ครูไทยร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาแบบเรียนรวม ชี้เด็กมีที่ยืน ครูต้องตื่นตัว ครอบครัวต้องเข้าใจ

ครูไทยร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาแบบเรียนรวม ชี้เด็กมีที่ยืน ครูต้องตื่นตัว ครอบครัวต้องเข้าใจ

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีได้จัดให้มีการเสวนาสัญจรเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้ของครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในประเทศไทย (ปี 2566) เรื่อง “เรียนรวมเพื่ออยู่ร่วม (Inclusive Education) ความท้าทายของการจัดการศึกษายุคใหม่เพื่อเด็กไทยทุกคน”  ในวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนปรียาโชติ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โดยการเสวนาสัญจรครั้งนี้ยังจัดในรูปแบบผสมผสานการเสวนาออนไลน์ โดยมีวิทยากรเสวนาซึ่งเป็นครูในเครือข่ายมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้แก่ ครูสุลีกาญ ธิแจ้  ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2558 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดร.ปาริชาติ ปรียาโชติ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2558  ครูใหญ่โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ดร.สมพร  หวานเสร็จ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564  อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ครูพยอม คงเจริญ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564 โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายจิรศักดิ์ อุดหนุน สถาบันรามจิตติ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในเวทีเสวนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากดร.กฤษณพงศ์ กรีติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมกล่าวเปิดวงและสะท้อนความคิด โดยผู้เข้าร่วมวงเสวนาประกอบด้วยครูมูลนิธิฯ จากภูมิภาคต่างๆ ศึกษานิเทศก์  ผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมวงเสวนา พร้อมด้วยคณะทำงานวิชาการ ทีมงานสถาบันรามจิตติ  ทีมงานครุวัตรร่วมจัดกิจกรรมดังกล่าวโดยความร่วมมือกับคณะครูโรงเรียนปรียาโชติ  อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

การเสวนาสัญจรในครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนประเด็นสำคัญใน 3 เรื่องได้แก่ 1) การฉายภาพรวมของกระบวนทัศน์ แนวคิดและแนวทางจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) 2) ตัวอย่างประสบการณ์ครูในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อตอบสนองเด็กที่หลากหลายและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 3) ประเด็นสำคัญเพื่อการขับเคลื่อนการศึกษาแบบเรียนรวมจากภาคปฏิบัติสู่ภาคนโยบาย ซึ่ง ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ได้กล่าวนำเปิดประเด็นว่า มูลนิธิเสวนาสัญจรเรื่อง “การเรียนรวมเพื่ออยู่ร่วม” ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวของการจัดการศึกษาทั่วโลก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็วจะทำให้เด็กของเราเติบโตมาโดยมีความแตกต่างกันอย่างสูง  โดยเฉพาะความต้องการการพัฒนาการเรียนรู้และความสนใจที่แตกต่างกัน การเสวนาวันนี้ จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการดูแลเด็ก ๆ ของเราให้เติบโตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป”

 ดร.สมพร  หวานเสร็จ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564 
อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

 ดร.สมพร  หวานเสร็จ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564  อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ได้ฉายภาพให้เห็นถึงสถานการณ์เด็กไทยที่ ข้อมูลการศึกษาพัฒนาการของเด็กของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2542 – 2560 ชี้ว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อมูลปี 2565 ชี้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้ รองลงมาคือมีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม คือการที่เด็กทุกคนเรียนรวมกันในโรงเรียนทั่วไปเป็นปกติ ซึ่งปัจจัยสำคัญคือความพร้อมของนักเรียน  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสนับสนุนส่งเสริมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลือทางการศึกษา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล นอกจากนี้ในภาพรวมของประเทศไทยทั้งด้านนโยบายการจัดการ กฎหมาย ระบบการศึกษาในทุก ๆ ระดับเปิดโอกาสและสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ทั้งนี้อยู่ที่การนำไปใช้ หรือการขยับปรับตัวและนำไปดำเนินการอย่างจริงจังของสถานศึกษาแต่ละแห่ง  การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาจะช่วยให้เด็กสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพของแต่ละคน

ดร.ปาริชาติ ปรียาโชติ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2558
ครูใหญ่โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ในด้านแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมนั้น ดร.ปาริชาติ ปรียาโชติ  ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2558 ครูใหญ่โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวถึง แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนปรียาโชติคือเน้น “ความเข้าใจ” ระหว่างกันของทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีความเอื้อเฟื้อ พึ่งพิงกันและกัน  แนวทางจัดการคือ การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรวมในชั้นเรียนห้องละไม่เกิน 2 คน เพื่อการดูแลอย่างทั่วถึง สิ่งสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการคือ การสร้างระบบช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มแรก (Early Intervention) ตั้งแต่การรับเด็ก คัดกรอง วางแผนการดำเนินงานพัฒนา และส่งเสริมให้เกิดการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ จนถึงระบบดูแลช่วยเหลือส่งต่อในระดับชั้นต่อไป

ครูสุลีกาญ ธิแจ้  ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2558
โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ครูสุลีกาญ ธิแจ้  ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2558 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ โดยชี้ว่า ครูต้องมี “ความเข้าใจ” ในความแตกต่างหลากหลายของตัวนักเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การ “เปิดใจ” และ “ยอมรับ” ครูต้องเป็นคนที่ ใจแกร่ง  อดทน และใจเย็น ชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ แม้จะเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนของครูแจ้จัดให้มีพี่เลี้ยงเด็กอยู่ในชั้นเรียนโดยความร่วมมือกับผู้ปกครองร่วมสนับสนุนจัดหาพี่เลี้ยงดูแล ครูแจ้ยังให้แง่คิดฝากนักศึกษาครูที่กำลังเติบโตไปเป็นครูในอนาคตว่า กล่าวคือ “เป็นครู เราไม่เลือกเด็ก” ซึ่งช่วยเน้นย้ำถึงการใส่ใจในเด็กทุกๆคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน 

ครูพยอม คงเจริญ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564
โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์


ครูพยอม คงเจริญ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564 โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ดูแล “ห้องเรียนพักใจ” ของโรงเรียนปรียาโชติ ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า โรงเรียนมีการจัดการเรียนรวม ขณะเดียวกันจัดให้ห้องเรียนพิเศษหรือ “ห้องเรียนพักใจ” เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมากและยังไม่พร้อมเรียนรวม ซึ่งมีเด็กหลากหลายทั้ง LD เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก รวมถึงภาวะพิการซ้ำซ้อน เพื่อช่วยให้เด็กที่ยังขาดความพร้อมในการเรียนรวมได้ปรับตัวเตรียมความพร้อมและพื้นฐานที่สำคัญของการใช้ชีวิต โดยจัดการเรียนรู้ได้ออกแบบกิจกรรมพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล ใช้กระบวนการเล่น และสื่อที่หลากหลายเพื่อช่วยการพัฒนา อีกทั้งยังเน้นบทบาทของครู หมอ พ่อแม่เข้ามาร่วมสนับสนุนการพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมรณ์และจิตใจ เพื่อส่งต่อเข้าใช้เรียนรวมต่อไปตามความพร้อมของนักเรียน โดยโรงเรียนจัดให้มีการประชุม PLC เพื่อช่วยครูในแต่ละระดับชั้น ทั้งนี้ดร.ชัดเจน ไทยแท้  อดีตศึกษานิเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยังได้กล่าวสนับสนุนด้วยว่าการนิเทศภายในและการเสริมพลังครูคือกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ครูได้รับการพัฒนา

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากประสบการณ์ที่ครูได้แลกเปลี่ยนแล้ว วิทยากรหลายท่านยังได้ร่วมกันเสนอว่า การขับเคลื่อนเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมในเชิงนโยบาย ต้องมีระบบส่งเสริมสนับสนุนและช่วยครู/โรงเรียนให้สามารถมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการที่เหมาะสมเพื่อดูแลนักเรียนที่หลากหลายตามบริบท 

ในช่วงท้ายของการเสวนาได้รับเกียรติจากดร.กฤษณพงศ์ กรีติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีร่วมแบ่งปันแนวคิด Inclusive Education  โดยชี้ว่า Inclusive Education เป็นเรื่องท้าทายสำคัญการจัดการศึกษาที่ครูจะต้องเข้าใจในความหลากหลายของเด็ก ตัวอย่าง “เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ที่ในบางพื้นที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา เราส่งเสริม หรือสร้างโอกาส และพัฒนาพวกเขาเหล่านั้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพได้อย่างไร เป็นโจทย์ท้าทายการศึกษาแบบเรียนรวมในมิติที่กว้างออกไปที่อาจยังไม่มีคำตอบ แต่ครูต้องช่วยกันเปิดทาง…” ซึ่ง ดร.สมพร  หวานเสร็จ กล่าวเสริมว่า ความเคลื่อนไหวหนึ่งคือ เด็กที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษในประเทศสหรัฐอเมริกา (Multi cultural) ประเทศไทยก็เผชิญโจทย์ที่ท้าทายนี้ที่จะร่วมกันเสวนาและขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบ Inclusive Education เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็น Quality Inclusive Education และเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวปิดท้าย

ชมย้อนหลัง : เสวนาสัญจรครั้งที่ ๑ (Inclusive Education) ความท้าทายของการจัดการศึกษายุคใหม่เพื่อเด็กไทยทุกคน”

ภาพประกอบ :

« ของ 2 »
ชมย้อนหลัง เสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 “เรียนรวมเพื่ออยู่ร่วม (Inclusive Education) ความท้าทายของการจัดการศึกษายุคใหม่เพื่อเด็กไทยทุกคน”

ชมย้อนหลัง เสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 “เรียนรวมเพื่ออยู่ร่วม (Inclusive Education) ความท้าทายของการจัดการศึกษายุคใหม่เพื่อเด็กไทยทุกคน”

เสวนาสัญจรครั้งที่ 1 “เรียนรวมเพื่ออยู่ร่วม (Inclusive Education)
ความท้าทายของการจัดการศึกษายุคใหม่เพื่อเด็กไทยทุกคน”

4 มีนาคม 2566
เวลา 09.30-12.00 น.

วิทยากร ดังนี้

  • ครูสุลีกาญ ธิแจ้ ครูการศึกษาพิเศษ ผู้จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ครูรางวัลยิ่งคุณ ปี 2558
    ครูผู้ทุ่มเทเพื่อลูกศิษย์ด้วยใจรัก ด้วยเทคนิคและกลยุทธ “เปิดใจ” และ “คาถา 5 อ. 2 ท.” ที่สามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษอย่างแท้จริง ประกอบไปด้วย “โอกาส” ให้เด็กทุกคนได้โอกาสได้เรียนได้รู้ “อบอุ่น” ให้ความรักความอบอุ่นเขาเหมือนแม่สอนลูก “อดทน” อดทนในการรอคอย อดทนในการเด็กเขียนช้า อ่านช้า อดทนในพฤติกรรมที่เขาก้าวร้าวทำร้ายเรา “อภัย” ให้อภัยพฤติกรรมก้าวร้าว อ่านช้า เรียนรู้ช้า “อ่อนโยน” ใช้ความอ่อนโยนกับเด็กในการวางข้อกำหนดข้อตกลงต่างๆ โดยทำแบบ 2 ท. คือ “ทำด้วยใจ” และ “ทำต่อเนื่อง”
  • ดร.สมพร หวานเสร็จ อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร
    ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี2564

    “ครูผู้เข้าใจ และเข้าถึงในความแตกต่างของมนุษย์” ในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูสมพรเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่วางรากฐานการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ ทั้งวิจัยการพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ปกครองเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานในองค์กร และผู้ปกครองได้เข้าถึงองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาเด็กพิการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

  • ดร.ปาริชาติ ปรียาโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนปรียาโชติ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2558
    ครูผู้ยึดปณิธาน “เด็กพิการมีสิทธิได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ” โดยมีเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่จะให้เด็กพิการได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆกับเด็กปกติ สามารถเรียนและอยู่ร่วมกันในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข โดยใช้หลักการยอมรับความแตกต่าง และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ได้แก่ 1. กิจกรรมบทบาทสมมติ 2. การใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 3.ใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน(คู่หู) 4.การฝึกให้เด็กปกติกับเด็กพิการยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน และ 5. ห้องอุ่นไอรักสำหรับดูแลเด็กพิการโดยเฉพาะ
  • ครูพยอม คงเจริญ โรงเรียนปรียาโชติ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ครูรางวัลขวัญศิษย์ ปี 2564
    “ครูผู้เห็นใจ ใส่ใจ เข้าใจ จากใจครู ส่งถึงใจศิษย์ เปลี่ยนความพิเศษเป็นพลัง สร้างทางสู่อนาคต” ครูพยอมทำหน้าที่หลัก ในการดูแลและเตรียมความพร้อมในการเรียนร่วมให้แก่เด็กพิเศษทุกคนในโรงเรียน โดยเริ่มต้นจากวินิจฉัยคัดกรอง และออกแบบการเรียนรู้รายบุคคลให้เหมาะสมกับศักยภาพ และความต้องการของลูกศิษย์แต่ละประเภท ก่อนที่จะส่งต่อเข้าชั้นเรียนร่วม ซึ่งครูพะยอมจะคอยติดตามให้ความช่วยเหลือร่วมกับครูประจำชั้น เป็นที่ปรึกษาออกแบบการจัดกิจกรรม และจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลแก่ครูทุกคนในโรงเรียน ทำให้เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆมีทักษะการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

    ชมย้อนหลัง

https://www.youtube.com/live/0PpXBucobrY?feature=share

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 6 หัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อโลกที่ยั่งยืน :  “วิทยาศาสตร์กับผู้เรียนยุคใหม่”

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนาออนไลน์สัญจร ครั้งที่ 6 หัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อโลกที่ยั่งยืน : “วิทยาศาสตร์กับผู้เรียนยุคใหม่”

วันพฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30-12.00 น.

วิทยากรเสวนา ดังนี้

  1. ครูกล่อมจิต ดอนภิรมณ์ ครูคุณากร ๒๕๖๔ โรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

    ครูกล่อมจิต “ครูผู้อุทิศชีวิตพาลูกศิษย์ค้นพบศักยภาพ สร้างคุณูปการแก่ชุมชน” ด้วยจุดยืนที่ยึดมั่น “ศรัทธาในความฝัน มุ่งมั่นในหน้าที่ ทำความดีเพื่อแผ่นดิน และไม่เคยกลัวงานหนักเพราะรักในอาชีพครู” ใช้ห้องเรียนที่มีชีวิตชีวาด้วยการนำกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์มาบูรณาการร่วมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียน เน้นการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และเกิดองค์ความรู้ที่คงทน สร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและเกิดผลสำเร็จที่ยั่งยืนทั้งการเรียนรู้ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน จนกลายเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนตื่นตัวช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร อากาศ ยารักษาโรค
  2. ครูปุณยาพร ผิวขำ ครูคุณากร ๒๕๖๒ โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม จ.มุกดาหาร

    “การศึกษาของเราไปไม่ไกล เพราะครูมีแต่เอาความรู้ไปใส่เด็ก ๆ แต่ไม่สร้างเครื่องมือให้พวกเขา” เธอกล่าว “ทุกขั้นตอนครูต้องอยู่ตรงนั้น เหมือนโค้ช ถ้าเขาทำผิดพร้อมที่จะเสริมแรง โยนประโยคบางอย่างทำให้เขามีแรงที่จะทำต่อไป” แนวทางการสอนที่ยึดมั่นของ “ครูปุณ” “ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ดึงความรู้ทางนาโนเทคโนโลยีกระตุ้นการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่การแก้ปัญหาชุมชน” ครูผู้เติมเต็มโอกาสให้เด็กโรงเรียนมัธยมในอีสาน ด้วยโครงงานของนักเรียนที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในท้องถิ่น
  3. ครูอารมณ์ เบสูงเนิน ครูขวัญศิษย์ ๒๕๕๘ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี

    “ครูอารมณ์” ครูผู้ปลูกฝังจิตอาสาแก่เด็กๆสู่กลุ่ม “กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก” ช่วยเฝ้าระวังสายน้ำป่าสัก ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ส่งเสริมการแก้ปัญหา สู่การอนุรักษ์ร่วมกันแก่ท้องถิ่น ด้วยการสร้างกระบวนการคิดที่เปิดสมองของเด็กในเรื่องของการปลุกเร้าความคิดสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่มีจิตอาสาจิต และความเป็นนักสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนต่างชุมชน
  4. ครูชาญ เถาวันนี ครูขวัญศิษย์ ๒๕๖๔ โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี

    ครูชาญ “ครูผู้เปลี่ยนวิชาที่เหมือนยาขม ให้กลายเป็นขนมหวาน” “ครูผู้สร้างนวัตกรรุ่นเยาว์ เพื่อสร้างนวัตกรรมแก่สังคม” โดยเน้นการฝึกความคิดอย่างมีระบบ นักเรียนมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ใช้วัสดุท้องถิ่นในการทำโครงงาน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผสมผสานองค์ความรู้ในรายวิชาต่างๆจนทำให้ยาขมเม็ดใหญ่อย่างฟิสิกส์ กลายเป็นขนมหวานที่น่าทานสำหรับเด็กๆ นักเรียนได้สนุกกับการคิด ได้ทำโครงงานที่มีความสำคัญและช่วยเหลือชุมชนหลายอย่าง

    ผู้ดำเนินรายการ : นายจิรศักดิ์ อุดหนุน

    ครูทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังและรับชมเวทีเสวนาได้ที่ https://us02web.zoom.us/j/84393533814?pwd=dVlBbXlTelAwb25iTFRXdnRneTZVQT09
    Meeting ID: 843 9353 3814
    Passcode: 833383
ขอเชิญร่วมเสวนาโครงการราชบัณฑิตสัญจร “การพลิกโฉมการศึกษา” เพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

ขอเชิญร่วมเสวนาโครงการราชบัณฑิตสัญจร “การพลิกโฉมการศึกษา” เพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

จัดโดย สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา
ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น.


๐๙.๑๐-๐๙.๓๐ น. “การเป็นผู้นำในโลกอนาคต”
ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์
ราชบัณฑิต

๐ ๙.๓๐-๑ ๑.๓ ๐ น. “การพลิกโฉมการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล”

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา

รองศาสตราจารย์ ตร.ทิศนา แขมมณี
ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา

ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา


ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักงานนวัดกรรมแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม

เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
LIVE ถ่ายทอดสด facebook Live และ youtube
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพ

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนา ครั้งที่ 5 หัวข้อ​ “ภาษาไทยและการสื่อสาร​ ฟัง​ พูด​ อ่าน​ เขียน​ รู้คิด​ รู้​ใช้”

ขอเรียนเชิญครูทุกท่าน เข้าร่วมเสวนา ครั้งที่ 5 หัวข้อ​ “ภาษาไทยและการสื่อสาร​ ฟัง​ พูด​ อ่าน​ เขียน​ รู้คิด​ รู้​ใช้”

วันจันทรฺ์​ ที่​ 13​ มิถุนายน​ 2565​ เวลา​ 09.30-12.00​ น​​​.

วิทยากรเสวนา​ ดังนี้

  1. ครูวิษณุ พุ่มสว่าง ครูยิ่งคุณ 2564 โรงเรียนกระทุ่มแพ้ววิทยา จังหวัดปราจีนบุรี
  2. ครูอรพิน แสนรักษ์ ครูยิ่งคุณ 2558 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 52 (ชุมชนบ้านต้นไพ) จังหวัดปัตตานี
  3. ครูจุฑามาศ จันทวงษ์วาณิชย์ ครูยิ่งคุณ 2558 โรงเรียนบ้านโพธิ์ดอนหวาย จังหวัดบุรีรัมย์
    ผู้ดำเนินรายการ : นายจิรศักดิ์ อุดหนุน

ครูทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังและรับชมเวทีเสวนาได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
https://us02web.zoom.us/j/87291583082?pwd=RU5sUkVOcHdxUDJ2MGs0ZzJNcS9tUT09

Meeting ID: 872 9158 3082
Passcode: 632499

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss) และเพิ่มการเรียนรู้ (learning gain)”

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss) และเพิ่มการเรียนรู้ (learning gain)”


วันพฤหัสบดี ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕
๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น


จัดโดย

สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
โครงการราชบัณฑิตสัญจร สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ปีงบประมาณ ๒๕๖๕

เรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss)
และเพิ่มการเรียนรู้ (learning gain)


๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น
“การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนพลิกผัน” โดย
ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมนอมรวิวัฒน์
ราชบัณฑิต


๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น
“นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss)
และเพิ่มการเรียนรู้ (learning gain)”

โดย
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี
ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณทักษ์
ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา


รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ
ภาคีสมาชิก สำนักธรรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา


ดำเนินรายการโดย

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง
ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา


เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่นี่ >>
ลงทะเบียนร่วมงานผ่านระบบ Z00M
LIVE ถ่ายทอดสดทาง Facebook Live และ YouTube


ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานจะได้รับ SMS และอีเมลยืนยัน
สอบถามเพื่มเต้มได้ที่ ศูนย์ประสานงานกลาง ๐๖๒-๘๙๑-๕๖๒๒

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 4 เรื่อง “ศิลปะสร้างคน จิตวิญญาณ เปิดเส้นทางอนาคต”

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 4 เรื่อง “ศิลปะสร้างคน จิตวิญญาณ เปิดเส้นทางอนาคต”

วันเสาร์ ที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 09:30 – 12:00 น.

ให้โอวาทและเปิดการเสวนา โดย

นางสาวตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้ร่วมเสวนา ดังนี้

  • ครูสิทธิชัย จันทร์คลาย ครูคุณากร 2564
    โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี จ.สระแก้ว
  • ครูนิพนธ์ นิกาจิ ครูยิ่งคุณ 2564
    Nikachi Gallery จ.ปัตตานี
  • ครูพีระพงษ์ วงศ์ศรีจันทร์ ครูขวัญศิษย์ 2560
    โรงเรียนซับมงคลวิทยา จ.ชัยภูมิ

    ผู้ดำเนินรายการ : นายจิรศักดิ์ อุดหนุน

Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/85883781671?pwd=VGh0c1pQeUs2aUFEZmVPUkpxQVpEZz09

Meeting ID: 858 8378 1671
Passcode: 164049

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 3  เรื่อง “พลังแห่งการสร้างสรรค์และการค้นพบ”

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 3 เรื่อง “พลังแห่งการสร้างสรรค์และการค้นพบ”


















Live ถ่ายทอดสด

วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 – 12.00 น.

โดยผู้ดำเนินการเสวนา ดังนี้

  • นางสาวประทิน เลี่ยนจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 2564 วิทยาลัยเทคนิคพังงา จ.พังงา
  • นายอำนาจ สมทรง ครูยิ่งคุณ ประจำปี 2562 วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี จังหวัดปัตตานี
  • นายเกษมสุข ชัยชิตาทร ครูขวัญศษย์ 2562 วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • นางธนัญญา จันทะ ครูยิ่งคุณ 2560 วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

    ผู้ดำเนินรายการ : นายสรรชัย หนองตรุด

Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/84901287279?pwd=dEZqeE81WmFlS0NJN1RmeFBCd0FTdz09
Meeting ID: 849 0128 7279
Passcode: 173272

ชมถ่ายทอดสดผ่าน YouTube: PMCAF channel

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 2  “การส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีที่เหมาะสมกับช่วงวัยในบริบทใหม่”

ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางไกล ครั้งที่ 2 “การส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีที่เหมาะสมกับช่วงวัยในบริบทใหม่”

“การส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีที่เหมาะสมกับช่วงวัยในบริบทใหม่”

ผ่านระบบ zoom meeting

วันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09:30 – 12:00 น.

ผู้ร่วมการเสวนา ดังนี้

  1. ครูสุเทพ เท่งประกิจ
    ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 2562
    โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  2. ดร.นฤมล เนียมหอม
    ครูขวัญศิษย์ 2562
    โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพ
  3. ครูปรีชา สุวรรณเจริญ
    ครูขวัญศิษย์ 2564
    โรงเรียนอนันตา กรุงเทพ
  4. นางสาวอาซีซะห์ สะมะแอ
    นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  5. นางสาวอรัญญา สุดสง่า
    นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

    ผู้ดำเนินรายการ : นายสรรชัย หนองตรุด

ครูทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังและรับชมเวทีเสวนาได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/86168958865pwd=ZGYwUkhseis4TEJhS3R4Vy9Hc3RZQT09
Meeting ID: 861 6895 8865
Passcode: 186692

ชมถ่ายทอดสดที่ PMCAF YouTube Channel

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการนักประดิษฐ์หุ่นยนต์รุ่นเยาว์และการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 6 ปี 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ โรงเรียนกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการนักประดิษฐ์หุ่นยนต์รุ่นเยาว์และการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 6 ปี 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ โรงเรียนกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอเชิญนักเรียน และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนักประดิษฐ์หุ่นยนต์รุ่นเยาว์ฯ ครั้งที่ 6 “Kamalasai AI Robotics and technology Thailand” ในรูปแบบออนไลน์ โดยกิจกรรมใช้สถานที่จัดงานหลัก ณ ศูนย์การเรียนรู้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ในระหว่างวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการศึกษาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรม (STEM) และเพื่อเป็นการอบรม แข่งขันเทคโนโลยี e-Sport ให้กับครู เยาวชน และผู้ที่สนใจ

เนื้อหา

  • ผศ.ดร.ศิริเดช บญแสง
    คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • รศ.ดร. สันทัต ชูวงศ์จันทร์
    หัวหน้าศูนย์ Cira Core
  • อ.ดร.รังสันต์ จอมทะรักษ์
    หัวหน้าศูนย์ Cira Core Educations
  • อ.ดร.วีรยุทธ์ กิตติชัย
    อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์
  • อ.ธีรวัฒน์ ทองลอย
    วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

    เนื้อหา
  • การติดตั้งและการใช้งาน Platform Cira Core
  • การใช้งาน Python และ Java Script ร่วมกับโมดูลเชิงลึก
  • ตัวอย่างการประยุกต์ใช้โปรแกรม Cira Core ในอุตสาหกรรม และวงการแพทย์
  • การส่งผลงานปัญญาประดิษฐ์เข้ร่วมการประกวด
  • คัดเลือกและนำเสนอนวัตกรรมของแต่ละประเทศ

    รายละเอียดการสมัคร กำหนดการ กติกา สมัครเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ และตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน ได้ที่เว็บไซต์ www.rail.kls.ac.th หรือ https://sites.google.com/view/rail-register