“การจัดการศึกษาท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19” นักวิชาการไทย-รัสเซียร่วมถกทิศทางการศึกษา ผู้แทนมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมเสนอผลงานวิจัยจับกระแสการศึกษาไทยในสถานการณ์โควิด-19

16-17 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และเครือข่ายวิชาการ จัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซียความร่วมมือด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการวิจัย ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “การจัดการศึกษาท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19 : เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส” ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม โดยการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซียฯ นั้น เริ่มขึ้นจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธรัฐรัสเซียเมื่อปี 2560 ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ตั้งคณะทำงานการจัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย ด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และการวิจัย

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในการประชุมครั้งที่ 3 นี้ มีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาในหัวข้อ “การจัดการศึกษาของประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19” รวมทั้งมีนักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาจากไทย และสหพันธรัฐรัสเซียจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมการนำเสนอประสบการณ์การจัดการศึกษา ในวิกฤตการณ์ของโรคโควิด-19

ครูประทิน เลี่ยมจำรูญ
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564
จากวิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา


โดยในงานนี้ ครูประทิน เลี่ยมจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 จากวิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา ได้นำเสนอผลงานเรื่อง “Vocational Education in Thailand – Coping with COVID-19 Pandemic” ซึ่งได้ชี้ถึงสถานการณ์ของการปรับตัวทางด้านการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาไทย โดยได้ยกกรณีตัวอย่างสถาบันในระดับอาชีวศึกษาที่ได้มีการปรับกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มในอนาคต

รศ.ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์
กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
รองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.)


อีกทั้งยังมี รศ.ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.) ร่วมนำเสนองานวิจัยเรื่อง “STEM Education in Thai Universities under COVID-19 Pandemic Dr. Chawin Chantharasenawong, King Mongkut’s University of Technology Thonburi & Princess Maha Chakri Award Foundation” โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวด้านการจัดการศึกษา STEM Education ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย การ ปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 และทิศทางของการพัฒนาระบบการศึกษาในด้านนี้ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ

นอกจากนี้ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ยังได้นำเสนองานเรื่อง “COVID-19 Pandemic: Perspectives and Experience at Schools, Villages and Families Levels and Best Practices from Thailand and Southeast Asian Countries” โดยได้การประมวลความเคลื่อนไหวด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานจากประสบการณ์การจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจาก 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต  เครือข่ายครูไทยในมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และเครือข่ายครูในภูมิภาคต่างๆ เพื่อสะท้อนบทเรียนการทำงานและแง่คิดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 และทิศทางในอนาคต

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติ
ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเทคโนโลยีธนบุรี


ที่สำคัญในงาน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติ ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเทคโนโลยีธนบุรี ยังได้ร่วม “Presentation of Education Practices during COVID-19 Pandemic at K-12, Vocational and Higher Education Levels: Practice, Impact, Gain and Loss Co-Chairs: Dr. Krissanapong Kirtikara, Advisor to King Mongkut’s University of Technology Thonburi Dr. Vasilii Pavlov, Director of Sakha Junior Science Academy” ที่ได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างการดำเนินงานด้านการศึกษาในกรณีตัวอย่างห้องเรียนออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ไทย และกรณีที่น่าสนใจด้านการศึกษาในระดับต่างๆ

นอกจากนี้ในงานยังได้มีนักวิชาการจำนวนมากที่มาแปลเปลี่ยนผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 อาทิ Skolkovo Institute of Science and Technology , ซิริอุส เซ็นเตอร์ (Sirius Center) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ เป็นต้น มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และตัวอย่างการจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาจากพื้นที่ต่างๆ ในสาขาที่หลากหลาย  อาทิ การจัดการสอนวิชาเคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการจัดทำสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เป็นต้น โดยภาพรวมงานประชุมออนไลน์ครั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดสดผ่านการสตรีมมิงไปในนานาประเทศอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจสามารถ ความเคลื่อนไหวและดาวน์โหลดเอกสารการจัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ได้ที่ http://www.onec.go.th/us.php สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)

เรื่อง : สถาบันรามจิตติ
ภาพเพิ่มเติม : สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา https://www.cdti.ac.th/-1878