ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 ชี้บทบาทครูในการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ


วันที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-17.30 น. ณ ห้อง
World Ballroom โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในงานพิธีมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 รางวัลพระราชทานระดับนานาชาติเพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต 11 ประเทศ   ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานของครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 อาเซียนและติมอร์-เลสเต โดยมีกิจกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ทักษะที่สำคัญ (Essential Skills)

กลุ่มที่ 1 : ทักษะที่สำคัญ (Essential Skills)

วันที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 13.30 – 14.30น. ห้อง World Ballroom ครูผู้นำเสนอได้แก่ 1) นายลอย  วิรัก ประเทศกัมพูชา 2) นายรูดี้  ฮาร์ยาดี้ ประเทศอินโดนีเซีย 3) นายหม่อง  จ๋าย ประเทศเมียนมา 4) นายเลอ ทัน เลียม ประเทศเวียดนาม ซึ่งครูทั้ง 4 ท่านเน้นการทำความเข้าใจกับธรรมชาติที่หลากหลายของผู้เรียน และเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่จะสร้างทักษะสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ICT การสื่อสาร และทักษะการดำรงชีวิต ซึ่งในกรณีของครูลอยและครูเลียม ให้นักเรียนมีคู่บัดดี้ในการช่วยเหลือกันและกัน ขณะที่ครูรูดี้มีกระบวนการสอนโดยพัฒนาโมเดลที่เรียกว่ การใช้เทคโนโลยี ICT ชี้ความสำเร็จมาจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและชุมชนในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ โดยครูลอยวิรัก ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม กระบวนการจัดการเรียนรู้สื่อและอุปกรณ์ การสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงการแบ่งปันประสบการ์ร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันในการให้เด็กที่เรียนรู้ได้ไวช่วยเหลือเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า


กลุ่มที่ 2 : ส่วนร่วมของชุมชน (Community Engagement)  

กลุ่มที่ 2 : ส่วนร่วมของชุมชน (Community Engagement)  

1) นายไพสะนิด ปันยาสวัด ประเทศ สปป.ลาว 2) นายซาดัด บี มินันดัง ประเทศฟิลิปปินส์  3) นางลูร์เดส รันเกล กอนคัลเวส ประเทศติมอร์-เลสเต 4) นายสุเทพ เท่งประกิจ ประเทศไทย ซึ่งครูทั้ง 4 ท่าน การให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ทั้งในแง่การเอาของเอาชุมชนเป็นบริบทพื้นที่ของการส่งเสริมการเรียนรู้และการดึงพลังของพ่อแม่ครอบครัวและชุมชนมาร่วมสนับสนุนการศึกษา สร้างโอกาสที่ดีทางการศึกษาให้กับเด็กเยาวชน  ซึ่งครูทั้ง 4 ท่าน มีความเชื่อร่วมกันว่า “การเป็นครู ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การสอนอย่างเดียว แต่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนด้วย”  


กลุ่มที่ 3 : การศึกษาพิเศษ (Special Education)

กลุ่มที่ 3 : การศึกษาพิเศษ (Special Education) 1) นาง เค เอ ราซียาห์ ประเทศมาเลเซีย 2) นางชาน ซิว เหวิน ประเทศสิงคโปร์ 3) นางฮาจา นูร์เลีย ฮาจี อัสปาร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งชานซิวเหวินเป็นครูผู้ดูแลโปรแกรมการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิเศษในระดับประถมศึกษาที่จัดควบคู่ไปพร้อมกับระบบเรียนรวม ขณะที่ครูเคเอเป็นครูผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระดับมัธยมศึกษา โดยพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนที่เรียกว่า ห้องเรียนสปาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่วนครูฮาจานูร์เลียเป็นครูใหญ่ที่พยายามวางระบบการจัดการศึกษาแบบ Inclusive Education ให้กับโรงเรียน โดยมีระบบการศึกษาพิเศษและกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทั้ง 3 ท่านต่างสะท้อนว่าเด็กต่างมีความหลากหลาย ครูมีหน้าที่ที่จะต้องเรียนรู้และเห็นความงามในความหลากหลาย นำพาผู้เรียนไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนและมีความสุขกับการเรียนรู้