พลังครูสู่พลวัตรแห่งการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่

พลังครูสู่พลวัตรแห่งการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้จัดให้มีการเสวนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ : ตัวแบบและบทเรียนจากครูเครือข่ายรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในประเทศไทย เรื่อง “พลังครูยุคใหม่” เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 โดยมีวิทยากร ได้แก่ รศ.ลัดดา  ภู่เกียรติ  ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา กรุงเทพมหานคร    ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2560 ครูวิษณุ พุ่มสว่าง โรงเรียนกระทุ่มแพ้ววิทยา จังหวัดปราจีนบุรี  ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2564 ครูขัตติยา ปิยะรังสี  โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564 นางสาวกรุณา มูลละ นักศึกษาคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และนายปรัชญา พวงเพ็ชร นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ดำเนินรายการโดย นายสรรชัย  หนองตรุด พร้อมด้วยคณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และเครือข่ายครูในมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และนักศึกษาที่สนใจ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ 88 ท่าน และผ่านการสตรีมมิงบนช่องยูทูบของมูลนิธิรางวัลสมด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี PMCAF Channel

ทั้งนี้ ในเวทีเสวนาดังกล่าว วิทยากรต่างร่วมกันสะท้อนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพบริบทของผู้เรียนยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่เปลี่ยนไป รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในสภาพโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนไปนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่สุด ทำให้คุณครูต้องปรับตัวในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีต่างๆ และพัฒนาทักษะของครูที่ควรมี ไม่ยอมแพ้ต่อเงื่อนไขที่ต้องเผชิญ

ครูขัตติยา ปิยะรังสี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

ครูขัตติยา ปิยะรังสี ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ได้สะท้อนว่า ในช่วงปีแรกของการแพร่ระบาดโควิด-19 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยได้เจอกับปัญหาที่ร่วมที่คล้ายกับพื้นที่ต่างๆ คือ การที่โรงเรียนต้องปิดสถานศึกษา เปลี่ยนรูปแบบการสอนจากออนไซด์เป็นออนไลน์ เผชิญกับความหลากหลายด้านความพร้อมที่ไม่เท่ากันของผู้เรียน learning loss ของผู้เรียน และความพร้อมของครูในการจัดการสอนภายใต้สถานการณ์นิวนอร์มอล รวมถึงความพร้อมในอุปกรณ์การเรียน และอื่นๆ แต่ทางโรงเรียนไม่หยุดที่จะผลักดันให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แม้จะอยู่ในวิกฤตเช่นนี้ ทางผู้นำโรงเรียนและคุณครูทุกภาคส่วนต่างร่วมมือ ร่วมใจกันพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่พบเจอจนสามารถก้าวผ่านมาได้ โดยครูขัตติยาก็ได้จัดการเรียนรู้ที่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับการเรียนการสอนที่ต้องสอนผ่านออนไลน์ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเน้นทรัพยากรในชุมชนและกิจกรรมเชื่อมโยงเนื้อหากับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมและการสร้างนวัตกรรมไปพร้อมๆ กัน

ครูวิษณุ พุ่มสว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนกระทุ่มแพ้ววิทยา จังหวัดปราจีนบุรี

ด้านครูวิษณุ พุ่มสว่าง ครูสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกระทุ่มแพ้ววิทยา จังหวัดปราจีนบุรี  ใช้เทคนิคการสอนที่เน้นความสนใจของนักเรียนเป็นหลัก มีการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนด้วยแต่งกายคอสตูมให้สอดคล้องกับโจทย์เนื้อหาที่จะสอน เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยไม่น่าเบื่อ ทำให้ห้องเรียนสนุก นักเรียนมีเสียงหัวเราะ สนุกจากสิ่งที่เรียนรู้ สร้างความคลายเครียดจากวิชาเรียนต่างๆ เน้นส่งเสริมทักษะการสื่อสารผ่านการแลกเปลี่ยนสะท้อนคิด และสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ

รศ.ลัดดา  ภู่เกียรติ  ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ รศ.ลัดดา  ภู่เกียรติ  ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา กรุงเทพมหานคร  สะท้อนว่า จากสภาพบริบทที่เปลี่ยนไปและผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการในหลายๆ ด้าน การจัดการเรียนการสอนถูกปรับตัวมาเน้นสอนออนไลน์เพราะเงื่อนไขสถานการณ์ ทั้งนี้ครูสามารถสร้างการเรียนรู้ที่ดีได้ทั้งระบบ โดยผู้บริหารต้องทำงานเชิงรุก เปิดโอกาสให้กับครูได้ส่งความคิดเห็น ให้ครูได้เรียนรู้ด้วยกันและแลกเปลี่ยนกันและกัน และร่วมกันออกแบบการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพเด็กๆ ที่แตกต่างกัน การเปิดโอกาสให้กับครูได้ร่วมมือกันได้แสดงความเห็นกันนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอย่างมาก ครูและผู้บริหารในปัจจุบันจึงเผชิญกับความท้าทายที่ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาการศึกษาไปร่วมกัน  

นายปรัชญา พวงเพ็ชร นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ขณะที่ นายปรัชญา พวงเพ็ชร นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า ช่วงในปี 1-4 ที่ผ่านมา ได้มีการเตรียมตัวเป็นครูในรูปแบบออนไซต์ แต่เมื่อถึงเวลาที่ตัวเองต้องลงสนามจริง ต้องปรับเปลี่ยนการสอนให้เป็นในรูปแบบออนไลน์นั้นถือเป็นความท้าทายอย่างมาก จากการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาครู พบว่า สภาพการศึกษาและเครื่องมือการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป และบริบทเด็กที่หลากหลายแตกต่างกัน ทำให้นักศึกษาต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภาคสังคม บริบทของสถานการณ์ปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนภาษาไทยจากการเรียนรู้มา โดยเฉพาะการมีสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียนและเข้ากับสถานการณ์ให้มากที่สุด นางสาวกรุณา มูลละ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้พูดว่า “จากที่ได้ฟังคุณครูทั้ง 3 ท่าน รู้สึกชื่นชม ในแต่ละครั้งที่คุณครูพูดมาหนูจะจดคำสำคัญเพื่อที่จะเป็นเทคนิคให้ไปนำใช้ในอนาคต นำมาแก้ปัญหาในชั้นเรียน ชอบมากๆ ค่ะ” แม้ไวรัสโควิด-19 จะทำให้เกิดวิกฤตแก่การศึกษา แต่เป็นโอกาสให้กับทุกภาคส่วนได้มาเรียนรู้ร่วมกัน ท้ายที่สุด การเป็นครูที่ดีมีคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงเรียน สังกัด แต่ขึ้นอยู่กับตัวครูเอง ที่จะต้องคิดบวกในทุกสถานการณ์และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ปรับmindset เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง

นางสาวกรุณา มูลละ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนายังได้ร่วมแลกเปลี่ยนอภิปรายความเห็น เช่น รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ ได้ให้กำลังใจคุณครูประจำการและนักศึกษา และได้ชื่นชมประเด็นที่นักศึกษาทั้งสองท่านนำเสนอที่ใส่ใจเด็ก ไม่ลืมเด็กไว้ข้างหลังเพื่อที่เด็กเรียนช้าจะได้รับการช่วยเหลือจากเด็กที่เรียนเก่ง จะทำให้เกิดที่เรียกว่าความเสมอภาค และได้เสนอแนะในประเด็นกระบวนการเรียนการสอน อย่าลืมการนำไปใช้ ซึ่งขั้น Apply นี้ นักเรียนสามารถเสนอผลลัพธ์การเรียนรู้และเรื่องของสมรรถนะการเรียนรู้ (competency) ที่สุดท้ายอาจารย์ได้สรุปในสิ่งที่อยากให้ผู้ฟังได้เข้าใจว่า อยากจะให้เราลองประเมินว่า การเป็นครูซึ่งอยู่ในยุคศตวรรษ 21 หรือยุคแห่งสมรรถนะใหม่นี้ ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้แสดงและก็นักเรียนเป็นผู้ชมมาเป็นผู้กำกับการแสดง เตรียมเรื่องราวต่างๆ ให้นักเรียนไปทำความเข้าใจ จากนั้นครูทำหน้าที่เป็นโค้ช เป็นผู้กำกับ เป็นที่เลี้ยง เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และถ้าหากการเรียนรู้นั้นสามารถนำพาเด็กได้ความรู้และทักษะปฏิบัติ นักเรียนได้ attitude ที่ดี สิ่งที่จะตามมาก็คือนักเรียนจะได้ผลงาน ได้ผลผลิต เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย

รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์
ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน
อดีตหัวหน้าสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในตอนท้ายของการเสวนายังได้มีประเด็นคำถามอีกมากมายและข้อเสนอให้มีการขับเคลื่อนสนับสนุนการทำงานของครูอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งสำหรับการจัดเสวนาเสวนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ : ตัวแบบและบทเรียนจากครูเครือข่ายรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในประเทศไทยจะจัดให้มีขึ้นในทุกเดือน ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บไซต์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี https://www.pmca.or.th ต่อไป

ชมย้อนหลัง

ประมวลภาพ

ชมย้อนหลัง เสวนาทางไกล ครั้งที่ 1 พลังครูยุคใหม่ เรื่อง “การจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ : ตัวแบบและบทเรียนจากครูเครือข่ายรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในประเทศไทย”

ชมย้อนหลัง เสวนาทางไกล ครั้งที่ 1 พลังครูยุคใหม่ เรื่อง “การจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ : ตัวแบบและบทเรียนจากครูเครือข่ายรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในประเทศไทย”

เวทีเสวนาครั้งที่ 1 “พลังครูยุคใหม่”

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 เวลา 09:30 – 12:00 น.

ผู้เข้าร่วมเสวนา

  • รศ.ลัดดา ภู่กียรติ ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2560
  • นายวิษณุ พุ่มสว่าง ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2564
  • นางขัติยา ปิยะรังษี ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564
  • นางสาวกรุณา มูลละ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นายปรัชญา พวงเพ็ชร นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี


ผู้ดำเนินรายการ : นายสรรชัย หนองตรุด

ชมย้อนหลัง

ขอเชิญชมถ่ายทอดสด รายการสายธารสุนทรียธรรม พลานุภาพของครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตศิษย์ วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔

ขอเชิญชมถ่ายทอดสด รายการสายธารสุนทรียธรรม พลานุภาพของครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตศิษย์ วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔


รายการสายธารสุนทรียธรรมพลานุภาพของครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตศิษย์
วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ นี้
เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น.
เดินทางมาถึงครั้งที่ ๑๙ “ครูชายแดนใต้ หัวใจทองคำ”

.
ครั้งนี้ทางรายการได้รับเกียรติจาก
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี ๒๕๖๒
“ครูสุเทพ เท่งประกิจ”
โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส จ.ยะลา
.
พร้อมกับผู้ดำเนินรายการ
รศ.ดร.กรรณิการ์ สัจกุล และ ผศ.ภวิกา ภักษา
ทุกท่านกดติดตามเพื่อรับชมรายการถ่ายทอดสด
และรับชมย้อนหลังทั้ง ๑๘ ครั้ง
ได้ทาง Facebook page
.
https://www.facebook.com/พลานุภาพของครู-103288935278520
.
และ YouTube channel : พลานุภาพของครู

ขอเชิญชมถ่ายทอดสด รายการสายธารสุนทรียธรรม  “ครูประทิน เลี่ยนจำรูญ” ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

ขอเชิญชมถ่ายทอดสด รายการสายธารสุนทรียธรรม “ครูประทิน เลี่ยนจำรูญ” ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

รายการสายธารสุนทรียธรรม
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564
เวลา 08.30 – 09.30 น.


พบกับ ครูแกร่งแห่งอาชีวะผู้เปลี่ยนแปลงชีวิตศิษย์และชุมชน “ครูประทิน เลี่ยนจำรูญ”
จาก วิทยาลัยเทคนิคพังงา ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 (ประเทศไทย)

Live ทางเพจพลานุภาพของครู: https://www.facebook.com/พลานุภาพของครู-103288935278520/

จัดโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษร์ธานี

ขอเชิญชม ถ่ายทอดสดพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 และการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเพื่อครูและความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขอเชิญชม ถ่ายทอดสดพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 และการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเพื่อครูและความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ร่วมกับ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และภาคีเครือข่าย
ขอเชิญร่วม “การประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเพื่อครูและความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ระหว่างวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2564

สอบถามข้อมูลและลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ที่
เว็บไซต์: www.afe2021.eef.or.th

ทั้งนี้ ผู้เข้าชมการประชุมในวันที่ 29 และ 30 ตุลาคม 2564 ตามเงื่อนไขจะได้รับใบประกาศนียบัตร

ติดต่อข้อมูลการประชุม:
อีเมล: afe2021secretariat@gmail.com

“การจัดการศึกษาท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19” นักวิชาการไทย-รัสเซียร่วมถกทิศทางการศึกษา ผู้แทนมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมเสนอผลงานวิจัยจับกระแสการศึกษาไทยในสถานการณ์โควิด-19

“การจัดการศึกษาท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19” นักวิชาการไทย-รัสเซียร่วมถกทิศทางการศึกษา ผู้แทนมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมเสนอผลงานวิจัยจับกระแสการศึกษาไทยในสถานการณ์โควิด-19

16-17 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และเครือข่ายวิชาการ จัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซียความร่วมมือด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการวิจัย ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “การจัดการศึกษาท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19 : เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส” ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม โดยการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซียฯ นั้น เริ่มขึ้นจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธรัฐรัสเซียเมื่อปี 2560 ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ตั้งคณะทำงานการจัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย ด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และการวิจัย

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในการประชุมครั้งที่ 3 นี้ มีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาในหัวข้อ “การจัดการศึกษาของประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19” รวมทั้งมีนักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาจากไทย และสหพันธรัฐรัสเซียจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมการนำเสนอประสบการณ์การจัดการศึกษา ในวิกฤตการณ์ของโรคโควิด-19

ครูประทิน เลี่ยมจำรูญ
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564
จากวิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา


โดยในงานนี้ ครูประทิน เลี่ยมจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 จากวิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา ได้นำเสนอผลงานเรื่อง “Vocational Education in Thailand – Coping with COVID-19 Pandemic” ซึ่งได้ชี้ถึงสถานการณ์ของการปรับตัวทางด้านการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาไทย โดยได้ยกกรณีตัวอย่างสถาบันในระดับอาชีวศึกษาที่ได้มีการปรับกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มในอนาคต

รศ.ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์
กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
รองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.)


อีกทั้งยังมี รศ.ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.) ร่วมนำเสนองานวิจัยเรื่อง “STEM Education in Thai Universities under COVID-19 Pandemic Dr. Chawin Chantharasenawong, King Mongkut’s University of Technology Thonburi & Princess Maha Chakri Award Foundation” โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวด้านการจัดการศึกษา STEM Education ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย การ ปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 และทิศทางของการพัฒนาระบบการศึกษาในด้านนี้ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ

นอกจากนี้ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ คณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ยังได้นำเสนองานเรื่อง “COVID-19 Pandemic: Perspectives and Experience at Schools, Villages and Families Levels and Best Practices from Thailand and Southeast Asian Countries” โดยได้การประมวลความเคลื่อนไหวด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานจากประสบการณ์การจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจาก 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต  เครือข่ายครูไทยในมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และเครือข่ายครูในภูมิภาคต่างๆ เพื่อสะท้อนบทเรียนการทำงานและแง่คิดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 และทิศทางในอนาคต

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติ
ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเทคโนโลยีธนบุรี


ที่สำคัญในงาน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติ ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเทคโนโลยีธนบุรี ยังได้ร่วม “Presentation of Education Practices during COVID-19 Pandemic at K-12, Vocational and Higher Education Levels: Practice, Impact, Gain and Loss Co-Chairs: Dr. Krissanapong Kirtikara, Advisor to King Mongkut’s University of Technology Thonburi Dr. Vasilii Pavlov, Director of Sakha Junior Science Academy” ที่ได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างการดำเนินงานด้านการศึกษาในกรณีตัวอย่างห้องเรียนออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ไทย และกรณีที่น่าสนใจด้านการศึกษาในระดับต่างๆ

นอกจากนี้ในงานยังได้มีนักวิชาการจำนวนมากที่มาแปลเปลี่ยนผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 อาทิ Skolkovo Institute of Science and Technology , ซิริอุส เซ็นเตอร์ (Sirius Center) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ เป็นต้น มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และตัวอย่างการจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาจากพื้นที่ต่างๆ ในสาขาที่หลากหลาย  อาทิ การจัดการสอนวิชาเคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการจัดทำสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เป็นต้น โดยภาพรวมงานประชุมออนไลน์ครั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดสดผ่านการสตรีมมิงไปในนานาประเทศอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจสามารถ ความเคลื่อนไหวและดาวน์โหลดเอกสารการจัดการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ได้ที่ http://www.onec.go.th/us.php สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)

เรื่อง : สถาบันรามจิตติ
ภาพเพิ่มเติม : สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา https://www.cdti.ac.th/-1878

การเสวนาดีๆ ของวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ในงานประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2564 (KSP Webinar 2021)

การเสวนาดีๆ ของวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ในงานประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2564 (KSP Webinar 2021)

⏰ เวลา 09.30 – 11.30 น.

👉👉 การเสวนา เรื่อง การประเมินผลการเรียนรู้และสมรรถนะของ ผู้เรียน อย่างยั่งยืนในยุคหลังโควิด”
ร่วมเสวนา โดย
👩‍💼 รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ
👩‍💼 รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์
👩‍💼 ดร.ภัทรภร เจนสุทธิเวชกุล
👩‍💼 ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

👉👉 การเสวนา เรื่อง “ยกระดับหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และ งานวิชาการสู่สมรรถนะชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา โรงเรียนราชินีบน”
ร่วมเสวนา โดย
👩‍💼 ดร.เย็นฤทัย จงถนอม
👨‍💼 ดร.พิรุณ ศิริศักดิ์
👩‍💼 ดร.ประพิมพร อันพาพรหม เป็นผู้ดำเนินรายการ

👉👉 รับชมถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง เฟซบุ๊ก เเฟนเพจคุรุสภา https://www.facebook.com/Khurusaphaofficial

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ksp.or.th/ksp2018/2021/07/32299/

2 กิจกรรมการเสวนาดีๆ ของวันที่ 22 สิงหาคม 2564  ในงานประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2564 (KSP Webinar 2021) ภายใต้แนวคิด Education Transformation in the Post COVID Era: การศึกษาที่ผันเปลี่ยนในโลกหลังโควิด

2 กิจกรรมการเสวนาดีๆ ของวันที่ 22 สิงหาคม 2564 ในงานประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2564 (KSP Webinar 2021) ภายใต้แนวคิด Education Transformation in the Post COVID Era: การศึกษาที่ผันเปลี่ยนในโลกหลังโควิด

⏰ เวลา 09.00 – 10.30 น.
การเสวนา เรื่อง “สร้างแรงบันดาลใจให้คุณครูกับผู้บริหารด้านการใช้เทคโนโลยี”
ร่วมเสวนา โดย
👩‍💼 นางสาวธาดาพนิตสดี ศุกลวิริยะกุล
👨‍💼 นายสิทธิชัย สิงหะเสนา
👩‍💼 นางสาววรรณวลี เจนเจนประเสริฐ
👨‍💼 นายนพดล รุ่งเรืองธนาผล
👨‍💼 รศ.ดร.อนิรุทธ์ สติมั่น เป็นผู้ดำเนินรายการ

⏰ เวลา 10.35 – 12.00 น.
👉👉 การเสวนา เรื่อง “บทบาทของครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ในวง PLC เพื่อตอบโจทย์ ว.PA”ร่วมเสวนา โดย
👨‍💼 นายวิชัย ราชธานี
👩‍💼 นางคำพันธุ์ ตุลากัน
👨‍💼 นายชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์
👨‍💼 รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร เป็นผู้ดำเนินรายการ

👉👉 รับชมถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง เฟซบุ๊ก เเฟนเพจคุรุสภา https://www.facebook.com/Khurusaphaofficial

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ksp.or.th/ksp2018/2021/07/32299/

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจัดเสวนาออนไลน์ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ในปี 2021 ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ประสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศฟิลิปปินส์-มาเลเซีย

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจัดเสวนาออนไลน์ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ในปี 2021 ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ประสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศฟิลิปปินส์-มาเลเซีย


ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสถาบันรามจิตติ

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2564
เวลา 13.30 – 15.30 น. (เวลา BKK)

YouTube Live: https://youtu.be/3Ro796uKD_g

  • ดร.เฮซุส อินซิลาดา (Dr.Jesus Catigan Insilada)
    ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2017
    ครูใหญ่โรงเรียนแห่งชาติ Caninguan National High School ในจังหวัด Ioilo

ดร.ซาดัท บี มินันดัง (Dr.Sadat B. Minandang)
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2019
ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา Darping Elementary School ในเมือง Cotabato City
  • ครูฮัจญะห์ ซารีปะ บินดี เอิมบง (Saripah binti Embong)
    ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศมาเลเชีย ปี 2017
    ครูแกนนำวิชาทักษะชีวิตแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
    โรงเรียน Sekolah Menengah Agarna (Atas) Sultan Zainal Abidin ในรัฐ Terengganu


ดำเนินรายการโดย

ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

ชมย้อนหลัง : PMCA YouTube Channel https://youtu.be/3Ro796uKD_g

ครูสปป.ลาวชี้การจัดเรียนรู้ในปี 2021 การปรับตัวสู่อนาคต  (เสวนาครูอาเซียน:ลาว-เวียดนาม ตอน 1)

ครูสปป.ลาวชี้การจัดเรียนรู้ในปี 2021 การปรับตัวสู่อนาคต (เสวนาครูอาเซียน:ลาว-เวียดนาม ตอน 1)

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้จัดให้มีการเสวนา “ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ในปี 2021 ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 : ประสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประเทศสปป.ลาว และเวียดนาม” ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยมีครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี (PMCA) จากประเทศสปป.ลาว ได้แก่ ครูคำซ้อย วงสัมพัน PMCA 2015  ที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์ นครหลวงเวียงจันทน์ ครูคุนวิไล เคนกิติสัก  PMCA 2017 ครูใหญ่   โรงเรียนประถมศึกษาทองคัง นครหลวงเวียงจันทน์ ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด PMCA 2019 โรงเรียนมัธยมศึกษาสันติภาพ แขวงหลวงพระบาง ร่วมด้วยครูจากประเทศเวียดนาม ได้แก่ ครูตรัน ถิ ถี่ ยุง PMCA 2015  ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดหล่าวกาย ครูฟาน ถิ หนือ PMCA 2017  ที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาความสามารถพิเศษ เจียน เล กวี๋ โดน จังหวัดดานัง ครูเลอ ทัน เลียม PMCA 2019 ครูสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมชนเผ่า ฮิมลาม จังหวัดเฮ่ายาง และอาจารย์ เหื่อง  (Nguyễn Xuân Hường) ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานการศึกษา จังหวัด หล่าว กาย โดยมีครูเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ PMCA 2015 ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ปรึกษาโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมแลกเปลี่ยนสะท้อนคิด มีนายสรรชัย หนองตรุด ดำเนินรายการ คุณสุรชัย ดิ่งสวัสดิ์ คณะทำงานภาคพื้นที่สปป.ลาว-เวียดนามเป็นล่ามภาษาเวียดนาม โดยมีดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิฯ กล่าวเปิดวงเสวนา พร้อมด้วยคณะทำงานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สถาบันรามจิตติ และเครือข่ายครูในมูลนิธิฯ เข้าร่วมประชุมออนไลน์กว่า 50 ท่าน  

ทั้งนี้ บทเรียนร่วมจากประสบการณ์จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศ สปป.ลาว และเวียดนามในการจัดการเรียนรู้ในปี 2021 นั้นชี้ว่า จากจุดตั้งต้นของการจัดการเรียนรู้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 คือการคำนึงถึงการเข้าถึงการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เห็นจากความหลากหลายของวิธีการต่างๆ ที่ให้กับผู้เรียนที่แตกต่างกัน ผ่านการสนับสนุนเครื่องมือและสื่อการเรียนรู้ รวมไปถึงการสนับสนุนคุณภาพในการเตรียมการสอนออนไลน์ของครู โดยมีประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีบทเรียนจากสปป.ลาว

กรณีประเทศสปป.ลาว สถานการณ์โควิด-19 ในสปป.ลาวก่อนช่วงสงกรานต์ปี 2021 ประเทศลาวถือได้ว่าเป็นประเทศ  “ปลอดโควิด-19” แห่งเดียวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่แม้จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2021 ในพื้นที่นครเวียงจันทร์ และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปลายเดือนเมษายน รัฐบาลสปป.ลาวประกาศล็อกดาวน์นครหลวงเวียงจันทร์ 14 วัน และหลายพื้นที่มีประกาศการปิดโรงเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อครูและนักเรียนจำนวนมาก ทั้งครูคำซ้อย วงสัมพัน  ครูคุนวิไล เคนกิติสัก และครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด แม้จะอยู่ต่างบริบทและพื้นที่ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ครูทั้ง 3 ท่านมีจุดร่วมในการจัดการคือ โรงเรียนของครูได้มีการวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ทั้งในระดับชาติและระดับเมือง 

ปัจจุบัน เดือนมิถุนายน 2021 โรงเรียนสามารถกลับมาเปิดเรียนได้ในบางพื้นที่ โดยที่ผ่านมา รัฐบาลได้สนับสนุนให้ครูทุกคนได้รับวัคซีน (เข็มที่ 1) อย่างทั่วถึง ซึ่งมึวัคซีนให้เลือกหลายยี่ห้อโดยการจัดสรรของรัฐบาล ทำให้ครูปลอดภัยสามารถมาโรงเรียนได้ และจัดการเรียนการสอนได้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในพื้นที่ และดูแลความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน 

กรณีของครูคุนวิไล เคนกิติสัก ซึ่งเป็นครูใหญ่ที่ดูแลโรงเรียนประถมศึกษาคุณภาพ เน้นการดูแลเด็กปฐมวัยโดยเด็กเตรียมประถมสามารถมาโรงเรียนได้ มีการจัดชั้นเรียนแบบสลับช่วงวัย (ชั้นเด็กเล็กและประถมศึกษา ป.1 ป.2 มาเรียนได้) และการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนขนาดเล็ก เน้นการเรียนคุณภาพ ระดับประถมศึกษาปลายจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์เรียนฐานที่บ้าน การสร้างทักษะพื้นฐานด้านการอ่านและคิดคำนวณและทักษะสำคัญสำหรับเด็กประถมศึกษาโดยเฉพาะทักษะชีวิต รวมถึงส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองมาร่วมทำงานกับโรงเรียนในการสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการสอนออนแฮนด์ อีกทั้งยังมีการสอนออนไลน์และผ่านออนแอร์ที่ครูเข้าไปมีบทบาทจัดทำบทเรียนออนแอร์ระดับประถมในระดับชาติให้ และยังเน้นการสนับสนุนบุคลากรใหมีทรัพยากรที่พร้อมในการดูแลนักเรียน เช่น สนับสนุนค่าโทรศัพท์ ค่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุคและอินเทอร์เน็ตให้กับครูทั้งโรงเรียน สนับสนุนแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย (ยืม-คืนเครื่องมือ) ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่าน ผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ และแอปคลังปัญญาลาว โดยร่วมมือกับองค์กรเทคโนโลยีและองค์กรเอชนในการสนับสนุนอุปกรณ์  เป็นต้น รวมถึงยังพัฒนาหลักสูตรและบทเรียนร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว 

ส่วนในระดับมัธยม ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด สอนภาษา สังคมและวรรณกรรมลาว และครูคำซ้อย วงสัมพัน ที่ปรึกษาด้านการสอนภาษาฝรั่งเศส ต่างเน้นการสอนทักษะด้านภาษาและการสื่อสารโดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการสอนภาษา ต่างก็เน้นการใช้โปรแกรมในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ผ่าน “คลังปัญญาลาว” ที่ได้รวบรวมวิดีโอสื่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และโรงเรียนสามารถนำไปใช้ประกอบการสอน รวมถึงเฟสบุคส์ ยูทูป และสื่อต่างๆ โดยจุดเน้นคือให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพมีทักษะสำคัญที่พร้อมจะไปเรียนต่อระดับสูงได้ 

ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด

ทั้งนี้ ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัดยังเน้นเตรียมนักเรียนสำหรับสอบมาตรฐานระดับชาติ (ม.4/ม.7 สอบเส็ง) รวมถึงการติดตามช่วยเหลือนักเรียนถึงบ้านในกรณีนักเรียนที่ประสบความยากลำบากทางการเรียนหรือยากจน ส่วนครูคำซ้อย วงสัมพัน ยังเน้นการส่งเสริมโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยโรงเรียนเป็นโรงเรียนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับห้องเรียน 2 ภาษา  โดยได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงต่างประเทศในการพัฒนาครูสอนภาษาฝรั่งเศสและการสนับสนุนการสอน นอกจากนี้ได้รับเครื่องโปรเจกเตอร์ คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน ทำให้สามารถสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสสอบชิงทุนเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในต่างประเทศได้  

อย่างไรก็ตาม ครูทั้ง 3 ท่านต่างมีจุดร่วมคือ วิธีการจัดการให้นักเรียนที่มีความสามารถในการเข้าถึงการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครอง นักเรียนที่มีอุปกรณ์และเข้าถึงการเรียนในรูปแบบออนไลน์ได้ และนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์ สามารถเรียนรู้จากคลังปัญญาลาว และครูจัดทำเอกสารบทเรียนและแบบฝึกหัดเพื่อให้เข้าถึงการเรียนรู้ นอกจากนี้ ครูได้จัดวงเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับครูเพื่อสะท้อนความสำเร็จและข้อติดขัด รวมถึงสื่อสารความคิดเห็นจากนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 

นอกจากนี้ในภาพรวม ครูสปป.ลาวส่วนใหญ่ ยังได้รับการสนับสนุนให้มีกิจกรรมพัฒนาตนเองในด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนควบคู่ไปกับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและช่วงวัยของนักเรียน รวมถึงการทำงานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองมาช่วยในการดูแลเด็กในกระบวนการเรียนการสอนด้วยโดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในช่วงปฐมวัยและระดับประถมศึกษาเพื่อให้มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี และเรียนรู้ต่อเนื่องตามระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น