คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศอินโดนีเซีย

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศอินโดนีเซีย

20 สิงหาคม 2562 รศ.ดร. พินิติ รตะนานุกูล กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เยี่ยมเยือน ครู Rudy Haryadi ครูผู้สอน Conputer engineer ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 3 ปี 2019 ณ ในโรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาของรัฐ 1 เมืองจิมาฮิ (Vocational School of Chimahi1) ในชวาตะวันตก จังหวัดบันดุง โดยมี Dr. Dewi Sartka ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  Mr. Wendi Kuswndi เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ (Directorate General of Teachers and Education Personnel) เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  Mr. Daud Saleh ครูใหญ่ คณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับ โดยมีครู Herwin Hamid และครู Encon Rahman ครูรางวัลฯ รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 ร่วมเยี่ยมเยือนในครั้งนี้ด้วย

ในงานนี้คณะผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา คณะผู้บริหารโรงเรียน ได้กล่าวแนะนำภาพรวมของการศึกษาและโรงเรียน พร้อมกันนี้ครู Rudy Haryadi ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำปีนี้ได้นำเสนอภาพรวมการทำงานและบทบาทของการพัฒนาผู้เรียนและสังคม

จากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ยังได้เยี่ยมเยือนชมการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาในชั้นเรียนต่างๆ และเยี่ยมชมการสาธิตการสอนของครู Rudy ในการออกแบบคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมฟังการนำเสนองานของนักเรียน การสะท้อนคิดต่อการเรียนรู้และความประทับใจที่มีต่อตัวครูผู้สอน

 

สำหรับโรงเรียน SMK Negeri 1 Cemahi เป็นโรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาของรัฐ 1 เมืองจิมาฮิ (Vocational School of Chimahi1) ในชวาตะวันตก ที่มีนักเรียน 2537 คน มีครู 142 คน จัดการเรียนการสอนเป็นแบบ TVET ( Technical and Vocational Education and Training) มีโปรแกรมการเรียนรู้ใน 9 อาทิ สาขาช่างกล ช่างอิเลคทรอนิค สาขาวิศวะอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์ สาขาการผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ ฯลฯ


ส่วนครู Rudy Haryadi ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีล่าสุดในปีนี้ เป็นครูผู้จัดการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเน้นเรียนรู้บนฐาน IT ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงส่งเสริมทักษะสำคัญทั้งด้านทักษะการสื่อสาร การเชี่อมโยงเทคโนโลยีไร้สาย และการสร้างสมรรถนะอาชีพให้กับนักเรียน ซึ่งครู Rudy สะท้อนว่า “การเรียนรู้ที่พาผู้เรียนไปออกแบบด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนต้องคิดต้องปฏิบัติและต้องออกแบบงาน ที่มีหลายแบบที่เกิดขึ้นได้ เชื่อมไปกับอนาคตของพวกเขาที่เขาจะคิดต่อไป” ทำให้ครู Rudy มีผลงานทั้งในระดับการสร้างการเปลี่ยนแปลงกับลูกศิษย์ไปจนถึงระดับชาติ และสร้างเครือข่ายการพัฒนาครูในระหว่างประเทศอีกด้วย

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 30 สิงหาคม 2562

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายรูดี ฮาร์ยาดี

กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม และเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา | ครู Rudy Haryadi 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศอินโดนีเซีย เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครูในอินโดนีเซีย

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศอินโดนีเซีย เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครูในอินโดนีเซีย


เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 รศ.ดร. พินิติ รตนานุกูล กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบท่าน Dr. Suharti  ปลัดกระทรวงศึกษาและวัฒนธรรม กับผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและวิเทศสัมพันธ์    Dr. Gatot Hari Priowirjanto ผู้ประสานศูนย์ซีมีโออินโดนีเซีย (SEA-ICC) และคณะ ณ กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ โดยมีครู Herwin Hamid ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ จากโรงเรียน  Junior High School Kendari  ครูรางวัลฯ รุ่นที่ 1 ปี 2015 ครู Encon Rahman ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคม ในโรงเรียน Mekarwangi Public Elementary จาก รุ่นที่ 2 ปี 2017 และครู Rudy Haryadi ครูผู้สอน Computer engineer ในโรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาของรัฐ 1 เมืองจิมาฮิ (Vocational School of Chimahi1) ในชวาตะวันตก รุ่นที่ 3 ปี 2019 เข้าร่วมการประชุม

ในการนี้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการยังได้กล่าวถึงภาพรวมของการศึกษาและนโยบาย Smart Education Smart Indonesia ที่เน้นไปที่ Vocational education การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่และสื่อสมัยใหม่ต่างๆ ไปจนถึงการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล และยังเสนอถึงการเชื่อมงานการศึกษากับวัฒนธรรมเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งน่าจะได้ขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันต่อไปในอนาคต พร้อมกับแนะนำครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปีล่าสุดด้วย

จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้เข้าพบท่านทรงพล สุขจันทร์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา และคณะ พร้อมด้วยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำอินโดนีเซีย 3 ท่าน เพื่อขอบคุณสถานฑูต โดยมีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวทิศทางการพัฒนาประเทศของอินโดนีเซียและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม และหารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทย-อินโดนีเซียมาร์ผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในการนี้ทางสถานทูตยังเป็นแกนประสานภาคเอกชนไทยในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีผู้แทนจากบริษัท SCG และบริษัทบ้านปูเข้าร่วมด้วย พร้อมร่วมขับเคลื่อนงานกิจกรรมของมูลนิธิฯ และสนับสนุนแก่ครูผู้ได้รับรางวัลพระราชทานฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชนให้ความสนใจร่วมสื่อสารเผยแพร่ข่าวในครั้งนี้

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 30 สิงหาคม 2562

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายรูดี ฮาร์ยาดี

กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม และเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา | ครู Rudy Haryadi 

ครูปุณยาพร ผิวขำรางวัล ครูผู้ได้รับรางวัลครูคุณากร ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตลูกศิษย์ ประจำปี 2562
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบผู้นำกระทรวงศึกษาและเอกอัครราชทูตไทยในเมียนมาเชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ เพื่อสานต่อและขยายผลการพัฒนาครูในเมียนมา

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบผู้นำกระทรวงศึกษาและเอกอัครราชทูตไทยในเมียนมาเชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ เพื่อสานต่อและขยายผลการพัฒนาครูในเมียนมา


14 สิงหาคม 2562 ท่านดร.เตช บุนนาค ประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเข้าพบท่านคอเลย์วิน (Ko Lay Win) อธิบดีกรมสามัญศึกษา ดร.เมย์ สันยี (Dr. May San Yee) รองอธิบดีกรมอุดมศึกษา และคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ณ กรุงเนปิดอว์ เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ ในการนี้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการยังได้เล่าถึงเกณฑ์การคัดเลือกครูประจำปีนี้ ได้แก่ ครูหม่องจ๋าย จากแคว้นมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นครูรุ่นใหม่ที่มีบทบาทในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 และยังกล่าวถึงการพัฒนาครูของประเทศเมียนมาที่ผ่านมาและในอนาคตอีกด้วย รวมถึงกิจกรรมต่อยอดการทำงาน และหารือความร่วมมือระหว่างไทย-เมียนมาร์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาครูร่วมกันต่อไป


15 สิงหาคม 2562 ท่าน ดร.เตช บุนนาค นำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเข้าพบ ท่านสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูต และคณะสถานฑูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง พร้อมด้วย ท่านเทียนจีฮัน (Theingi Han) สำนักงานเขต ณ เมืองย่างกุ้ง ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ และคณะครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศเมียนมาร์ทั้งสามรุ่น ได้แก่ ครูยีมอนซอร์ (Ms.Yee Mon Soe) รุ่นที่ 1 ปี 2015 ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและการเกษตร จากโรงเรียนมัธยมศึกษาเมืองหล่าย ทาร์ ยา (Hlaingtharyar) แคว้นย่างกุ้ง ครูตันตุน (Mr.Than Tun) รุ่นที่ 2 ปี 2017 ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและหลักสูตรร่วมจากโรงเรียนมัธยมศึกษาเมืองยัวดายี (Ywar Thar Gyi) แคว้นซาเกรง  และครูหม่องจ๋าย (Mr.Muang Kyaing) ครูสอนภาษาอังกฤษและเกษตรจากโรงเรียนสามัญศึกษาจ่อเม (Hyaukmee) เมืองปะเต็งจี (Patheingyi) แคว้นมัณฑะเลย์ รุ่นที่ 3 ปี 2019


โดยการพบปะครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวทิศทางการพัฒนาประเทศของเมียนมาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม และหารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทย-เมียนมาร์ผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการนี้ทางสถานทูตยังเป็นแกนประสานภาคเอกชนไทยในเมียนมา โดยมีสมาคมธุรกิจไทยในพม่า TBAM เข้าร่วมหารือความร่วมมือในการสนับสนุนการขยายผลต่อยอดการพัฒนาครูของประเทศเมียนมา  และมีสื่อมวลชนท้องถิ่นให้ความสนใจร่วมสื่อสารเผยแพร่ข่าวในครั้งนี้

บ่ายโมง ตรงประเด็น : ประเด็นข่าว ออกอากาศเมื่อวันที่  23 ส.ค. 62

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ครูหม่อง จ๋าย แคว้นมัณฑะเลย์  สอนภาษาอังกฤษและเกษตร ร.ร.จ่อ เม แคว้นมัณฑะเลย์

รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 62


กระทรวงศึกษาและเอกอัครราชทูตไทยในเมียนมาครูหม่องจ๋าย (Mr.Muang Kyaing)

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศเมียนมา

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศเมียนมา


16 สิงหาคม 2562 ดร.เตช บุนนาค ประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูหม่องจ๋าย (Mr.Muang Kyaing) ครูสอนภาษาอังกฤษและเกษตร จากโรงเรียนจ่อเม (Hyaukmee) เมืองปะเต็งจี (Patheingyi) แคว้นมัณฑะเลย์ ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 3 ปี 2019 แห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมีท่านดาว ขิน ซันดาร์ (Daw Khin Sandar) ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนภูมิภาค และนายอู ออง ซาน วิน (U Anung Zan Win) เจ้าหน้าที่สำนักงานประจำจังหวัด พร้อมด้วยท่านดาว มู มู ธัน (Daw Mu Mu Than) ครูใหญ่ คณะผู้บริหารและคณะครูและนักเรียนโรงเรียนให้การต้อนรับ

ในงานนี้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังได้เยี่ยมเยือนชมการจัดการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียนระดับประถมและมัธยมต่างๆ และการสาธิตการสอนของครูหม่องจ๋ายในรายวิชาภาษาอังกฤษ และกิจกรรมการเกษตรในแปลงสวนเกษตรของโรงเรียน

สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาจ่อเม (Hyaukmee) เมืองปะเต็งจี (Patheingyi)  มีนักเรียนทั้งสิ้น 1,423 คน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับอนุบาลถึง (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (เกรด 11) โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้น 59 คน เป็นโรงเรียนหนึ่งใน 48 โรงเรียนที่อยู่ในพระราชานุเคราะห์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จุดเด่นของโรงเรียนคือการจัดการศึกษาทุกระดับเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับชุมชนและมีเด็กหลากหลายชาติพันธุ์มาเรียน และแม้โรงเรียนจะอยู่ในพื้นที่ชายขอบเมืองแต่โรงเรียนเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตและคุณภาพการศึกษาผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ทักษะชีวิต ไปจนถึงกิจกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีครูที่มีคุณภาพและเชื่อมโยงกับชุมชน

สำหรับครูหม่องจ๋าย เป็นหนึ่งในครูที่ถูกคัดเลือกจากระทรวงศึกษาธิการประเทศเมียนมา โดยมีบทบาทสำคัญในฐานะครูผู้สอนภาษาอังกฤษและเกษตร และยังบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ในกระบวนการเรียนรู้ จนสามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์โดยรวมที่ดีขึ้น ครูหม่องจ๋ายมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกศิษย์ให้เห็นความสำคัญและโอกาสของการศึกษาที่จะยกระดับคุณภาพ ชีวิตของเด็กๆชาวพม่าที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยที่ผ่านมาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโรงเรียนทั้งในการทำโครงการเกษตรและทรัพยากร สิ่งสำคัญคืออยากเห็นลูกศิษย์มีทักษะการใช้ชีวิตและความสมดุลในชีวิต ครูหม่องจ๋ายเล่าว่า “การสอนคือความท้าทายที่ต้องทำให้กระบวนการเรียนรู้นั้นสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ โดยวิธีการอาจไม่ได้มีอะไรมากมาย แต่ได้ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากกิจกรรม กิจกรรมต่างๆ ที่ทำในโรงเรียนก็พยายามทำให้เป็นสิ่งที่สร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆไปพร้อมกัน ให้เด็กเห็นคุณค่าจากสิ่งแวดล้อมคุณค่าจากการเรียนรู้ที่เขาเองเป็นคนลงมือทำ”

บ่ายโมง ตรงประเด็น : ประเด็นข่าว ออกอากาศเมื่อวันที่  23 ส.ค. 62

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ครูหม่อง จ๋าย แคว้นมัณฑะเลย์  สอนภาษาอังกฤษและเกษตร ร.ร.จ่อ เม แคว้นมัณฑะเลย์

รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 62

 

กระทรวงศึกษาและเอกอัครราชทูตไทยในเมียนมาครูหม่องจ๋าย (Mr.Muang Kyaing) 

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น พลิกปมข่าว และห้องข่าว สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ปี 2562

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น พลิกปมข่าว และห้องข่าว สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ปี 2562

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น : ประเด็นข่าว ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2562

ราชอาณาจักรกัมพูชา นายวิรัก ลอย ร.ร.มัธยมศึกษาฮุนเซน รอเลียพะเอีย


รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS ออกอากาศ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 62

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายเล ทัน เลียม ครูสอนวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.มัธยมชนเผ่าฮิม ลาม จ.เหิ่วซาง

รายการ บ่ายโมงตรงประเด็น ThaiPBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 62

บ่ายโมง ตรงประเด็น : ประเด็นข่าว ออกอากาศเมื่อวันที่  23 ส.ค. 62

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ครูหม่อง จ๋าย แคว้นมัณฑะเลย์  สอนภาษาอังกฤษและเกษตร ร.ร.จ่อ เม แคว้นมัณฑะเลย์

รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 62

 รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS 

สาธารณรัฐสิงคโปร์นางแองจิลิน ชาน สิ่วเวิ่น หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.แองโกไชนีส แผนกประถมศึกษาและหัวหน้าครูการสอนเด็กพิเศษ


รายการ ห้องข่าว : ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาครูอาเซียน ออกอากาศ 25 ส.ค. 62

ห้องข่าว ไทยพีบีเอส NEWSROOM

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า ติมอร์-เลสเต | บ่ายโมงตรงประเด็น 4 ก.ย. 62

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) 

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 4 กันยายน 2562

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของติมอร์-เลสเต

รายการ พลิกปมข่าว ออกกอากาศ เมื่อ 5 ก.ย. 2562

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ ติมอร์-เลสเต ประเทศเกิดใหม่ที่พยายามพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจน

รายการพลิกปมข่าว ออกอากาศ 17 ก.ย. 62

เด็กพิเศษ คนพิเศษ : บทวิเคราะห์เด็กพิเศษ ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 30 สิงหาคม 2562

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายรูดี ฮาร์ยาดี

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 17 ก.ย. 62 

ประเทศมาเลเซีย นางเค เอ ราซียะฮ์

บ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศ เมื่อ 30 ก.ย. 62

เนการาบรูไนดารุสซาลาม นางฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ 

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 62

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายสาดัท บี มินันดัง

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต

ไทยรัฐ : เชิดชูจิตวิญญาณแม่พิมพ์ : สปป.ลาว ชื่นชม “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ” แรงบัลดาลใจปลุกพลังครูดีเด่น

ไทยรัฐ : เชิดชูจิตวิญญาณแม่พิมพ์ : สปป.ลาว ชื่นชม “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ” แรงบัลดาลใจปลุกพลังครูดีเด่น

แนวคิดหลักของการพิจารณาคัดเลือก ครูดีเด่น ในระดับการศึกษาพื้นฐานของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย และบวกอีกประเทศคือ ติมอร์เลสเต ให้ได้รับ “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี”

นับเป็นรางวัลระดับนานาชาติ ในการเชิดชูแม่พิมพ์ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตลูกศิษย์ ผู้สร้างคุณูปการต่อการศึกษา สร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม และเป็นแรงบันดาลใจแก่เพื่อนครู

ในปี 2562 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้ประกาศรายชื่อครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ครั้งที่ 3 จำนวน 11 คน ซึ่งแต่ละคนได้ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศ และตามกระบวนการมีการคัดเลือก 2 ปีครั้ง โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลแก่ครูทั้ง 11 คน ในวันที่ 15 ต.ค.นี้

หลังจากที่มีการประกาศรางวัลแล้ว คณะกรรมการมูลนิธิมีภารกิจเยี่ยมครูที่ได้รับรางวัลทุกคน เพื่อให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน และร่วมสร้างพลังขับเคลื่อนบทบาทของครูรางวัลเจ้าฟ้าฯให้กว้างขวาง

โดยครั้งแรกของปีนี้ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างวันที่ 13-15 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเยี่ยม ครูไพสะนิด ปันยาสะหวัด หัวหน้าสาขาวิชาภาษาลาวและวรรณคดี และรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาสันติภาพ หลวงพระบาง ผู้ได้รับรางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้าฯในปีนี้ รวมทั้ง 2 แม่พิมพ์จาก สปป.ลาว ครูคำส้อย วงสัมพัน ที่ได้รับรางวัลรุ่นที่ 1 ในปี 2558 และ ครูคูนวิไล เคนกิติสัก รุ่นที่ 2 ปี 2560 ด้วย นำทีมโดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิซึ่ง ทีมการศึกษา ได้ติดตามร่วมคณะไปด้วย

“ความตั้งใจของมูลนิธิคือ ได้มาเยี่ยมครูที่ได้รับรางวัล ได้เห็นภาพและรับทราบความคืบหน้าของการทำงานของแต่ละท่าน พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมคารวะ ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางและผสานความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งมูลนิธิจะประสานการทำงานกับทุกฝ่ายหาทางช่วยครูที่ได้รับรางวัล ให้ได้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนการสอน นอกจากนี้ ฝากความหวังให้ครูไพสะนิดเป็นสะพานเชื่อมการศึกษาระหว่างประเทศต่อไป” ดร.กฤษณพงศ์ ย้ำเจตนารมณ์ของการเดินทางเยือน สปป.ลาวครั้งนี้

ก่อนเข้าสู่ภารกิจการเยี่ยมครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ คณะกรรมการมูลนิธิได้เดินทางไปที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ เพื่อเข้าพบ นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ เอกอัครราชทูต พร้อมเชิญผู้แทนภาคเอกชนที่ทำธุรกิจใน สปป.ลาว กว่า 10 ราย มาร่วมหารือถึงการสนับสนุนและพัฒนาครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯของ สปป.ลาว ซึ่งผลการเจรจา
เป็นที่น่ายินดี โดยทางสถานทูต จะให้ความร่วมมือยกระดับความรู้ความสามารถของครู สปป.ลาว พร้อมประสานภาครัฐและภาคเอกชนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของ ครูด้วย

ขณะที่ภาคเอกชนเองต่างพร้อมใจสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา และขอตอบแทนแผ่นดิน สปป.ลาว ในการประกอบธุรกิจ จึงจะสนับสนุนโครงการและกิจกรรมของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯใน สปป.ลาว อาทิ ส่งผู้เชี่ยวชาญพัฒนาบุคลากรครู การสร้างสื่อการเรียนรู้ และสนับสนุนการเรียนการสอนตามความต้องการของครู เป็นต้น

จากนั้นคณะเดินทางไปยัง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เข้าพบ นางขันทะลี สิริพงพัน รองรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ เพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยทางมูลนิธิได้แสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ ที่ให้การสนับสนุนการเติมความรู้ให้ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯทั้ง 3 ราย และได้ขอความร่วมมือให้กระทรวงศึกษาฯ ของ สปป.ลาว สนับสนุนการทำงานของครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯด้วย

และสิ่งสำคัญที่ทางคณะสัมผัสได้คือ เสียงตอบรับจากทางการ สปป.ลาวเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยเฉพาะการยกย่องเทิดทูน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีคุณูปการด้านการศึกษา ทั้งชื่นชมรางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ครูก้าวสู่ครูดีเด่น โดยกระทรวงจะสนับสนุนภารกิจของครู สปป.ลาวที่ได้รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯทุกด้าน และขยายผลสร้างครูดีเด่นของ สปป.ลาวด้วย

ออกจากเวียงจันทน์ เดินทางต่อไปหลวงพระบาง เข้าสู่ภารกิจหลัก เยี่ยมชมกิจการด้านการศึกษาของสำนักงานการศึกษาแขวงหลวงพระบาง การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสันติภาพ ตลอดจนรับฟังการถ่ายทอดกระบวนการทำงานของ ครูไพสะนิด

“ความภาคภูมิใจในชีวิตครูคือ ได้เป็นผู้ให้ สติปัญญา ความรู้ ชี้แนะแนวทางที่ดีแก่นักเรียน เมื่อเรียนจบไปแล้วได้ใช้ชีวิต มีอาชีพ มีอนาคต เป็นคนดีต่อสังคม สิ่งที่ดีใจที่พยายามมาตลอดคือ ติดตามนักเรียนที่เรียนอ่อน เกเร มาหาทางแก้ปัญหา ถ้าใครขัดสน ก็หาเงินมาช่วยจุนเจือ และสุดท้ายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้พัฒนาตัวเองเป็นเด็กเรียนดีขึ้น” ครูไพสะนิด เล่าถึงความภาคภูมิใจในชีวิต

ครูไพสะนิด บอกด้วยว่า รางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้าฯนับเป็นเกียรติ และความภาคภูมิใจ จึงตั้งมั่นปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น รักในวิชาชีพ พัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ก่อนที่จะมาปรับ
เป็นแนวทางการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และหวังว่ารางวัลนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ครูของ สปป.ลาว มีความตื่นตัวตั้งใจทำงานพัฒนาตนเองมากขึ้น

ทีมการศึกษา มองเห็นถึงความตั้งใจจริงของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในการปลุกจิตวิญญาณของครูให้มีพลังในการทำงาน และยังได้มุ่งสร้างพันธมิตรยกระดับการศึกษาระหว่างประเทศให้ก้าวหน้า

เพื่อก้าวสู่จุดหมายให้เกิด “ครูคุณภาพ สร้างคนคุณภาพ” ได้ยั่งยืนอย่างแท้จริง.

ที่มา : ไทยรัฐ ทีมการศึกษา ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 มิ.ย. 2562 05:01 น https://www.thairath.co.th/news/society/1599135

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เดินทางเข้าพบรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศเวียดนาม

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เดินทางเข้าพบรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศเวียดนาม

ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และนายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศเวียดนาม พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เดินทางเข้าพบ Ms. Nguyen Thi Thanh Minh รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ข้อมูลผลการคัดเลือกครูประเทศเวียดนามที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2562 ณ กระทรวงศึกษาธิการ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้แทนคุรุสภา เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศเวียดนาม พร้อมด้วยภาคเอกชนไทยในประเทศเวียดนาม เพื่อหารือความร่วมมือในการให้การสนับสนุนแก่ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ของประเทศเวียดนาม และพบสื่อท้องถิ่นของประเทศเวียดนาม เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2562 ณ สถานฑูตเอกอัครฑูตไทย ประจำกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

ดร. นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เดินทางเยี่ยม Mr. Le Thanh liem  ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ของประเทศเวียดนาม ประจำปี 2562 โดยทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่โรงเรียนมัธยมชนเผ่าฮิม ลาม (Him Lam) จังหวัดเหิ่วซาง (Hau Giang) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกัมพูชา ฐานะยากจน โดยครูได้ก่อตั้งชมรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสนใจ และแนะนำให้นักเรียนใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาชุมชน

Mr. Le Thanh liem  ครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ของประเทศเวียดนาม ประจำปี 2562 ได้รับการต้อนรับจากสำนักงานศึกษาจังหวัดเกิ่นเทอ (Can Tho) คณะผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนโรงเรียนฮิมลาม (him lam Boarding School) เมื่อวันพุธ ที่ 7 สิงหาคม 2562 ณ โรงเรียนฮิมลาม  จังหวัดเกิ่นเทอ (Can Tho)  ประเทศเวียดนาม โดยมีข่าวเผยแพร่ที่ท้องถิ่นที่ https://laodong.vn/the-gioi/nhung-nhip-cau-dua-viet-nam-thai-lan-xich-lai-gan-nhau-hon-749020.ldo

เครดิตภาพ: ข่าวคุรุสภา KPSNewS สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

 

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสิงคโปร์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสิงคโปร์


31 กรกฎาคม 2562  รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล นำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเข้าเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประเทศสิงคโปร์ โดยมี Dr. Irene Ng อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน Anglo-Chinese School (ACS-Primary) และคณะให้การต้อนรับ พร้อมเสนอภาพรวมของการจัดการศึกษาของโรงเรียน ACS ซึ่งเป็นโรงเรียนเรียนที่จัดการศึกษาแบบรวม (Inclusive Education) ที่ตอบสนองต่อความหลากหลายของเด็กทุกคนอย่างทั่วถึง ในงานนี้ ครู Angeline Chan Xiuwen ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์และเป็นหัวหน้าฝ่ายการศึกษาพิเศษ ซี่งได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 3 ประจำปี 2562 ยังได้เล่าถึงบทบาทและภารกิจของครู Angeline ในการจัดการเรียนรู้และดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ  พร้อมกันนี้โรงเรียนยังได้มีครูผู้เชี่ยวชาญด้าน Gifted Education ซึ่งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
       ในการนี้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังได้กล่าวแสดงความยินดีกลับคุณครู Angeline Chan Xiuwen และแจ้งวาระสำคัญของมูลนิธิฯทั้งเรื่องพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 3 และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นต่อไป นอกจากนี้คณะผู้บริหารของโรงเรียน ACS ยังได้นำคณะกรรมการมูลนิธิฯเยี่ยมชมการจัดการเรียนรู้ของห้องเรียนต่างๆ และสภาพแวดล้อมโรงเรียน รวมถึงห้องเรียนพิเศษและห้องให้คำปรึกษาดูแลผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะอีกด้วย
โรงเรียน ACS เป็นโรงเรียนรัฐบาลซึ่งมี 6 แห่ง โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งสร้าง “Character” หรือบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม โดยมีพันธกิจในการจัดการศึกษาและสภาพแวดล้อมที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่การค้นหาและค้นพบศักยภาพสูงสุดรวมถึงการพัฒนาบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม ภายใต้คำขวัญที่ว่า “The Best Is Yet To Be” มีแนวทางการทำงานใน 4 มิติคือ การสร้างผู้นำที่มีความหวัง (HOPEFUL Leader) การสร้างผู้เรียนที่สร้างสรรค์ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานชุมชนแบบรวมพลัง โดยนอกจากจะดูแลเด็กทุกคนอย่างทั่วถึงแล้วยังจัดให้มีโปรแกรมการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างทักษะสำคัญ การศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special needs education) และการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education)  โดยมีครู Angeline Chan Xiuwen เป็นหนึ่งในครูผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้และดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในประเภทต่างๆ ครู Angeline ยังมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นแกนนำครูที่ช่วยขับเคลื่อนเครือข่ายการพัฒนาครู และยังเป็นครูผู้ฝึกอบรมการจัดการศึกษาพิเศษ และการวัดและการประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) ให้กับ AST และกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ รายงาน, สรรชัย หนองตรุด ภาพ

 

รายการพลิปปมข่าว ThaiPBS

 

 

 

รายการพลิกปมข่าว ออกอากาศ 17 ก.ย. 62

เด็กพิเศษ คนพิเศษ : บทวิเคราะห์เด็กพิเศษ ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์ และท่านมานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชฑูต ณ สิงคโปร์
| เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์  
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประสานภาคส่วนเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประสานภาคส่วนเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์


30 กรกฎาคม 2562  ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบท่าน Chua-Lim Yen Ching ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้เชี่ยวชาญและอำนวยการบริหารของสถาบันครูแห่งชาติสิงคโปร์ (Academy of Singapore Teachers) และคณะกรรมการ ครูผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน เพื่อแจ้งผลและกำหนดการพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีครั้งที่ 3 ปี ๒๕๖๒ โดยมีครู Angeline Chan Xiuwen ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ โรงเรียน Anglo-Chinese School (ACS) ได้รับรางวัลในปีนี้

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ได้เล่าถึงการพัฒนาและทิศทางการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ที่ได้มีการปรับระบบการจัดการศึกษามุ่งเน้นเป้าหมายการสร้าง “ผู้เรียนที่มีคุณภาพเรียนรู้อย่างสนุกสร้างสรรค์ ค้นพบศักยภาพ สร้างทักษะอนาคต” รวมถึงระบบการพัฒนาครูที่เน้นการสร้างครูผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์การเรียนรู้และการดูแลผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ระบบประเมินบนฐานโรงเรียน และยังได้กล่าวถึงการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำปีนี้ โดยคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้เล่าถึงความเคลื่อนไหวการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และหารือการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีของครูในรูปแบบต่างๆ ร่วมกันต่อไป

จากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้เข้าพบ ท่านมานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชฑูต ณ สิงคโปร์ และคณะ
เพื่อแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวและการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในงานยังได้มีการแนะนำครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ Mrs. Wang-Lim Ai Lian ครูรางวัลฯ รุ่นที่ 1 ประจำปี 2558 Mrs. Sarabjeet Kaur d/o Hardip Singh รุ่นที่ 2 ประจำปี 2560 Ms. Angeline Chan Xiuwen รุ่นที่ 3 ประจำปี 2562 กับเอกอัครราชทูตและคณะ ทั้งนี้ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีของประเทศสิงคโปร์ใน 3 รุ่นยังได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเกี่ยวกับมุมมองและบทบาทของครูทั้ง 3 ท่านกับการพัฒนาผู้เรียนอีกด้วย นอกจากนี้ทางสถานฑูตยังได้เป็นฝ่ายประสานเชื่อมความสัมพันธ์กับภาคเอกชนโดยจัดให้คณะกรรมการมูลนิธิฯได้พบกับนายพิศิษฐ์ บูรณะกิจภิญโญ ผู้จัดการทั่วไป และเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย สำนักงาน ณ สิงคโปร์ หารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีกับภาคธุรกิจเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูและที่เกี่ยวข้องต่อไป

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ รายงาน, สรรชัย หนองตรุด ภาพ

 

รายการ พลิกปมข่าว ThaiPBS 

สาธารณรัฐสิงคโปร์นางแองจิลิน ชาน สิ่วเวิ่น หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ร.ร.แองโกไชนีส แผนกประถมศึกษาและหัวหน้าครูการสอนเด็กพิเศษ


รายการพลิกปมข่าว ออกอากาศ 17 ก.ย. 62

เด็กพิเศษ คนพิเศษ : บทวิเคราะห์เด็กพิเศษ ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ และท่านมานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชฑูต ณ สิงคโปร์
| เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์