ประชุมวิชาการนานาชาติ Show&Share รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562

ประชุมวิชาการนานาชาติ Show&Share รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562


วันที่ 16-17 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มี
การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 2 โดยมีครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2560 จากประเทศอาเซียนและติมอร์-เลสเต และครูโรงเรียนต่างๆ และผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว โดยมีดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 2  

ทั้งนี้ ในงานมีประกอบด้วยการปาฐกาพิเศษจากผู้นำทางการศึกษาในต่างประเทศ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2560 และกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยครู 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต มาร่วมเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้  โดยในส่วนของการปาฐกาพิเศษ จัดให้มีการปาฐกาพิเศษจากผู้นำทางการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ในหัวข้อต่างๆ แล้ว ยังจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ทั้งในลักษณะการอภิปราย (Panel Session) ถึงผลงานของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี ๒๕๖๐ ที่เล่าถึงการทำงานและการขยายผลหลังจากได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีแล้วใน 3 มิติคือ 1) กลุ่มครูที่ทำงานโดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน  ได้แก่ สปป. ลาว ฟิลิปปินส์ และติมอร์เลสเต 2) กลุ่มที่เน้นการเรียนการสอนสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม และ 3) กลุ่มที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน  ได้แก่ กัมพูชา และอินโดนีเซีย  

นอกจากนี้ยังจัดให้มีกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Show and Share Session) ที่ให้ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2560 จาก 11 ประเทศ ได้มาแบ่งปันจัดกระบวนการเรียนรู้รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งในด้านเทคนิคการสอน การทดลองปฏิบัติ และนวัตกรรมในด้านต่างๆ โดยแบ่งเป็นห้องแห่งการแบ่งปันในหัวข้อต่างๆ อาทิ 

 เรื่อง “การใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน” โดยครูซาริปา เอมบง จากประเทศมาเลเซีย การใช้หนังสือพิมพ์เป็นวิธีสอนเพื่อดึงดูดนักเรียนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์” โดยครูสะรับจิต คอร์ บุตรี ฮาดิป ซิงห์ จากประเทศสิงคโปร์ “การสอนบนฐานวัฒนธรรม” โดยครูเฮซุส อินสิลาดา ประเทศฟิลิปปินส์ เรื่อง “ความเหมือนในความต่าง : เครื่องมือการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21” โดยครูจิรัฐ แจ่มสว่าง จากประเทศไทย เรื่องกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนบาเกีย (Baguia) โดย ครูลีโอ โปลดีนา โจนา กูเตเรส   จากประเทศติมอร์-เลสเต เรื่อง “เทคนิคการสอนเขียนเรื่องราวผ่านภาพ” โดยครูเอนชอน รามัน ประเทศอินโดนีเซีย “Student Engagement” โดยครูดี โสพอน ประเทศกัมพูชา เป็นต้น

ภาพบรรยากาศการประชุมวิชาการนานาชาติ 
วันที่ 17 ตุลาคม 2562
 ชั้น 22 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์  เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

16 ต.ค. 2562 ประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้ง 2 ปี 2562

16 ต.ค. 2562 ประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้ง 2 ปี 2562


วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๕๐-๑๑.๓๐ น. ในเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ณ ห้องประชุม World Ballroom ชั้น ๒๓ ได้จัดให้มีการ
ปาฐกถาพิเศษ ๑ เรื่อง “Teach with Purpose and Passion – Make a Difference” โดย Mrs. Chuan-Lim Yen Ching, รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ ผู้ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาครูในประเทศสิงคโปร์ 

โดยเวทีดังกล่าว คุณฉั่วในฐานะผู้นำทางการศึกษาได้ให้แง่คิดว่า การได้รับรางวัลของครูคือการได้รับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในฐานะที่เป็นผู้นำครู จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงกับครูคนอื่นและลูกศิษย์ และจะต้องมีเป้าหมายและแรงปรารถนา และสร้างอนาคตให้แก่นักเรียน โดยชี้ว่า “ การทำงานในฐานะนักการศึกษา จะต้องปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายและมีใจรักในการทำงาน เราต้องตั้งคาถามกับตัวเองอยู่เสมอว่า เพราะอะไรเราจึงทำงานนี้อยู่” 

โดยยกตัวอย่างการทำงานเสมือนริบบิ้นที่เส้นหนึ่งเปรียบเสมือนครูและอีกเส้นคือองค์กรซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นในฐานะครูควรตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้อย่างไร จะใช้การศึกษาเพื่อนำพาผู้เรียนไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

คุณฉั่นยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ซึ่งได้มี โครงการ North Light School เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนที่จะเรียนต่อในระดับสายอาชีพโดยรับอาสาสมัครครูเพื่อมาร่วมโครงการและพัฒนาเด็ก พร้อมยกตัวอย่างการช่วยเหลือนักเรียนรายกรณีทั้งเรื่องการสร้างโอกาสการเรียนรู้และการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่างวิธีการสอนและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่เข้าใจความแตกต่างของนักเรียน และสร้างความสุขสนุกสนานในการเรียนรู้ เช่นกรณีห้องเรียนศิลปะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความเห็นต่างได้แสดงความคิด หรือกรณีการจัดการในชั้นเรียนแบบเรียนรวมที่มีทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ซึ่งครูจัดให้มีคู่บัดดี้ช่วยเหลือและเลือกกิจกรรมที่สนองตอบความสนใจและการพัฒนาศักยภาพที่ต่างกัน 

คุณฉั่วย้ำว่า ชีวิตคนเราต่างต้องเผชิญสิ่งต่างๆ มากมาย ในจิตวิญญาณความเป็นครูก็ต้องเข้าใจในส่วนนี้ 

“ชีวิตครูเปรียบเสมือนดินสอที่จะใช้เขียนได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมือเรา หากต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง ก็จงขีดเขียนเรื่องราวให้เกิดขึ้น และดินสอยิ่งใช้ก็ยิ่งทู่ลง ครูจึงต้องเหลาตัวเองให้แหลมคมอยู่เสมอ แม้จะบาดเจ็บจากการถูกเหลา แต่ก็จะทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็งกล้าแกร่งมากขึ้น หากเขียนผิดพลาดพลั้งไปก็มียางลบที่สามารถแก้ไขได้เสมอ ชีวิตเรามนุษย์สามารถแก้ไขและลับคมให้ดีขึ้นได้เสมอได้เช่นกัน” 

สำหรับครูนั้น คุณฉั่วเห็นว่าหากมองทฤษฎีลำดับความต้องการของมาสโลว่า ลำดับที่สูงสุดในปีระมิดคือความสมบูรณ์ของชีวิต แต่คนเป็นครู จุดสูงสุดของครูคือ “การช่วยให้ผู้อื่นมีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น” การสอนของครูจึงเหมือนการสร้างงานหัตถกรรม หากนักเรียนคนใดหมาดหวัง ครูมีหน้าที่สร้างความหวังใหม่ให้นักเรียนให้เขามีแรงบันดาลใจมีความคิดและทัศนคติที่ดีต่อตนเองและการเรียนรู้ ครูควรร่วมแบ่งปันความรู้ เพราะความรู้หรือสิ่งที่เรามองว่าเล็กๆหนึ่งสิ่งเมื่อรวมกันไม่ใช่หมายถึงการเกิดสิ่งสองสิ่ง แต่จะเกิดเป็นสิ่งต่างๆ ที่มีจำนวนมากหลายที่ขยายพลังไปได้ สิ่งที่รามองว่าทำไม่ได้ (I can’t) สามารถกลายเป็นสิ่งที่เราทำได้ (I can) เพียงแค่เราเปลี่ยนมุมมอง มุ่งมั่นที่จะพาเด็กๆ ไปให้ถึงฝัน 

คุณฉั่วยังชี้ว่าภารกิจของครู  PMCA นั้นมีความหมายยิ่งที่คุณฉั่วเห็นว่าประกอบด้วยอักษรสี่ตัวคือ 

  • P (Purpose and passion) หมายถึง เป้าหมายและความรถนาอย่างแรงกล้า 
  • M (Make every moment is a teachable moment) หมายถึง ทำให้ทุกช่วงเป็นโอกาสในการสอน 
  • C (Continual learning is key) หมายถึง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ 
  • A (Affirmation and perseverance in the journey of teaching lives) หมายถึง ความยืนหยัดและความเพียร 

ตอนท้ายคุณฉั่นย้ำว่าเป้าหมายของครูอย่าลดมาตรฐานตัวเอง แต่ต้องมีแรงปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้เติบโตขึ้นอยู่เสมอ ที่สำคัญสำหรับครูคือการสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ได้นั้น “ครูต้องกล้าที่จะเปลี่ยนก่อน” 

 “ในการสร้างความแตกต่างเราไม่จำเป็นต้องตะโกนออกไปให้เสียงดังจนทุกคนได้ยิน แต่ต้องอาศัยความกล้าหาญพอที่จะแค่กระซิบบอกตัวเองว่า พรุ่งนี้ฉันจะทำให้ดีขึ้น”

 

ภาพบรรยากาศการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562
วันที่ 16 ตุลาคม 2562
ห้อง  World Ballroom ชั้น 23
ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ ปี 2562

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ ปี 2562

รมว.ศธ. มอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ ปลุกพลังเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีทุกพื้นที่ ยึดโยงการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ไม่โดดเดี่ยวในการทำงาน เพื่อบ่มเพาะการเรียนรู้ของลูกศิษย์

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดพิธีมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ ประจำปี 2562 ซึ่งมาจากการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย โดยความร่วมมือของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย  สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ ระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ครู ซึ่งมาจากการเสนอชื่อจากศิษย์เก่า และสถานศึกษาโดยผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้มอบรางวัล 

นายณัฏฐพล กล่าวว่า  ครูผู้ได้รับรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ คือครูดีเด่นที่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกในระดับต่างๆ ของการคัดเลือกครูรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่า ท่านสามารถอุทิศตนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของศิษย์และเมื่อได้อ่านประวัติของทุกท่านจะเห็นได้ว่าท่านสามารถ “ทำให้เด็กรักครู และทำให้ครูรักเด็ก” และเชื่อมั่นว่า เครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทุกท่านจะไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว แต่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อบ่มเพาะการเรียนรู้ของลูกศิษย์ 

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า การคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในส่วนของประเทศไทย มิใช่เพียงการคัดเลือกเพื่อยกย่องให้ได้รับรางวัลแล้วจบไป แต่เป็นการแสวงหากลุ่มครูเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยมีกิจกรรมร่วมกัน หรือที่เรียกว่า After Sale-services เพื่อให้ครูเครือข่ายรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จากการคัดเลือกครู 3 รุ่น ซึ่งมีอยู่กว่า 500 คน ในทุกจังหวัดได้มีประสบการณ์เพื่อนำกลับมาพัฒนาการศึกษาที่กว้างกว่าห้องเรียน ได้พัฒนาตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ในและต่างประเทศ

สำหรับครูคุณากร จำนวน 2 ท่านในปี 2562 คือ ครูดาบตำรวจคณิต ช่างเงิน ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองดี อ.อุ้งผาง จ.ตาก ครูผู้มุ่งมั่นสร้างโอกาสให้กับเด็กและชุมชนมากว่า 25 ปี ท่ามกลางพื้นที่สีแดงของการสู้รบของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ครูจึงทำหน้าที่ทั้งผู้นำการพูดคุย ช่างซ่อมอาคารเรียน นักการภารโรง หมอ และครูสอนเด็ก  และครูปุณยาพร ผิวขำ ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร จากเด็กขาดโอกาสที่มองว่า ในความไม่มีโอกาส ย่อมมีโอกาสเสมอ ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ครูจึงทุ่มเทสร้างโอกาสให้กับลูกศิษย์ ทำให้นักเรียนมัธยมศึกษาชนบทขนาดเล็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคะแนน O-NET เป็น 1 ใน 10 ของจังหวัด  

ส่วนครูยิ่งคุณ จำนวน 17 อาทิ ครูจันทร์แรม ดวงเพชร ผู้เป็นประทีปแห่งขุนเขาและป่าทึบ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูจึงเลือกเป็นครูที่โรงเรียนบ้านแม่หลองน้อย โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ท่ามกลางป่าทึบใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมุ่งมั่นการสอนให้เด็กชาวปกากะญอได้รู้หนังสือและมีงานทำ นำสาระท้องถิ่นเป็นหลักในการเรียนรู้ เช่น ทอผ้าภูมิปัญญากะเหรี่ยง ผลงานในสาระวิทยาศาสตร์เชิงภูมิปัญญา ครูชัยยศ สุขต้อ ครูเลือดนักสู้บนดอย โรงเรียนบ้านยางเปา จ.เชียงใหม่ ผู้ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคความยากลำบากเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของเด็กและตั้งปณิธานจะไม่ขอย้ายไปไหน ครูปิติกร ขำอ่อน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ตลอดระยะเวลา 23 ปี ครูตระหนักดีว่าสิ่งสำคัญของการสอนลูกศิษย์สายอาชีพคือการส่งเสริมให้ศิษย์มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง พร้อมกับสร้างผลงานจากทีมหุ่นยนต์หอยหลอด ชุดสาธิตหุ่นยนต์อัตโนมัติ ชุดสาธิตพัฒนาระบบเซอร์โวมอเตอร์เพื่อใช้กับหุ่นยนต์แขนอุตสาหกรรม ชุดสาธิตการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้านด้วย Smart Phone และ ครูวินัย ปัจฉิม ครูภูมิปัญญา จ.ลพบุรี ครูภูมิปัญญา ผู้สร้างตำนานผ้าทออันเลื่องชื่อระดับประเทศ ผู้สร้างคนและสร้างงานให้กับเด็กในชุมชน เป็นต้น 

 

e-Book เรื่อง มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562
ประวัติครูรางวัลสมเด็จเจ้ามหาจักรี ครูคุณากร และครูยิ่งคุณ
จำนวน :  364 หน้า

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เชิญชมการถ่ายทอดสดพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมงานซีมิโอ ฟอรั่ม

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมงานซีมิโอ ฟอรั่ม


คณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้บริหารระดับสูงร่วมงานซีมิโอ ฟอรั่ม

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562  ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และคณะ เข้าร่วมเวที National Teachers’ Month Forum 2019 “Making Teaching a Profession of Choice : Getting the Best and the Brightest…and Keeping Them A Regional Knowledge Forum” ที่จัดโดย SEAMEO INNOTECH โดยในงานมีท่านวศิน เรืองประทีปแสง เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ท่านเฮซุส ลอเรนโซ อาร์ มาเทลโอ (Jesus Lorenzo R. Mateo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ ดร.เฮซุส คาติกัน อินซิลาดา (Dr.Jesus Catigan Insilad) รุ่นที่ 2 ปี 2017 ครูซาดัท บี มินันดัง (Mr.Sadat B. Minandang) รุ่นที่ 3 ปี 2019 และเครือข่ายครูฟิลิปปินส์จากโรงเรียนต่างๆ กว่าร้อยคนเข้าร่วมกิจกรรมซีมิโอฟอรั่มในครั้งนี้  โดยมีดร.รามอน ซี บาคานี (Dr.Ramon C. Bacani) ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค (SEAMEO INNOTECH) และท่านเบนิโต บีนาซา (Mr. Benito Benoza) ผู้จัดการหัวหน้าสำนักงานจัดการความรู้และเครือข่าย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  

ในการนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ยังได้กล่าวนำการเสวนาการพัฒนาครู และขอบคุณศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค และกระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์ในความร่วมมือในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาครูผ่านการขยายผลของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์ในครั้งนี้ 

ทั้งนี้ เวที National Teachers’ Month Forum 2019 ที่จัดขึ้นนี้มุ่งเปิดพื้นที่การพัฒนาศักยภาพครูและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของครูฟิลิปปินส์โดยผ่านศูนย์ซีมิโอ อินโนเทค ซึ่งในกิจกรรมได้จัดให้มีเสวนาในภาคเช้า “Stories of Achievement” (เรื่องเล่าของความสำเร็จ) โดยมีดร.เฮซุส คาติกัน อินซิลาดา และครูซาดัท บี มินันดัง ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์รุ่นที่ 2 ปี 2017  และรุ่นที่ 3 ปี 2019 ร่วมเวทีเสวนา โดยมีดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ รองผู้จัดการมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีฝ่ายต่างประเทศ ดำเนินรายการ ทั้งนี้การเสวนาดังกล่าวได้มีการฉายวิดีทัศน์ของครูใหญ่วิลเลียม โมโรคา (Mr. William Moraca) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 1 ปี 2015 รวมถึงวิดีทัศน์ของครูรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 เพื่อนำเข้าการเสวนาพร้อมกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครูในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเด็กๆและชุมชน นอกจากนี้ในภาคบ่ายยังได้จัดให้มีการเสวนาต่อเนื่องในหัวข้อ “Knowledge and Professional Development Solutions” และหัวข้อ “Audience Filipino Teacher : Stories from the Field” อีกด้วย 

องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization – SEAMEO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2508 ภายใต้ความตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคและได้มีการลงนามในกฎบัตร  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย พร้อมจัดตั้งศูนย์ซีมีโอในภูมิภาคต่างๆ โดยศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค (SEAMEO INNOTECH) เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของซีมีโอ-ซีมีอินโนเทค (SEAMEO Regional Centre for Educational Innovation and Technology : SEAMEO INNOTECH) ตั้งอยู่ที่เมืองเกซอนฟิลิปปินส์ ก่อตั้งในปี 2513 มีภารกิจหลักคือ สร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา การทําวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้วยการจัดการฝึกอบรม สัมมนา และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้ทำงานร่วมกับองค์การซีมีโอ โดยศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมกับขับเคลื่อนการขยายผลต่อยอดการพัฒนาครูผ่านเวทีวิชาการและกิจกรรมต่างๆ  

 

ผู้เข้าร่วมเวทีซีมีโอ ฟอรั่ม ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันหน้าอาคารประชุม ศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค

 

 

 

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 62

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายสาดัท บี มินันดัง


พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

สถานฑูตไทย ณ กรุงมะนิลา | ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต บี มินันดัง รุ่นที่ 3 ปี 2019 |เยี่ยมเยือนครู รุ่นที่ 1 ปี 2015 | เวทีซีมีโอ ฟอรั่ม

 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบเอกอัครราชทูตไทย สานความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่างๆ

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบเอกอัครราชทูตไทย สานความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่างๆ

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะครูเข้าพบ
เอกอัครราชทูตไทย ภาคเอกชนและสื่อมวลชน

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ ดร.เฮซุส คาติกัน อินซิลาดา (Dr.Jesus Catigan Insilad) รุ่นที่ 2 ปี 2017 ครูซาดัท บี มินันดัง (Mr.Sadat B. Minandang) รุ่นที่ 3 ปี 2019 เข้าพบท่านวศิน เรืองประทีปแสง เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา และคณะ เพื่อแนะนำครูและขอบคุณสถานฑูต โดยมีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวการพัฒนาการศึกษาประเทศของฟิลิปปินส์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม และหารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 

ประธานมูลนิธิฯนำคณะกรรมการ และครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
เข้าพบท่านเอกอัครราชทูตไทย กรุงมะนิลา

ในการนี้ทางสถานทูตเป็นแกนประสานภาคเอกชนไทยในประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชน อาทิ บริษัท CPF, SCG และบริษัท Quezon Power (Philippines), Limited Co. เข้าร่วมด้วย พร้อมร่วมขับเคลื่อนงานกิจกรรมของมูลนิธิฯ และสนับสนุนแก่ครูผู้ได้รับรางวัลพระราชทานฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชนจาก Asean Times ให้ความสนใจความเคลื่อนไหวพร้อมสัมภาษณ์คณะกรรมการมูลนิธิฯและครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีที่มาร่วมกันเพื่อเผยแพร่ข่าวครั้งนี้   

คณะกรรมการประชุมร่วมกับภาคเอกชนไทยในฟิลิปปินส์ และพบปะสื่อมวลชนฟิลิปปินส์

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 62

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายสาดัท บี มินันดัง


พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

สถานฑูตไทย ณ กรุงมะนิลา | ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต บี มินันดัง รุ่นที่ 3 ปี 2019 |เยี่ยมเยือนครู รุ่นที่ 1 ปี 2015 | เวทีซีมีโอ ฟอรั่ม

พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3  และการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562

พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2562


พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3
The 3rd Princess Maha Chakri Award Ceremony

การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2
2nd Princess Maha Chakri Award Forum 2019

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562
ประวัติครูรางวัลสมเด็จเจ้ามหาจักรี ครูคุณากร และครูยิ่งคุณ

วันที่ 15-17 ตุลาคม 2562
ห้อง  World Ballroom ชั้น 23
ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

จุดลงทะเบียน ห้อง  World Ballroom ชั้น 23

รายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ ครูขวัญศิษย์ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562 

 

ครูรางวัลคุณากร ครั้งที่ 3 ปี 2562 ดาบตำรวจคณิต ช่างเงิน แสงสว่างที่กลางไพร รายการคนค้นฅน ช่อง 9 MCOT

ครูรางวัลคุณากร ครั้งที่ 3 ปี 2562 ดาบตำรวจคณิต ช่างเงิน แสงสว่างที่กลางไพร รายการคนค้นฅน ช่อง 9 MCOT

คนค้นฅน : คณิต ช่างเงิน แสงสว่างที่กลางไพร  FULL (6 ต.ค.62)

เป็นเวลาเกือบ 30 ปีที่ ดาบตำรวจคณิต ช่างเงิน ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองคี เลือกที่จะมาทำหน้าที่ครูในพื้นที่ห่างไกล ไร้ซึ่งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตอย่างที่ อำเภออุ้มผาง ช่วงเวลาที่ผ่านมาครูคณิต ได้ใช้ความรู้ ความสามารถทั้งในเรื่องของตำรวจตระเวรชายแดนและความเป็นครู ทุ่มเททำงานเพื่อมอบโอกาสให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกล ควบคู่ไปกับการทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของคนในพื้นที่ เป็นครูที่ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันสบาย ทำหน้าที่มากกว่าการสอนหนังสือ เป็นช่างคอยซ่อมแซมอาคารโรงเรียน เป็นหมอยามเด็กและชาวบ้านเจ็บป่วย แม้ว่าการทำงานที่ผ่านมาอย่างยาวนานจะพบเจออุปสรรค ปัญหา ความยากลำบากต่าง ๆ มากมายแค่ไหน แต่เหตุผลเดียวที่ครู ตชด. คนนี้ไม่เคยขอย้ายออกจากพื้นที่ไปหาความสบาย หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตัวเองก็คือ ความรักและความผูกพันที่มีให้กับเด็ก ๆ และคนในพื้นที่ เพราะเป็นห่วงเรื่องของอนาคตและโอกาสที่เด็ก ๆ จะได้รับ ไม่เพียงแต่เด็กในพื้นที่อำเภออุ้มผางเท่านั้น แม้แต่เด็กจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า พ่อแม่ก็ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ว่าครูคณิตจะสามารถดูแลลูก ๆ ของเขาได้ดีไม่ต่างไปจากพ่อแม่ จึงส่งลูก ๆ มาเรียนกับครูคณิตที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองคี เพื่อให้มีอนาคตที่ดี สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ สิ่งที่เป็นขวัญ กำลังใจ และรางวัลในชีวิตการทำงานของครูคณิตก็คือ เมล็ดพันธุ์ ที่ครูคณิตโปรยหว่านไปทั่วสารทิศ ตอนนี้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น กำลังงอกงามเติบโต ลูกศิษย์หลายคนได้มีโอกาสเรียนต่อ และที่สำคัญได้นำวิชาความรู้กลับมารับใช้บ้านเกิด เพราะพวกเขามีเบ้าหลอมที่ดีเป็นต้นแบบให้เดินตามอย่างครูคณิต แม้ว่าในวันนี้ ร่างกายของครูไม่ได้แข็งแรงเหมือนก่อน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานอย่างหนักต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ส่งผลกระทบกับร่างกาย ทำให้ไม่สามารถทำงานหนักได้เหมือนก่อน แต่ครูคณิต ยังคงทำหน้าที่เป็นแสงสว่างที่ยังคงส่องแสงอยู่ท่ามกลางความมืดมิดของโอกาสทางการศึกษา นำพาผู้คนในพงไพร ให้ได้เห็นแสงสว่างนี้ อย่างไม่มีวันมอดดับ  ครูที่ทำหน้าที่เป็นแสงสว่างที่กลางไพร

ที่มา: รายการคนค้นฅน วันอาทิตย์ ที่ 6 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 น. ทางช่อง 9 MCOT HD

 

7 ตุลาคม “วันครูแห่งชาติลาว” ไทยพีบีเอส พาไปรู้จักกับ “ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด”

7 ตุลาคม “วันครูแห่งชาติลาว” ไทยพีบีเอส พาไปรู้จักกับ “ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด”

7 ตุลาคม “วันครูแห่งชาติลาว” ไทยพีบีเอส พาไปรู้จักกับ “ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด” จากแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น “ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 2019” ร่วมกับเพื่อนครูจาก 10 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต

สบายดี “ครู” หลวงพระบาง

“ไพสะนิด ปันยาสะหวัด” ครูวิชาภาษาลาวและวรรณคดี โรงเรียนมัธยมศึกษาสันติภาพ แขวงหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกทางตอนเหนือประเทศลาว

ที่มา: ThaiPBS 

สถานฑูตไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | สำนักงานศึกษาแขวงหลวงพระบาง | วันครูแห่งชาติลาว ThaiPBS
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 1 ปี 2015 ของฟิลิปปินส์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 1 ปี 2015 ของฟิลิปปินส์


คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน

25 กันยายน 2562  ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและคณะกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางไปยังโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน (Datal Salvan Elementary School) เขตซันโฮส เมืองเจอเนอรัล ซันโตส ในเขตปกครองตนเองมุสลิมมินดาเนา เพื่อเยี่ยมเยียนครูใหญ่วิลเลียม โมโรคา (Mr. William Moraca) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2015 โดยมีดร.มาร์การิตา คอนโซลาเซียน ซี บาลเลสติรอส (Dr. Margarita Consolacion C. Ballesteros) ผู้อำนวยการด้านการเยี่ยมเยียนต่างประเทศ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ดร.ฮอน มิคาเอล พี คาสติโน (Dr. John Michael P. Castino) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษาพื้นที่ ประจำเมืองเจอเนอรัล ซันโตส และคณะ ดร.เรแกน ดากาดัส (Dr. Regan Dagadas) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษาพื้นที่ ประจำเมืองโคตาบาโตซิตี้ และคณะ พร้อมด้วยผู้บริหารท้องถิ่น คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนร่วมให้การต้อนรับ

ในการนี้ ดร.มาร์การิตา ผู้อำนวยการด้านการเยี่ยมเยียนต่างประเทศ  ผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่นเขตซันโฮส และครูใหญ่ได้กล่าวต้อนรับขอบคุณการมาติดตามเยี่ยมเยือนของมูลนิธิฯ พร้อมด้วยรายงานความเคลื่อนไหวด้านการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนและชุมชนหลังจากที่ครูใหญ่วิลเลี่ยมได้รับรางวัลเมื่อปี 2015 ในการนี้ประธานมูลนิธิฯ ได้กล่าวถึงภารกิจของการมาเยี่ยมเยือนติดตามพร้อมให้กำลังใจกับครูและคณะทำงานในพื้นที่ รวมถึงยังได้มอบของที่ระลึกแก่เด็กนักเรียนและครูเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  อีกทั้งยังได้พบปะกับนักเรียน ครูและผู้ปกครองแลกเปลี่ยนฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่สะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและชุมชนหลังจากครูวิลเลี่ยมได้รับรางวัล นอกจากนี้ในตอนเย็น คณะกรรมการมูลนิธิฯ ยังได้เดินทางต่อไปยังโรงเรียนประถมศึกษาโคลลัง (Klolang Elementary School) ซึ่งห่างจากโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน ประมาณ 4-5 กิโลเมตร เพื่อเยี่ยมเยือน โดยได้รับการต้อนรับจากครูใหญ่เจอไล ซี เจนาซา (Ms. Gerlie C. Genosa)  พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับ 


นักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน เป็นโรงเรียนของรัฐที่อยู่ในพื้นที่สูง จัดการศึกษาให้กับนักเรียนชาติพันธุ์ BLAAN  จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาเกรด 1 -เกรด 6 (ป.1-ป.6) มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 119 คน มีครู 8 คน โดยบริบทของโรงเรียนอยู่ในพื้นที่สูงห่างไกลด้อยโอกาส และขาดสาธารณูปโภคพื้นที่ โดยเฉพาะน้ำประปา ไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนได้มีบทบาทในการช่วยให้ชุมชนเข้าถึงน้ำและไฟฟ้าที่โรงเรียนผลิตสร้างขึ้น  

ส่วนครูใหญ่วิลเลียม โมโรคา ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2015 เป็นครูใหญ่ของประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน ที่พยายามจัดการศึกษาให้ตอบสนองชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ BLAAN โดยเน้นการสอนภาษาแม่ให้กับเด็กควบคู่ไปกับภาษาถิ่นและภาษาราชการ รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน รวมถึงการดึงพลังครอบครัวมาร่วมมือกับโรงเรียนสนับสนุนการเรียนรู้   นอกจากนี้ครูใหญ่วิลเลียมยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างท่อส่งน้ำสำหรับการบริโภคที่ต่อจากน้ำตกมาให้กับชุมชนได้ใช้ และยังจัดทำเครื่องผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยให้ชุมชนได้มีไฟฟ้าใช้ นอกจากนี้หลังจากที่ครูวิลเลียมได้รับรางวัลปี 2015 ทางผู้บริหารท้องถิ่นก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ อาทิ ทำถนนเพื่อให้สามารถสัญจรขึ้นลงโรงเรียนได้ง่ายขึ้น รวมถึงกำลังจะมีการสร้างท่อส่งน้ำประปาบนพื้นที่สูงแห่งนี้ 

ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาโคลลัง (Klolang Elementary School) เป็นโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐที่ตั้งขึ้นในชุมชนซิติโอโคลลัง (SitioKlolang, Barangay San Jose) เป็นโรงเรียนที่เป็นส่วนขยายของโรงเรียนโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน ซึ่งจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ BLAAN   เปิดทำการเมื่อปี 2008 โดยความช่วยเหลือเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนแห่งนี้ครูใหญ่วิลเลียมจากโรงเรียนประถมศึกษาดาทัล ซาลวาน ยังได้มีบทบาทในการขึ้นมาช่วยพัฒนาโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนทั้งสิ้น 78 คน ครู 7 คน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6  ที่เน้นการจัดการศึกษาบนฐานวัฒนธรรม การเน้นการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ที่นี่ยังจัดให้มีสวนพันธุ์ไม้และผีเสื้อรวมถึงสนามเรียนรู้คณิตศาสตร์นอกห้องเรียนอีกด้วย 

คณะกรรมการถ่ายภาพหมู่กับเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษาเจอเนอรัล ซันโตส ครูใหญ่ คณะครู และเครือข่ายโรงเรียนบนพื้นที่สูง

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 62

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายสาดัท บี มินันดัง


พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

 

สถานฑูตไทย ณ กรุงมะนิลา | ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต บี มินันดัง รุ่นที่ 3 ปี 2019 |เยี่ยมเยือนครู รุ่นที่ 1 ปี 2015 | เวทีซีมีโอ ฟอรั่ม