คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศฟิลิปปินส์


24 กันยายน 2562  ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและคณะกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางไปยังโรงเรียนประถมศึกษาอามิรอล (Amiral Elementary School) เมืองโคตาบาโตซิตี้ ในเขตปกครองตนเองมุสลิมมินดาเนา เพื่อเยี่ยมเยียนครูซาดัต บี มินันดัง (Mr.Sadat B. Minandang) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019 โดยมี ดร.เรแกน ดากาดัส (Dr. Regan Dagadas) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษาพื้นที่ ประจำเมืองโคตาบาโตซิตี้ และคณะ พร้อมด้วยครูใหญ่มาเรียตา เอ ลาซสัน (Ms.Marietta A. Lacson) คณะครู นักเรียน ประธานสมาคมผู้ปกครอง ครอบครัวและผู้นำชุมชนร่วมให้การต้อนรับ 

เขตพื้นที่การศึกษา ผู้นำชุมชน และครูใหญ่ร่วมให้การต้อนรับ

ในการนี้ผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษา และครูใหญ่ได้กล่าวขอบคุณการมาเยี่ยมเยือนของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในครั้งนี้ พร้อมกันนี้คณะกรรมการยังได้เยี่ยมชมโรงเรียนและสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในห้องเรียนของครูซาดัต อีกยังได้เยี่ยมเยือนชุมชนและพื้นที่ที่ครูซาดัตจัดรถหนังสือเคลื่อนที่ไปจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา (Out of School Children) อีกด้วย

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาอามิรัอล เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในชุมชนมุสลิมในเขตโคตาบาโต ซึ่งมีจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาเกรด 1 -เกรด 6 (ป.1-ป.6) มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 570 คน ครู 21 คน เฉพาะในชั้นเกรด 1- เกรด 2 ที่จะมีแบ่งการจัดการเรียนการสอนต่อวันเป็น 2 ช่วง คือช่วงภาคเช้า 6.30-12.30 น. และภาคบ่าย 12.30-16.30 น.

ครูซาดัต บี มินันดัง ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019


ครูซาดัต บี มินันดัง ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019เป็นครูผู้จัดการเรียนรู้บูรณาการในระดับประถม ครูยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งโครงการ “Faith MALU”  ศรัทธาทำให้เกิดพลังความร่วมมือ โดยพยายามสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการส่งเสริมการศึกษาของลูกๆ 

นอกจากนี้ ครูยังดำเนินงานจัดการเรียนรู้เพื่อตอบสนองเด็กๆ ในชุมชนที่ พบว่า 35 คน ตั้งแต่ 6 ขวบ จนถึง 14 ปียังอยู่นอกระบบการศึกษา ทั้งนี้ ด้วยความยากจนของครอบครัว การมองไม่เห็นความสำคัญของให้ลูกๆได้เข้ารับการศึกษา หรือแม้แต่ความต้องการให้ลูกๆ เป็นแรงกำลังช่วยประกอบอาชีพทำให้เด็กๆเหล่านี้ไม่สามารถมาโรงเรียน ครูจึงได้จัดรถเข็นหนังสือเคลื่อนที่เข็นไปตามชุมชนต่างๆ เพื่อให้ความรู้สำหรับเด็กๆ เป็นการนำการศึกษาไปให้ถึงตัวเด็ก “Push Knowledge”  (เข็นรถความรู้เข้าหาเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน) โดยจะจัดกิจกรรมดังกล่าวในทุกวันเสาร์ตอนบ่าย เข็นรถไล่ไปตามหมู่บ้านพร้อมด้วยขนมของกินเพื่อดึงดูให้เด็กๆอยากมาเรียนรู้หนังสือ โดยหวังให้การเรียนรู้เป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อคุ้มครองและป้องกันเด็กๆเสี่ยงถูกการค้ามนุษย์ ด้วยที่ว่า “เมื่อเด็กเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และมีแรงบันดาลใจที่อยากเรียน สิ่งนี้จะช่วยให้เขาอยากกลับมาเรียนและพัฒนาตนเองได้ ท่ามกลางความยากจนหากมีครูให้โอกาสเด็ก หากพวกเขาเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ พวกเขาก็สามารถเติบโตประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นที่ผมเคยเป็น”  

ครูซาดัต บี มินันดัง ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆละชุมชน

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 62

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายสาดัท บี มินันดัง


พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

สถานฑูตไทย ณ กรุงมะนิลา | ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต บี มินันดัง รุ่นที่ 3 ปี 2019 |เยี่ยมเยือนครู รุ่นที่ 1 ปี 2015 | เวทีซีมีโอ ฟอรั่ม

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบท่านเฮซุส ลอเรนโซ อาร์ มาเทลโอ (Jesus Lorenzo R. Mateo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.มาร์การิตา คอนโซลาเซียน ซี บาลเลสติรอส (Dr. Margarita Consolacion C. Ballesteros) ผู้อำนวยการด้านการเยี่ยมเยียนต่างประเทศ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์   เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ ในการนี้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯ ได้กล่าวถึงภาพรวมของการศึกษาและความเคลื่อนไหวของครูวิเลี่ยม โมราคา (Mr. William Moraca) รุ่นที่ 1 ปี 2015 และ ดร.เฮซุส คาติกัน อินซิลาดา (Dr.Jesus Catigan Insilad) รุ่นที่ 2 ปี 2017 หลังจากที่ได้รับรางวัล รวมถึงการได้มาซึ่งครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ารุ่นที่ 3 นี้คือ ครูซาดัท บี มินันดัง (Mr.Sadat B. Minandang) ปี 2019 และขอบคุณประเทศไทยที่ได้มอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พร้อมความร่วมมือในการสนับสนุนครูและการพัฒนาเด็กเยาวชนและการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์ 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมหารือกับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์

จากนั้นในตอนค่ำ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังได้พบปะกับท่านเบนิโต บีนาซา (Mr. Benito Benoza) ผู้จัดการของซีมีโอ อินโนเทค (SEAMEO INNOTECH) หัวหน้าสำนักงานจัดการความรู้และเครือข่ายหารือความร่วมมืองานเวทีวิชาการพัฒนาครูฟิลิปปินส์โดยพลังครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีผ่านศูนย์ซิมิโอ อินโนเทค ซึ่งจะได้มีกิจกรรมเวทีวิชาการ Making Teaching a Profession of Choise : Getting the Best and the Brightest…and Keeping Them A Regional Knowledge Forum ในวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่จะถึงนี้ รวมถึงความร่วมมือขยายผลการพัฒนาครูที่จะมีต่อเนื่องต่อไป นอกจากนี้ยังได้พบกับศาสตราจารย์ฮวน ไมค์ ลูซ์ (Juan Mike Luz) ผู้เขียนหนังสือ “Out of Ordinary : Teacher Innovations Changing student lives” หารือการงานพัฒนาร่วมกันต่อไป

 

รายการพลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 2 ต.ค. 2562
ตอน: ครูในพื้นที่กฎอัยการศึก มินดาเนา (2 ต.ค. 62)

พลิกปมข่าว ออกอากาศเมื่อ 7 ต.ค. 62
“วันครูโลก” ความร่วมมือทีมไทยแลนด์

สถานฑูตไทย ณ กรุงมะนิลา | ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมเยือนครูซาดัต บี มินันดัง รุ่นที่ 3 ปี 2019 |เยี่ยมเยือนครู รุ่นที่ 1 ปี 2015 | เวทีซีมีโอ ฟอรั่ม

หนังสือพิมพ์ Asean Times ฉบับที่ 47 ปีที่ 14 เดือนสิงหาคม 2562

หนังสือพิมพ์ Asean Times ฉบับที่ 47 ปีที่ 14 เดือนสิงหาคม 2562

ข่าวรางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562
Asean Times No. 47 / Vol. 14 AUGUST 2019 / ISSN No. 2012-2802
PUBLISHED BY ST. JUDE MEDIA ORGANIZATION, INC.
w w w . a s e a n t i m e s . n e t

ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในมุมมอง “วิถีที่ยั่งยืนต้องด้วยเริ่มต้นจากการศึกษา” รายการพลิกปมข่าวThaiPBS
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเข้าพบเอกอัครราชทูต และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการบรูไน

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเข้าพบเอกอัครราชทูต และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการบรูไน

บ่ายวันที่ 18 กันยายน 2562  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  นำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบท่านวันทนีย์ วิพุธวงศ์สกุล เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน  เพื่อแนะนำครูและขอบคุณสถานฑูต โดยมีครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศบรูไน 3 ท่าน ได้แก่  ครูฮาจาฮ์ รัตนาวาติ บินติ ฮาจิ โมฮามัด (Ms. Hajah Ratnawati Binti Haji Mohammad) ครูรางวัลรุ่นที่ 1 ปี 2015 ผู้จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ เชี่ยวชาญนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการเรียนร่วมในรูปแบบต่างๆ ครูลิม ซอง โง (Ms. Lim Soh Ngo) ครูรางวัลรุ่นที่ 2 ปี 2017 ครูเคมีเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม และครูฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ (Ms. Dayang Hajah Noorliah Binti Haji Aspa) รุ่นที่ 3 ปี 2019 ครูใหญ่ที่เชี่ยวชาญเรื่องการจัด Inclusive education และระบบการพัฒนาครูสำหรับการศึกษาพิเศษเข้าร่วม  โดยมีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวการพัฒนาประเทศของบรูไนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม และหารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทย-บรูไนผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ในการนี้ทางสถานทูตยังได้เป็นแกนประสานภาคเอกชนไทยในประเทศบรูไน โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชนและผู้แทนสมาคมคนไทยในบรูไนเข้าร่วมหารือด้วย พร้อมร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่อยอดครูผู้ได้รับรางวัลพระราชทานฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชนให้ความสนใจความเคลื่อนไหวพร้อมสัมภาษณ์คณะกรรมการมูลนิธิฯและครูทั้ง 3 รุ่น เพื่อเผยแพร่ข่าวครั้งนี้

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังเข้าพบ ดร.ซามียะห์ ซุไรนีย์ กาญจนาวาตี บินติ ฮาจิ ทาจัสดิน
(Dr. Shamsiah Zuraini Kanchanawati binti Haji Tajuddin) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บูรไน และคณะ พร้อมด้วยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าทั้ง 3 รุ่น เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ 

ทั้งนี้ ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงที่มาและกระบวนการการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีของประเทศบรูไน รวมถึงระบบการพัฒนาครูและยกระดับคุณภาพครูผ่านการสร้างระบบพี่เลี้ยง ซึ่งครูฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ (Mr. Dayang Hajah Noorliah Binti Haji Aspa) ผู้ได้รับรางวัลปี 2019 นี้ เป็นหนึ่งในครูที่เป็นที่ปรึกษาและมีบทบาทร่วมพัฒนาระบบพี่เลี้ยงนิเทศติดตามเพื่อพัฒนาครูของบรูไนด้วย โดยที่ประชุมต่างขอบคุณและเห็นชอบที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาครูบรูไนร่วมกันต่อไปในอนาคต ในตอนท้ายประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังได้พบปะ ดาโต๊ะ ซีไร อาวัง ฮาจิ ฮัมซาฮ์ บิน ฮาจิ ซุไลมาน (Dato Seri Setia Awang Haji Hamzah bin Haji Sulaiman) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบรูไน เพื่อขอบคุณในความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีอย่างต่อเนื่องนี้ด้วย 


ประธานมูลนิธิฯ พบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบรูไน

บ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศ เมื่อ 30 ก.ย. 62

เนการาบรูไนดารุสซาลาม นางฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ 

เอกอัครราชทูตไทย และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการบรูไน | ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศบรูไน

 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศบรูไน

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศบรูไน

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  พร้อมด้วยท่านรุจ ธรรมมงคล อัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน นำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เยี่ยมเยือนครูฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ (Dayang Hajah Noorliah Binti Haji Aspa) ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาลัมบัก กานัน จารัล 49 (Lambak Kanan Jalan 49) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019 โดยมีท่านวอลเตอร์ ฉอง (Mr.Walter Chong) หัวหน้าหน่วยกิจการระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการบรูไน ท่านอาวัง ไซนัล อาบีดิน บิน ฮาจิ เคปลิ (Mr. Awg Zainal Abidin bin Haji Kepli) รักษาการผู้อำนวยการกรมโรงเรียน และคณะ พร้อมด้วยคณะครู และนักเรียนของโรงเรียนให้การต้อนรับ

ในงานนี้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้รับฟังการดำเนินงานของครูและการบริหารโรงเรียนแบบการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) และการจัดให้มีระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Education) รวมถึงการสร้างระบบนิเทศและพัฒนาครู รวมถึงงานที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและฝึกอบรมครูให้กระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมกันนี้คณะกรรมการได้เยี่ยมชมโรงเรียน ห้องสมุดที่มีมุมการเรียนรู้อาเซียนศึกษา และเยี่ยมชมสังเกตการณ์จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ห้องเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในกลุ่มต่างๆ 

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาลัมบัก กานัน จารัล 49 (Lambak Kanan Jalan 49) เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) และมีการจัดระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Education) โดยมีการออกแบบอาคารเรียนและห้องเรียนด้วยหลักอารยสถาปัตย์  (universal design) ที่คำนึงถึงเด็กปกติ เด็กผู้พิการ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้สะดวกและเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กทุกคน และมีการวางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาและระบบนิเทศติดตาม (Coaching and Mentoring) เพื่อพัฒนาครู รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กในหลากหลายลักษณะทั้งด้านทักษะชีวิตและทักษะสำคัญด้าน Literacy ต่างๆ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมในโรงเรียน

ส่วนครูฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ (Dayang Hajah Noorliah Binti Haji Aspa) ครูใหญ่ของโรงเรียนประถมศึกษาลัมบัก กานัน จารัล 49 เป็นครูใหญ่ที่เชี่ยวชาญในการบริหารศึกษาและการจัดการเรียนรู้พัฒนาครูด้านการศึกษาพิเศษ โดยเฉพาะได้ทำให้โรงเรียนเป็นต้นแบบของโรงเรียนแบบเรียนรวม (Model Inclusive School) ที่มีศูนย์ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปัญญาเลิศ รวมถึงเด็กๆทุกคน อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านมาตรฐานคุณภาพครู เป็นวิทยากรผู้ฝึกอบรมครูประจำการให้กับกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันผลิตครูต่างๆ อีกด้วย 

บ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศ เมื่อ 30 ก.ย. 62

เนการาบรูไนดารุสซาลาม นางฮาจะฮ์ บินติ ฮาจี อัสปาร์ 

เอกอัครราชทูตไทย และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการบรูไน | ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศบรูไน

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศมาเลเซีย ณ รัฐกลันตัน

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เดินทางเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศมาเลเซีย ณ รัฐกลันตัน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562  ดร. คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ฯ  ท่าน มงคล สินสมบูรณ์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู พร้อมด้วย ดร.โรเซียยาฮ์ บินติ อับดุลลาห์ (Dr. Roziah binti Abdullah) หัวหน้าผู้ตรวจการสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และคณะ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางเยี่ยมครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) ครูผู้ดูแลการศึกษาพิเศษในโรงเรียนมัธยมศึกษาปันหยี (Panji Secondary School) รัฐกลันตัน ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีของประเทศมาเลเซีย รุ่นที่ 3 ปี ประจำปี 2019 โดยได้รับการต้อนรับจาก ท่านอบู ฮานีฟะห์ ฟัวซิ บิน ซาฮาริ (Abu Hanipah @ Fauzi bin Zahari) กระทรวงศึกษาธิการ รัฐกลันตัน  และคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูและนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาปันหยี


ในงานนี้คณะผู้บริหารและครูเค เอ ราซียะฮ์ ได้แนะนำถึงการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษาปันหยี การเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่หลากหลาย ตลอดจนกิจกรรม ห้องเรียนและโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ นอกจากนี้คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรียังได้เยี่ยมชมห้องเรียน “Teratak SPA Pendidikan Khas”  ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้เรียนที่เป็นเด็กพิเศษอีกด้วย

โรงเรียนมัธยมศึกษาปันหยี (Panji Secondary School) รัฐกลันตัน เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียน (Inclusive Education) โดยมีผู้เรียนทั้งสิ้น 700 คน ในนี้มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 99 คน เป็นชาย 66 คน เป็นหญิง 33 คน โดยโรงเรียนจัดให้มีระบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ (Special Education) มีโปรแกรม ห้องเรียนสำหรับเด็กพิเศษ และมีครูเฉพาะทางที่ดูแลผู้เรียน ซึ่งหนึ่งในครูนั้นคือครูเค เอ ราซียะฮ์

ครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) เป็นครูที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาตลอด 34 ปี มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้เรียนที่มีความหลากหลาย ทั้งผู้เรียนกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ผู้เรียนกลุ่มออทิสติก (Autistic Disorder) เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities) รวมถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มอื่นๆ ครูเคเอยังได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ บทภาพยนตร์ สร้างนวัตกรรม “ห้องเรียนสปาเพื่อพัฒนาเด็กพิเศษ” อีกทั้งเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ และในปี 2018 ก็ยังได้เป็น 1 ใน 50 รายชื่อครูผู้รับรางวัลครูดีเด่นโลก ปี 2018 “Global Teacher Award” ที่คัดเลือกโดย Varkey Foundation ประเทศอังกฤษ อีกด้วย โดยครูเคเอ ราซียะฮ์ เชื่อว่า “ผู้เรียนที่เป็นเด็กนั้นมีความแตกต่าง แม้แต่ละคนจะมีความไม่พร้อมด้วยประการใดๆ แต่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กต้องการเวลาและวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้และพัฒนา ครูจึงต้องช่วยให้เด็กเห็นคุณค่า ความงดงามและพลังในตัวของแต่ละคน หาสิ่งที่เด็กๆ สนใจและชอบ สนุกสนานให้เด็กๆได้ทำ เพื่อให้เด็กๆมีความสุขกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้ทำและภาคภูมิใจในตัวเอง” 

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ รายงาน
สรรชัย หนองตรุด ภาพ (สถาบันรามจิตติ)

 

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 17 ก.ย. 62 

ประเทศมาเลเซีย นางเค เอ ราซียะฮ์

 กระทรวงศึกษาธิการและสถานฑูตครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการและท่านเอกอัครราชทูตไทย เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครูในประเทศมาเลเซีย

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีพบผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการและท่านเอกอัครราชทูตไทย เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครูในประเทศมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562  ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ฯ เข้าพบท่าน ดร.โรเซียยาฮ์ บินติ อับดุลลาห์ (Dr. Roziah binti Abdullah) หัวหน้าผู้ตรวจการสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และคณะ ณ กระทรวงศึกษาธิการ กรุงจาการ์ตา ประเทศมาเลเซีย เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ ทั้งนี้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงที่มาและกระบวนการการคัดเลือกครูรางวัลสมเจ้าฟ้ามหาจักรีของประเทศมาเลเซียในปีนี้จนได้ครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) ครูผู้ดูแลการศึกษาพิเศษในโรงเรียนมัธยมศึกษาปันหยี รัฐกลันตัน  ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 50 รายชื่อครูผู้รับรางวัลครูดีเด่นโลก ปี 2018 “Global Teacher Award” ที่คัดเลือกโดย Varkey Foundation ประเทศอังกฤษ อีกด้วย

จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พร้อมครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศมาเลเซีย 3 ท่าน ได้แก่ ครูไซนุดดิน ซาคาเรีย (Mr.Zainuddin Zakaria) ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีรุ่นที่ 1 ปี 2015  ครูฮัจญะห์ ซารีปะห์ บินตี เอิมบง (Ms.Hajah Saripah Binti Embong) ครูรุ่นที่ 2 ปี 2017 และครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) รุ่นที่ 3 ปี 2019 เข้าพบ ฯพณฯ ท่านณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และคณะ เพื่อแนะนำครูและขอบคุณสถานฑูต โดยมีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวการพัฒนาประเทศของมาเลเซียและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม และหารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ในการนี้ทางสถานทูตเป็นแกนประสานภาคเอกชนไทยในประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชน อาทิ บริษัท CARIGALI-PTTEPI Operating Company SDN BHD (CPOC) และบริษัท HESS-Exploration and Production เข้าร่วมด้วย พร้อมร่วมขับเคลื่อนงานกิจกรรมของมูลนิธิฯ และสนับสนุนแก่ครูผู้ได้รับรางวัลพระราชทานฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชนให้ความสนใจความเคลื่อนไหวพร้อมสัมภาษณ์คณะกรรมการมูลนิธิฯและครูทั้ง 3 รุ่น เพื่อเผยแพร่ข่าวครั้งนี้   

 

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ รายงาน
สรรชัย หนองตรุด ภาพ (สถาบันรามจิตติ)

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 17 ก.ย. 62 

ประเทศมาเลเซีย นางเค เอ ราซียะฮ์

บ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศ เมื่อ 30 ก.ย. 62

 กระทรวงศึกษาธิการและสถานฑูตไทยครูเค เอ ราซียะฮ์ (Mrs. K.A. Razhiyah) 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศติมอร์-เลสเต

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศติมอร์-เลสเต


28 สิงหาคม 2562  ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและคณะกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางไปเมืองเอเมร่า (Emera) โดย
มีนายแอลเฟรโด ดี เอเรอุซ (MR. Alfredo de Arauj) ผู้อำนวยการความร่วมมือแห่งชาติ (Partnership and Cooperation) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต และท่านดนัย  การพจน์ เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงดิลี นำคณะ เพื่อพบปะหัวหน้าแผนกบริหารการศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเอเมร่า  (Ermera) และเยี่ยมเยือนโรงเรียนในพื้นที่ โดยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาของพื้นที่เอเมร่าซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างจากเมืองดิลี (Dili) ไปทางตอนใต้ราว 59 กม. สภาพเป็นภูเขาสูงเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟ ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และมีอาชีพเกษตรกร การศึกษาในเขตเอเมร่ามีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยศึกษาจนถึงระดับอาชีวศึกษา โดยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจัดการเป็นแบบกลุ่มโรงเรียน (School cluster) พื้นที่นี้ยังโดดเด่นในเรื่องการอาชีวศึกษาที่เน้นการฝึกอบรมด้านการเกษตรการเพาะปลูกกาแฟ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถาบันกาแฟติมอร์ตะวันออก (ETCI) ที่มีการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีโรงงานการผลิตตั้งอยู่ในเขตนี้ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเคยเสด็จเยือน

จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิฯ เดินทางไปยังโรงเรียนประถมศึกษามาตาตา (Matata) ซึ่งอยู่ในเขตเอเมร่า (Emera) เพื่อเยี่ยมเยือนครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019 โดยมีนายมานูเอล เซาซียา (Manuel Salsinha) ครูใหญ่ให้การต้อนรับพาเยี่ยมชมโรงเรียน พร้อมกันนี้ยังได้เข้าสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในห้องเรียนของครูลูร์เดส และห้องเรียนต่างๆ อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนกับนักเรียนในกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษามาตาตาเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในชนบทที่ห่างไกลในลักษณะกลุ่มโรงเรียน (School cluster) โดยโรงเรียนมาตาตาเป็น 1 ใน 9 ของกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาในเขตเอเมร่านี้ ซึ่งมีจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นเกรด 1 -เกรด 6 (ป.1-ป.6) เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2000 โดยปัจจุบันโรงเรียนมีครู 10 คน และนักเรียน 300 คน

ส่วนครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ  ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2019 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาโดยได้ร่วมกับครูใหญ่ก่อตั้งโรงเรียนมาตาตาโดยใช้ที่ดินของครอบครัวเพื่อจัดการศึกษาให้กับเด็กๆในเขตเอเมร่าเป็นเวลากว่า 19 ปี ครูลูร์เดสเน้นการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมที่ให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการกลุ่ม กิจกรรมแบบตื่นตัว Active learning หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ครูลูร์เดสยังมีบทบาทในการร่วมเขียนหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติในระดับประถมศึกษา และร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมพัฒนาครูให้กับกระทรวงศึกษาฯ  ครูลูร์เดสยังได้รับการสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟในด้านการพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อและการพัฒนาระบบดูแลเด็กๆและพัฒนาชุมชน และได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและกีฬา แห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในปี 2019 นี้ 

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า ติมอร์-เลสเต | บ่ายโมงตรงประเด็น 4 ก.ย. 62

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) 

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 4 กันยายน 2562

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของติมอร์-เลสเต

รายการ พลิกปมข่าว ออกกอากาศ เมื่อ 5 ก.ย. 2562

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ ติมอร์-เลสเต ประเทศเกิดใหม่ที่พยายามพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจน

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น 21 ก.ย. 2562
โครงการอาหารกลางวันและการศึกษา ติมอร์ เลสเต

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา | เยี่ยมเยือนครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศติมอร์-เลสเต เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครู

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศติมอร์-เลสเต เชื่อมความสัมพันธ์ภาคส่วนต่างๆ ขยายผลการพัฒนาครู

          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าพบท่านดูลซี เดอ เฮซูส ซอรเลส (Mrs. Dulce De Jesus Soares) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต  นายโจอนา ซาคาเรียเอส เฟรตัส ซอรเลส (Mr. Joao Zacarias Freitas Soares) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการฯ นายแอลเฟรโด ดี เอเรอุซ (MR. Alfredo de Arauj) ผู้อำนวยการความร่วมมือแห่งชาติ (Partnership and Cooperation) และคณะผู้บริหารการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เพื่อขอบคุณและแจ้งความเคลื่อนไหวผลการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีใน 11 ประเทศ โดยมีท่านดนัย  การพจน์ เอกอัครราชทูตไทย กรุงดิลี พร้อมด้วยครูจูลิโอ ไซเมน มาเดียร่า (Mr. Julio Ximenes Madeira) ครูรางวัลฯ รุ่นที่ 1 ปี 2015 ครูลีโอโพลดีน่า โจอนา กูเตรเรส (Mrs. Leopoldina Joana Guterres) ครูรางวัลฯรุ่นที่ 2 ปี 2017 และครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) ครูรางวัลฯรุ่นที่ 3 ปี 2019 เข้าร่วมการประชุม ในการนี้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯ ได้กล่าวถึงภาพรวมของการศึกษา ขอบคุณประเทศไทยที่ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็ก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลมาตลอด พร้อมกับแนะนำครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปีล่าสุดด้วย

             จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำติมอร์-เลสเตทั้ง 3 ท่าน เข้าพบท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ สถานฑูตไทย เพื่อขอบคุณทางสถานฑูต โดยมีการแลกเปลี่ยนความเคลื่อนไหวทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวม ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จมาเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เยี่ยมโรงเรียนและกิจการด้านการพัฒนาของประเทศติมอร์ฯ  นอกจากนี้ท่านเอกอัครราชฑูตยังได้หารือการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างไทยและติมอร์-เลสเตผ่านทางสถานฑูตไทยในการพัฒนาครูร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 

 

 

               ในการนี้ทางสถานทูตยังเป็นแกนประสานสื่อมวลชนท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ข่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเตด้านการศึกษาและครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) จากโรงเรียนมาตาตา (Matata) ในเขตเอเมร่า (Ermera) ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในปี 2019 นี้

 

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า ติมอร์-เลสเต | บ่ายโมงตรงประเด็น 4 ก.ย. 62

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (Ms. Lourdes Rangel Goncalves) 

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 4 กันยายน 2562

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของติมอร์-เลสเต

รายการ พลิกปมข่าว ออกกอากาศ เมื่อ 5 ก.ย. 2562

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ ติมอร์-เลสเต ประเทศเกิดใหม่ที่พยายามพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจน

รายการบ่ายโมง ตรงประเด็น 21 ก.ย. 2562
โครงการอาหารกลางวันและการศึกษา ติมอร์ เลสเต

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา | เยี่ยมเยือนครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ