คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเยี่ยมเยือนครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำประเทศอินโดนีเซีย

20 สิงหาคม 2562 รศ.ดร. พินิติ รตะนานุกูล กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีนำคณะกรรมการมูลนิธิฯ เยี่ยมเยือน ครู Rudy Haryadi ครูผู้สอน Conputer engineer ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 3 ปี 2019 ณ ในโรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาของรัฐ 1 เมืองจิมาฮิ (Vocational School of Chimahi1) ในชวาตะวันตก จังหวัดบันดุง โดยมี Dr. Dewi Sartka ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  Mr. Wendi Kuswndi เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ (Directorate General of Teachers and Education Personnel) เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  Mr. Daud Saleh ครูใหญ่ คณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับ โดยมีครู Herwin Hamid และครู Encon Rahman ครูรางวัลฯ รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 ร่วมเยี่ยมเยือนในครั้งนี้ด้วย

ในงานนี้คณะผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา คณะผู้บริหารโรงเรียน ได้กล่าวแนะนำภาพรวมของการศึกษาและโรงเรียน พร้อมกันนี้ครู Rudy Haryadi ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำปีนี้ได้นำเสนอภาพรวมการทำงานและบทบาทของการพัฒนาผู้เรียนและสังคม

จากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ยังได้เยี่ยมเยือนชมการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาในชั้นเรียนต่างๆ และเยี่ยมชมการสาธิตการสอนของครู Rudy ในการออกแบบคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมฟังการนำเสนองานของนักเรียน การสะท้อนคิดต่อการเรียนรู้และความประทับใจที่มีต่อตัวครูผู้สอน

 

สำหรับโรงเรียน SMK Negeri 1 Cemahi เป็นโรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาของรัฐ 1 เมืองจิมาฮิ (Vocational School of Chimahi1) ในชวาตะวันตก ที่มีนักเรียน 2537 คน มีครู 142 คน จัดการเรียนการสอนเป็นแบบ TVET ( Technical and Vocational Education and Training) มีโปรแกรมการเรียนรู้ใน 9 อาทิ สาขาช่างกล ช่างอิเลคทรอนิค สาขาวิศวะอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์ สาขาการผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ ฯลฯ


ส่วนครู Rudy Haryadi ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีล่าสุดในปีนี้ เป็นครูผู้จัดการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเน้นเรียนรู้บนฐาน IT ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงส่งเสริมทักษะสำคัญทั้งด้านทักษะการสื่อสาร การเชี่อมโยงเทคโนโลยีไร้สาย และการสร้างสมรรถนะอาชีพให้กับนักเรียน ซึ่งครู Rudy สะท้อนว่า “การเรียนรู้ที่พาผู้เรียนไปออกแบบด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนต้องคิดต้องปฏิบัติและต้องออกแบบงาน ที่มีหลายแบบที่เกิดขึ้นได้ เชื่อมไปกับอนาคตของพวกเขาที่เขาจะคิดต่อไป” ทำให้ครู Rudy มีผลงานทั้งในระดับการสร้างการเปลี่ยนแปลงกับลูกศิษย์ไปจนถึงระดับชาติ และสร้างเครือข่ายการพัฒนาครูในระหว่างประเทศอีกด้วย

รายการ บ่ายโมง ตรงประเด็น ออกอากาศเมื่อ 30 สิงหาคม 2562

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายรูดี ฮาร์ยาดี

กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม และเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา | ครู Rudy Haryadi