มูลนิธิฯ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเครือข่ายครู สปป.ลาว

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้จัดกิจกรรม การอบรมชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 ในเรื่อง “การพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน” ให้กับคณะครูโรงเรียน ประถมทุ่งกางและโรงเรียนเครือข่าย และเครือข่ายครูในเมืองเวียงจันทน์ จำนวน 18 โรงเรียน โดยมี คุณครูคูนวิไล เคนกิตติสัก ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำปี 2560 เป็นผู้นำขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา มีอาจารย์พรพิมล ทักษะวรบุตร อดีตศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และนางสาว ธนภัช  จันทนามศรี  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1  ได้เป็นวิทยากรจากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นผู้จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ

ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า
ผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

โดย ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรม และนางท่าน นางนิดตะยา วิสอนนะวง  หัวหน้าแผนกร่วมมือหลายฝ่าย (กรมร่วมมือกับต่างประเทศ) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว กล่าวปิดการอบรม โดยมีสถาบันรามจิตติ ทีมวิชาการมูลนิธิฯ ร่วมกับคุรุวัตรดำเนินการจัดกิจกรรม 

อาจารย์พรพิมล ทักษะวรบุตร อดีตศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
และนางสาว ธนภัช  จันทนามศรี  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1

ทั้งนี้ ในการอบรมดังกล่าว อาจารย์พรพิมล ทักษะวรบุตร ได้ออกแบบกระบวนการบนฐานความความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนสอนด้านภาษาและคณิตศาสตร์ให้เป็นกิจกรรมแบบ active learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยกระบวนการอบรมเป็นการให้ความรู้ผสมผสานกับเทคนิคการสอนและการจัดกิจกรรมเพื่อให้ครูนำไปใช้ได้ อาทิ กิจกรรมบริหารสมอง (Brain Gym) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียนในการสอนภาษา กิจกรรมการร้องเล่นและการสร้างเรื่องราว เช่น “คุณป้า” และ “ผีตัวดำ” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กิจกรรมนำเสนอเรื่องราวและบทร้องเล่น เช่น “ห่านอยากเป็นหงส์” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 โดยเน้นการอ่านและการพูดคุยโต้ตอบกับนักเรียน กิจกรรมการสะท้อนกระบวนการกิจกรรมร่วมกับครูผู้สอนโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ในอนาคต อีกทั้งยังยกจำลองกระบวนการรสอนนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กล่องมหัศจรรย์เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงความรู้เชิงจำนวนด้วยตัวเอง และเรียนรู้การบวก ลบ คูณ หาร ผ่านกิจกรรม

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการสะท้อนกระบวนการกิจกรรมร่วมกับครูผู้สอนโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งต่างสะท้อนร่วมว่าได้รับความรู้และเทคนิคการสอนที่ครูผู้เข้าร่วมยังจะนำความรู้ ที่ได้ไปแบ่งปันกับคุณครูที่โรงเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนในวงกว้างต่อไป

ทั้งนี้ กิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาครูสปป.ลาว เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายครูที่มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้สนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและครูในมูลนิธิฯ ได้เกิดเชื่อมโยงเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ปัจจุบันมีการขับเคลื่อนเครือข่ายครูในประเทศอาเซียนและติมอร์-เลเตบนโจทย์และความต้องการของครูและภาคีร่วมตามบริบทของประเทศ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนงานในส่วนของไทยในมูลนิธิฯ ทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงประเด็น และเชิงสาระการเรียนรู้ โดยหวังให้พลัง