวหน้าวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมศึกษาอุดมไซ (Oudomxay) สอนวิชาฟิสิกส์และพัฒนาหลักสูตรการสอนในระดับ ม.ปลาย และเผยแพร่ให้กับโรงเรียนอีก 14 แห่งที่เมืองไซ (Xay) เป็นวิทยากรระดับจังหวัดในวิชาวิทยาศาสตร์และมีงานเขียนเอกสารทางวิชาการ
  5. มาเลเซีย นายโนร์ฮาอิลมี อับดุล มูตาลิบ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษา SMK Jerlun รัฐเคดาห์ ครูต้นแบบการสอน STEM ศึกษาระดับประเทศ ได้รับการเสนอให้เป็น “Master Trainers for Inquiry-Based Science”  ในระดับประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการสอนแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  6. เมียนมา นายจอร์ ซิน ออง ครูผู้ช่วยสอนอาวุโส (Senior Assistant Teacher) และสอนภาษาอังกฤษที่  No.8 Basic Education Middle School เมืองลาโชว์ รัฐฉาน ได้รับรางวัลครูดีเด่นระดับโรงเรียน และรางวัล Outstanding Teacher Award ระดับรัฐ
  7. ฟิลิปปินส์ นายมาเซโล ที โอทินเควท หัวหน้าครูในระดับพื้นที่ 5 โรงเรียน Governor Bado Dangwa Agro-Industrial, Kapangan, Benguet ผู้ประสานงานเก็บรวบรวมเอกสารคลังข้อมูลชนพื้นเมือง และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนในหลายบริบท
  8. สิงคโปร์  นายหยก จูน เม็ง หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษและสังคม โรงเรียนประถมศึกษา Yu Neng นำ ICT เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ บูรณาการการคิดและวิเคราะห์ การใช้ Coding และมีการทำแผนภาพการใช้ ICT บูรณาการกับโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน
  9. ติมอร์-เลสเต นายวีเซ็นเต มาร์กัล ดา ซิลวา ผู้อำนวยการและสอนภาษาอังกฤษ–โปรตุเกส โรงเรียน Ensino Central Tirilolo Baucau (The Central Basic School of Tirilolo Baucau Vila) มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกีฬาในโรงเรียน และการฝึกอบรมครูและนักเรียนของประเทศ
  10. เวียดนาม  น.ส.ฮ่า หัน เฟื่อง สอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมศึกษา Huong Can จังหวัด Phu Tho พัฒนาการเรียนการสอนแบบห้องเรียนไร้พรมแดนให้เด็กนักเรียนบนพื้นที่สูงและเด็กชนเผ่า และบูรณาการวิชาภาษาอังกฤษเข้าไปในการเรียนการสอน เชื่อมโยงกับสังคมยุคใหม่ด้วยแนวคิดการเป็นพลเมืองโลก
  11. ไทย น.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ สอนวิชาการตลาดและเศรษฐศาสตร์ ระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนแผนธุรกิจ เป็นที่ปรึกษาธุรกิจของผู้เรียนอาชีวศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ “บางพัฒน์โฮมสเตย์” ที่ดำเนินการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ โดยครูที่ได้รับรางวัลคุณากร ปี 2564 จำนวน 3 ราย คือ น.ส.กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ร.ร.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ครูผู้เติมเต็มศักยภาพให้แก่ลูกศิษย์ที่หลากหลายวิธี โดยเชื่อว่าทุกคนเป็นดาวเด่นในตัวเอง นางสุมิตรา กลิ่นบุบผาร.ร.บ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร แม่ครูที่ทำให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์อ่านออกเขียนได้ และไม่เคยทอดทิ้งนักเรียนและชุมชน  และนายสิทธิชัย จันทร์คลาย ร.ร.บ้านไทยสามัคคี จ.สระแก้วครูผู้ใช้ศิลปะเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์สู่การพัฒนาความถนัดของผู้เรียน

ประกาศ รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลคุณากร รางวัลครูยิ่งคุณ และรางวัลครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 4 ปี 2564

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าขอแสดงความยินดีกับครูที่ได้รับรางวัลและประทับใจในความทุ่มเท เสียสละ ไม่ว่าลูกศิษย์จะมีต้นทุนชีวิตที่ต่างกันอย่างไรแต่ครูมองเห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในลูกศิษย์ สามารถสร้างให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้ บทบาทของความเป็นครูในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกที่ 3 เป็นโจทย์ท้าทายที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของลูกศิษย์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และความปลอดภัยของผู้เรียนแล้ว ก็ต้องดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเพื่อนครูด้วยกันอีกด้วย สิ่งที่ตนห่วงใยคือ ปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยของผู้เรียน หรือ learning loss ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย อันเป็นผลมาจากการใช้มาตรการการจัดการศึกษาเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการปิดโรงเรียน และใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนทางไกลควบคู่กับการเรียนในสถานที่ สิ่งนี้อาจทำให้นักเรียนเกิดภาวะ Learning Loss หรือความรู้ที่หายไป ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

“ความห่วงใยที่เกิดขึ้นจึงขอฝากแนวคิดการจัดการศึกษาภายใต้หลักความปลอดภัยของครูในยุคโควิด-19 ไว้ 4 ประการ คือ 1. ครูต้องหมั่นสำรวจความพร้อมของผู้เรียน เพื่อวัด Learning loss และดำเนินการเติมเต็มช่องว่างการเรียนรู้ที่หายไป ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ เพื่อเติมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. การหมั่นสำรวจสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของผู้เรียนและเพื่อนครู 3. การติดตามข้อมูลผลกรทบทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และ 4. การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในชีวิตและการเดินทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อความปลอดภัยจากการระบาดของเชื้อ และเพื่อให้โรงเรียนรู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อออกแบบแนวทางแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทั้ง 4 ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ โรงเรียนต้องมีอิสรภาพในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตามบริบทสถานการณ์ในพื้นที่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว

สำหรับบทบาทของครูในยุคโควิด-19 น.ส.ประทิน กล่าวว่า จากประสบการณ์ระบาดเมื่อปีที่แล้วทำให้ครูต้องเปลี่ยนบ้านเป็นโรงเรียน การศึกษาต้องมีความยืดหยุ่น โดยการเรียนออนไลน์ไม่เกิน 2 วิชาต่อ 1 วัน ซึ่งต้องบูรณาการวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน ครูต้องกระชับหลักสูตรสอนเนื้อหาที่ต้องรู้ ส่วนเนื้อหาที่ควรรู้ก็ปรับรูปแบบเป็นใบงานให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อฝึกปฏิบัติจากสิ่งใกล้ตัว อย่างไรก็ตามสถานการณ์สึนามิเกิดขึ้นครั้งเดียวแต่การระบาดของโควิดส่งผลกระทบถึง 3 ระลอก ซึ่ง จ.พังงา เป็นเมืองท่องเที่ยวและได้ผลกระทบทำให้ลูกศิษย์ที่ยากจนที่สุดที่ได้รับทุนนวัตกรรมสายอาชีพและเรียนสาขาการท่องเที่ยวกังวลเรื่องการมีงานทำเมื่อจบมา ครูจึงต้องสร้างความมั่นใจและสอนให้ติดตามข่าวสารเพื่อให้ปรับตัวได้เร็ว

     นางสุมิตรา กล่าวว่า บ้านโละโคะเป็นพื้นที่ 2 ชนเผ่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้พูดภาษาไทย การปิดเทอมที่ยาวนานทำให้การรู้ภาษาไทยหายไป คณะครูจึงต้องออกมาสอนตามบ้านและให้ใบงานเพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าหมู่บ้านได้ครูก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในหมู่บ้าน ทำตัวให้ปลอดเชื้อเป็นตัวอย่าง เก็บตัว สวมหน้ากากอยู่ตลอดเวลา

น.ส.กล่อมจิต กล่าวว่า การสอนผ่านออนไลน์ที่ผ่านมาเกิดช่องว่างการเรียนรู้ พบว่าเด็ก ร้อยละ 60เข้าห้องเรียน อีกร้อยละ 40 ไม่สามารถเข้าห้องเรียนได้ เพราะบางคนเรียนออนไลน์ผ่านมือถือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ขาดอุปกรณ์ สถานที่ไม่เอื้อต่อการเรียน และอีกกลุ่มคือขาดความรับผิดชอบ ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนก็ขาดความเข้าใจ ซึ่งการแก้ปัญหาเด็ก ร้อยละ 40 ที่หายไป จึงพัฒนา“ศูนย์เรียนรู้ประจำชุมชน” โดยมีอาสาสมัครและครูเข้าไปจัดการสอนในชุมชน

   ขณะที่นายสิทธิชัย กล่าวว่า การสอนออนไลน์ที่ผ่านมาไม่ได้ผล เพราะเด็กที่มีโทรศัพท์ไม่ถึง ร้อยละ 20 และผู้ปกครองขาดรายได้ จึงปรับรูปแบบการสอนด้วยการบูรณาการวิชาเรียนในรูปแบบโครงงาน เช่น การเรียนเรื่องสี่เหลี่ยมที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ ศิลปะ และภาษาไทย โดยสอน 2 รูปแบบทั้งออนไลน์และการแจกใบงานสำหรับเด็กที่เข้าไม่ถึงออนไลน์    

ภาพประกอบข่าว

NameSizeHits
NameSizeHits
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 11 ประเทศและติมอร์เลสเต3.7 MiB9286
ทำเนียบครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 4 ปี 2564134 MiB1206
ประกาศ รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลคุณากร รางวัลครูยิ่งคุณ และรางวัลครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 4 ปี 25642.3 MiB28662
ประกาศ รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 ปี 25640.4 MiB9186

ข่าวที่เกี่ยวข้อง